“ถ้าไม่สอนตัวเอง ให้ผู้อื่นไปสอนปานใด มันก็ไม่ฟัง” สารธรรมมงคล หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี…
พ.ศ.2559 “พระครูอุทัยบวรกิจ” หรือ “หลวงพ่อตี๋ ปวโร” เจ้าอาวาสวัดดอนขวาง อ.เมือง จ.อุทัยธานี มีอายุครบ 6 รอบ 72 ปี จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นที่ระลึก “เหรียญหนุมานทรงฤทธิ์ หลังยันต์โสฬสมงคล” มีลักษณะเป็นทรงรูปไข่ หูห่วงตัน…
เหรียญหนุมานทรงฤทธิ์หลวงพ่อตี๋
ด้านหน้ามีขอบรอบ ภายในห่วงตันมีอักษรไทย “ต” ตรงกลางเป็นรูปนูน หนุมานเชิญธงเหยียบเมฆ ด้านบนใต้ขอบมีอักขระขอม และเหนือขอบล่างมีอักษรไทย “หลวงพ่อตี๋ ปวโร” ด้านหลังตรงกลางมีเส้นนูนยันต์โสฬสมงคล เหนือยันต์มีอักษรไทย “ที่ระลึกอายุครบ 72 ปี” และใต้ยันต์ยังมีอักษรไทย “พ.ศ.๒๕๕๙ วัดดอนขวาง อ.เมือง จ.อุทัยธานี” พร้อมตอกเลขลำดับองค์พระ เป็นเลขไทย ถือเป็นสุดยอดวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่ง…
ย้อนไปในปี พ.ศ.2551 วัดบ้านหนองแดง พร้อมด้วยคณะศิษย์ ร่วมกันจัดสร้างรูปเหมือน “หลวงปู่เนาว์ ยโสธโร” อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ประดิษฐานไว้ที่วัด ในโอกาสเดียวกันนี้ยังได้จัดสร้างเหรียญที่ระลึกรูปเหมือนหลวงปู่เนาว์ เป็นที่ระลึกให้ผู้ที่มาร่วมพิธี เป็นวัตถุมงคลรูปเหมือนรุ่นแรก…
เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่เนาว์
ลักษณะเป็นทรงเสมา ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่เนาว์ครึ่งองค์ ใต้ห่วงด้านหน้าเขียนเป็นคาถาพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ “นะโมพุทธายะ” ส่วนบริเวณด้านล่างใต้รูปเหมือนเขียนชื่อ “หลวงปู่เนาว์ ยโสธโร” ด้านหลังบริเวณใต้ห่วงเขียนว่า “รุ่นแรก” ตรงกลางเหรียญเป็นรูปเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุหลวงปู่ ด้านซ้ายของเจดีย์เป็นตัวหนังสือเขียนว่า ที่ระลึกในงานฉลองรูปเหมือน ส่วนด้านขวาของรูปเจดีย์เขียนว่า “วัดบ้านหนองแดง จ.มหาสารคาม” จัดเป็นเหรียญดีที่กำลังมาแรง…
เหรียญพระพุทธไตรรัตนนายก
เหรียญพระพุทธเก่าแก่ “เหรียญปั๊มพระพุทธไตรรัตนนายก” วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นทรงรูปอาร์ม มีหูในตัว ด้านหน้ายกขอบเป็นเส้นนูน และมีขอบเส้นลวดอีกชั้นหนึ่ง ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระพุทธไตรรัตนนายกประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัยเหนืออาสนะยกเป็นฐานชุกชี ด้านข้างทั้งซ้ายและขวามีพระอัครสาวกพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรยืนหันข้าง ด้านบนเป็นอักษรไทยว่า “พระพุทธไตรยรัตนนายก”…
ด้านหลังเป็นพื้นเรียบ ตรงกลางเป็น “ยันต์ 3” บรรจุอักขระขอม 4 ตัว อ่านว่า “อิ สวา สุ อิ” ซึ่งเป็นอักขระย่อของหัวใจพระรัตนตรัย ด้านบนเป็นอักษรไทยโค้งรอบยันต์ว่า “วัดพนัญเชิง กรุงเก่า” ด้านล่างเป็นอักษรจีน 4 ตัว อ่านได้ว่า “ซำปอฮุดกง” จะเห็นได้ว่า มีอักษรปรากฏบนเหรียญถึง 3 ภาษา นับเป็นความพิเศษซึ่งแตกต่างจากเหรียญทั่วไป ที่ส่วนใหญ่มีเพียง 2 ภาษาเท่านั้น จัดสร้างเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2460 ต่อมาในปี พ.ศ.2485, พ.ศ.2517 และปี พ.ศ.2533 โดยยังคงรายละเอียดต่างๆ เหมือนเหรียญเดิมเป็นส่วนใหญ่…
อริยะ เผดียงธรรม
chatchyros@hotmail.com