ความท้าทายของ ‘เภสัชกร’ เมื่อ ‘ร้านขายยา’ เป็นด่านแรก ที่ต้องรับมือกับ ‘คนไข้’
GH News April 23, 2025 09:40 PM

ความท้าทายของ ‘เภสัชกร’ เมื่อ ‘ร้านขายยา’ เป็นด่านแรก ที่ต้องรับมือกับ ‘คนไข้’

เพราะปัญหาสุขภาพของผู้หญิงแต่ละคน ขึ้นอยู่กับปัจจัย ความเสี่ยง รวมถึงไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกัน แต่ถึงอย่างนั้น ผู้หญิงไทยกลับมีอัตราการเจ็บป่วยสูงกว่าผู้ชายในปัจจุบัน โดยมีจำนวน 17 ล้านคน เมื่อเทียบกับผู้ชายที่มีจำนวน 11 ล้านคน ซึ่งข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขปี 2566 พบว่า ภาวะโรคของผู้หญิงที่พบเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งปากมดลูก รวมถึงอาการป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับทารกในครรภ์และถุงน้ำคร่ำ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะประเทศไทยมีจำนวนประชากรผู้หญิงที่มากกว่าครึ่ง และปัญหาสุขภาพทางเพศที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย

อย่างไรก็ตาม คนไทยส่วนใหญ่มักมีมุมมองความคิดที่ว่า หากมีอาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย อาจไม่มีความจำเป็นต้องไปพบแพทย์ถึงโรงพยาบาล ดังนั้นทางเลือกแรกที่คนส่วนใหญ่เลือก จึงนิยมไปปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยา ด่านหน้าที่ได้พบปะกับผู้มีปัญหาด้านสุขภาพโดยตรง นับเป็นหน่วยงานที่สำคัญในการให้ข้อมูลและดูแลปัญหาสุขภาพ

กับเรื่องนี้ “อาจารย์เภสัชกรกฤติน บัณฑิตานุกูล” อุปนายก สมาคมเภสัชกรรมชุมชนคนที่ 2 ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แบ่งปันมุมมองจากตัวแทนเภสัชกรชุมชนเกี่ยวกับความท้าทายที่ต้องเผชิญในการให้คำแนะนำด้านสุขภาพผู้หญิงไว้ว่า ปัญหาสุขภาพของผู้หญิงที่ส่วนใหญ่เภสัชกรเจอ มีความหลากหลายและแตกต่างกันไปตามช่วงวัย เช่น หากเป็นผู้หญิงในวัยรุ่นมักจะมาปรึกษาเรื่องอาการปวดประจำเดือน การคุมกำเนิด หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อาจส่งผลต่อความงาม แต่ส่วนใหญ่ยังมาปรึกษา เภสัชกรค่อนข้างน้อย ในขณะที่ผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้น มักจะมาปรึกษาในเรื่องการดูแลกระดูก และข้อในช่วงวัยหมดประจำเดือน

อาจารย์เภสัชกรกฤติน บัณฑิตานุกูล

เหล่าเภสัชกรชุมชน มักเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ในการรับฟังและให้คำแนะนำกับผู้ที่เข้ามาปรึกษาปัญหาสุขภาพผู้หญิงเช่นกัน เพราะคนไทยมีความเชื่อว่า เรื่องเหล่านี้ควรอยู่ในที่ลับ ไม่ควรนำมาพูดคุยกัน ทำให้บางครั้ง เมื่อคนไข้มาซื้อยาคุมกำเนิด จะไม่มีการถามหรือขอคำแนะนำใด ๆ จากเภสัชกรเลย ทำให้เภสัชกรไม่ได้รับข้อมูลสุขภาพที่จะมองเห็นปัญหาจากการใช้ยาของอีกฝ่ายได้ และเพราะยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยจะมีความแตกต่างกัน เช่น ผู้หญิงที่อายุ 35-40 ปีขึ้นไป ซึ่งมีความเสี่ยงของโรคหัวใจโดยช่วงอายุ หรือมีโรคประจำตัว เช่น ไขมัน ความดัน เบาหวาน หากเภสัชกรไม่ได้ถาม หรืออีกฝ่ายไม่ได้ให้คำตอบ ก็อาจส่งผลให้ประเมินความปลอดภัยไม่ได้ว่าอีกฝ่ายเหมาะกับยาหรือปริมาณฮอร์โมนเท่าใด

นอกจากนี้ ยังได้ยกตัวอย่างถึงความเข้าใจผิด หรือความเชื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพผู้หญิงที่เภสัชกรพบเป็นประจำ ทั้งความกลัวในการใช้ฮอร์โมนติดต่อกันเป็นเวลานาน จากความเชื่อที่ว่าอาจมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งหรือหัวใจ รวมถึงความกลัวว่าผู้คนรอบข้างจะมองไม่ดีหากกินยาคุมกำเนิดทุกวัน ส่งผลให้ผู้หญิงหลายคนไม่อยากกินยาคุมกำเนิด แต่เลือกที่จะใช้ยาคุมฉุกเฉินแทนโดยกินเป็นครั้งคราว เพราะคิดว่ากินเพียงเล็กน้อย ความเสี่ยงจะน้อยกว่า ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริง ปริมาณฮอร์โมนในยาคุมฉุกเฉินนั้นมีมากกว่ายาคุมกำเนิดทั่วไปเสียอีก

“เพราะฉะนั้น ความท้าทายของร้านขายยา จึงอยู่ที่บางครั้งผู้มาเข้ารับบริการไม่มีเวลา หรือเขิน อาย จนไม่ได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด ส่งผลให้เภสัชกรไม่สามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสมได้”

จากประเด็นปัญหาเหล่านี้ เภสัชกรชุมชนจะทำอย่างไรเพื่อให้คำแนะนำกับผู้ที่มาปรึกษาปัญหาสุขภาพผู้หญิงเพื่อนำไปปฏิบัติตามได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งอาจารย์เภสัชกรกฤติน มองว่า หากกำหนดแบบแผนที่จะเป็นแนวทางสำหรับเภสัชกรทั่วประเทศเพื่อให้คำแนะนำกับผู้รับบริการอาจเป็นไปได้ยาก เพราะความหลากหลาย และปัจจัยที่ต่างกันไปในแต่ละบริบท แม้ว่าเภสัชกรชุมชนจะสามารถให้คำแนะนำและพูดคุยกับผู้มารับบริการได้ แต่สิ่งสำคัญคือ อีกฝ่ายต้องมีการเปิดใจเพื่อรับฟังคำแนะนำจากเภสัชกรด้วย เพื่อที่จะได้แก้ไขความเข้าใจผิดของข้อมูล ข่าวสารบางอย่าง ด้วยการแนะนำว่าสิ่งนี้ถูกหรือไม่ หรือแต่ละคนเหมาะกับแนวทางใดมากกว่ากัน

“ข้อดีของร้านยาเภสัชกรชุมชน คือ เราอยู่ใกล้ชุมชน และสิ่งหนึ่งที่เภสัชกรชุมชนมักจะชอบคือ เรามีเวลา ถ้ามีคนเข้ามาขอคำปรึกษาในร้านยา เรามีเวลาที่จะนั่งคุยกันและให้คำแนะนำได้ และฝั่งเภสัชกรเอง ต้องมีหน้าที่ในการค้นหาปัญหา ซักประวัติ ไม่ใช่แค่เป็นคนทำหน้าที่ซื้อมาขายไปในเรื่องยาอย่างเดียว และด้วยความเป็นเหมือนด่านหน้า เราสามารถให้คำแนะนำ ดูแลได้ตั้งแต่เด็ก ๆ เช่น ดูว่าตรงนี้ผิดปกติ หรือช่วยคัดกรองมะเร็งเต้านม”

เมื่ออายุเยอะขึ้น ที่บ้านอาจมีพ่อแม่ที่มีความเสี่ยง เช่น มะเร็ง ก็สามารถช่วยผลักดันให้เขาไปตรวจได้ เพราะโรคเหล่านี้มักเริ่มต้นแบบไม่มีอาการ ผมคิดว่า แนวทางหลักของเภสัชกรที่ดีคือการช่วยค้นหาปัญหาแล้วก็ให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับคนที่มาปรึกษาแต่ละราย” เป็นอีกหนึ่งปัญหา ที่เภสัชกรด่านหน้า

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image
© Copyright @2025 LIDEA. All Rights Reserved.