หมอเจด เตือน เมนูฮิต ที่หลายคนกินทุกเช้า เสี่ยงไขมันพอกตับไม่รู้ตัว! แนะรับประทานในปริมาณที่พอดี ดูแลสุขภาพโดยรวมให้สมดุล
นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊กชื่อ หมอเจด ระบุว่า เมนูฮิต กินทุกเช้า เสี่ยงไขมันพอกตับไม่รู้ตัว!
กาแฟส้ม เป็นเครื่องดื่มที่หลายคนติดใจนะ คาเฟ่ ร้านกาแฟก็มีเมนูนี้ทั้งนั้น เพราะความเข้มข้นของกาแฟตัดกับความเปรี้ยวหวานของน้ำส้ม มันทั้งสดชื่นจนหลายคนดื่มทุกวัน
แต่รู้ไหมว่า เครื่องดื่มแก้วโปรดนี้อาจกลายเป็นปัญหาต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่อง ไขมันพอกตับ (Non-Alcoholic Fatty Liver Disease: NAFLD) ถ้าดื่มแบบไม่ระวัง แต่ก็ต้องออกตัวก่อนนะว่า ไม่ได้ห้ามกินนะ กินได้ แต่กินยังไงไม่ให้ไขมันพอกตับ ต้องอ่านโพสต์นี้ให้จบ
1.กาแฟส้มน้ำตาลเยอะกว่าที่คิด! ถึงจะดูเหมือนเครื่องดื่มเฮลท์ตี้ เพราะมีน้ำส้มสดที่ให้วิตามินซี แต่กาแฟส้มส่วนใหญ่ไม่ได้จบแค่กาแฟกับน้ำส้ม มันมักจะมาพร้อม น้ำเชื่อม หรือ ไซรัป ที่เพิ่มรสหวานเจี๊ยบเข้าไปอีก หรือบางร้านใส่น้ำส้มสำเร็จรูปที่มีน้ำตาลอยู่แล้ว
โดยสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เช่น แอสปาร์แตม (Aspartame) หรือซูคราโลส (Sucralose) ที่พบในเครื่องดื่มแบบ “น้ำตาล 0%” แม้จะช่วยลดปริมาณพลังงาน แต่ก็อาจกระตุ้นการอักเสบในระดับเซลล์ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของตับในระยะยาว
ลองนึกดูนะ กาแฟส้มแก้วหนึ่ง ถ้าเติมทั้งน้ำส้ม น้ำเชื่อม และส่วนผสมหวานอื่นๆ คุณอาจได้รับน้ำตาลเกิน 20-30 กรัมต่อแก้วเลยทีเดียว น้ำตาลเหล่านี้ถ้าร่างกายใช้ไม่หมด มันจะถูกเปลี่ยนเป็น ไขมัน และสะสมอยู่ในตับ ซึ่งถ้าปล่อยนานๆ ตับของคุณอาจกลายเป็นที่สะสมไขมันแบบไม่รู้ตัว
2.ไขมันพอกตับ กินกาแฟส้มบ่อยอาจจะเป็นไม่รู้ตัว ไขมันพอกตับ ฟังดูเหมือนไม่ร้ายแรง แต่ถ้ามันเกิดขึ้นแล้วไม่ได้รับการดูแล อาจนำไปสู่ปัญหาใหญ่ เช่น ตับอักเสบ (Steatohepatitis) หรือในระยะรุนแรงอาจถึงขั้น ตับแข็ง (Cirrhosis) หรือเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับได้
สาเหตุหลักของไขมันพอกตับ มักมาจากพฤติกรรมกินหวานเกิน หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากๆ โดยเฉพาะ ฟรุกโตส (Fructose) ซึ่งเป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งที่พบในน้ำผลไม้ น้ำเชื่อม หรือไซรัป มันจะถูกส่งไปที่ตับและเปลี่ยนเป็นไขมันโดยตรง
ที่แย่ไปกว่านั้น ไขมันพอกตับเป็นภาวะที่มักไม่มีอาการชัดเจนในช่วงแรก คุณอาจรู้ตัวอีกทีเมื่อตับเริ่มอักเสบแล้ว
3.น้ำส้มดีจริงไหม? น้ำส้มสดนั้นดีต่อร่างกายในแง่ของการให้วิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน แต่ปัญหาคือ น้ำส้มแม้จะสดแค่ไหน ก็ยังมีปริมาณน้ำตาลฟรุกโตสสูงมากอยู่ดี น้ำส้มหนึ่งแก้วขนาด 250 มิลลิลิตร อาจมีน้ำตาลประมาณ 20-25 กรัม ซึ่งถือว่าเยอะ
พอเอาน้ำส้มมาใส่ในกาแฟ แล้วเติมน้ำเชื่อมหรือส่วนผสมอื่นเข้าไปอีก อาจเพิ่มน้ำหนักและกระตุ้นไขมันพอกตับได้แบบไม่รู้ตัว
4.กาแฟดี แต่ต้องดื่มให้เป็น จริงๆ แล้วกาแฟธรรมดามีประโยชน์ต่อสุขภาพมากนะ เพราะในกาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น คลอโรเจนิก แอซิด (Chlorogenic Acid) ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ และอาจช่วยป้องกันไขมันพอกตับในบางกรณี
แต่ประเด็นคือ กาแฟส้มไม่ได้แค่กาแฟล้วนๆ มันมีทั้งน้ำตาล คาเฟอีน และบางครั้งก็มีส่วนผสมอื่นที่เพิ่มแคลอรีไปอีก ถ้าดื่มแบบนี้ทุกวัน สิ่งที่คุณได้ไม่ใช่แค่ประโยชน์จากกาแฟ แต่คุณจะได้ทั้งน้ำตาลส่วนเกิน และพลังงานที่ร่างกายไม่ได้ใช้ ซึ่งเป็นตัวการหลักของไขมันพอกตับ
5.ดื่มกาแฟส้มยังไงให้ไม่พังสุขภาพ? อยากดื่มกาแฟส้มแบบไม่เสี่ยงต่อไขมันพอกตับ? จริงๆ แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเลิกดื่ม แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มให้เหมาะสม ด้วยเคล็ดลับง่ายๆ แบบนี้ :
กาแฟส้มเป็นเครื่องดื่มที่อร่อยและสดชื่น แถมดูเหมือนจะดีต่อสุขภาพ แต่ความหวานและน้ำตาลที่ซ่อนอยู่ในแก้วนี้ถ้าดื่มบ่อยๆ โดยไม่คำนึงถึงปริมาณน้ำตาลจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพระยะยาว
“อย่างที่บอกตลอดนะครับ ไม่ได้ห้ามให้กินนะ แค่ต้องปรับ ถ้าใครชอบดื่มกาแฟส้ม ลองปรับสูตรให้เหมาะสม ดื่มในปริมาณที่พอดี และดูแลสุขภาพโดยรวมให้สมดุล” นพ.เจษฎ์ ระบุ