เมื่อไม่นานมานี้ “มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก” แห่ง Meta ชมประเทศไทยและเวียดนามว่าเป็นประเทศเล็กๆ ที่ทำรายได้ให้ Meta เติบโตแรง จากการใช้ WhatsApp และ Messenger เป็นช่องทางหลักการค้าขาย ตลกร้ายที่ว่าประเทศไทยเก็บภาษีจาก Meta ได้เพียงหยิบมือ
การเก็บภาษี Meta ได้กระหยิบมือ เป็นแค่ยอดภูเขาน้ำแข็งของการให้บริการของแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างชาติ ที่เข้ามาโกยรายได้มหาศาลในประเทศไทยอีกหลายสิบแพลตฟอร์ม เพียงแต่ Meta หรือ Facebook เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีคนไทยใช้งานมากที่สุด (ข้อมูลจากปี 2567 ระบุว่าปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้งาน Facebook ราว 60 ล้านคนต่อเดือน และผู้ใช้งาน Messenger สูงถึง 56 ล้านคนต่อเดือน โดย 30%)
ข้อมูจาก CredenData ระบุว่าในปี 2566 บริษัท เฟซบุ๊ก (ประเทศไทย) จำกัด จดทะเบียน 24 มี.ค. 2558 มีรายได้รวม 432,512,827 บาท เป็นกำไร 16,031,400 บาท ซึ่งมีการชำระภาษีเงินได้สะสม 59,091,926 บาท หรือเฉลี่ยราวปีละ 5.9 ล้านบาท
ปัญหาการเก็บภาษีแพลตฟอร์มที่มีบริการดิจิทัลหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำโฆษณา ที่ทำได้ลำบากลำบนไม่ใช่แค่ประเทศไทย แต่หลายประเทศทั่วโลกล้วนตกอยู่ใต้สถานการณ์เดียวกัน
“คริสติน่า เอนาเช” นักเศรษฐศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญจาก TAX Foundation องค์กรไม่แสวงหาผลกําไรนโยบายภาษีที่ไม่ฝักฝ่ายใดชั้นนําของโลก ได้อธิบายภาพปรากฎการณ์ดังกล่าวอย่างแจ่มชัดว่า
“ด้วยบริการทางดิจิทัลของแพลตฟอร์มในปัจจุบัน มีความไม่ตรงกันทางภูมิศาสตร์ระหว่างตําแหน่งของบุคคลที่ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล กับสถานที่ที่ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น”
ตัวอย่างเช่น ในปี 2020 อเมริกาเหนือสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจำนวนมากจากอุตสาหกรรมดิจิทัลมากกว่า 40% แต่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวน 40% อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก
ทำให้หลายประเทศเริ่มมองหามาตรการด้านภาษีที่เหมาะสม โดยมุ่งเป้าที่บริการด้านดิจิทัลซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็ว บางประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและมีกฎหมายเข้มข้นใช้การบังคับตั้งสำนักงานของงแพลตฟอร์มต้องส่งรายงานผลประกอบการ และเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากบริการดิจทัล ซึ่งประเทศไทยเรียกว่า E-Service Tax โดยภาระบางจะตกที่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการ ซึ่งไม่ใช่การพุ่งเป้าที่รายได้ของบิ๊กแพลตฟอร์ม
จึงเริ่มมีการคิดนโยาบายภาษีที่เรียกว่า ภาษีบริการดิจิทัล หรือ DST (Digital Service Tax) โดยเก็บตรงจากรายได้ 1-3% ของบิ๊กแพลตฟอร์ม
หลายประเทศเริ่มใช้มาตรการภาษีฝ่ายเดียว อย่า ภาษีบริการดิจิทัล (DST) โดยปัจจุบันมี 18 ประเทศที่ใช้ภาษีรูปแบบนี้ แน่นอนว่า สหรัฐฯ คัดค้านภาษี DST โดยต้องการให้มีข้อตกลงพหุภาคี หรืออาจใช้มาตรการทางการค้าเพื่อต่อสู้กับภาษีนี้ เพราะอย่างที่กล่าวข้างต้นว่า มูลค่าทางเศรษฐกิจดิจิทัลของโลกกว่า 40% กระจุกที่อเมริกาเหนือ หรืออีกนัย คือ ในสหรัฐฯ
“เอนาเช” กล่าวในบทความด้วยว่า ทั้ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือ ภาษีสินค้าและบริการ (GST) ล้วนเป็นเครื่อง,nอที่ภาครัฐนำมาใช้สำหรับการขายออนไลน์ข้ามพรมแดนในหลายประเทศ เพื่อช่วยให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ
“101 ประเทศได้ใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือภาษีสินค้าและบริการ (GST) สําหรับการขายออนไลน์ข้ามพรมแดน ในสหภาพยุโรป รายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บจากมาตรการเหล่านี้เพิ่มขึ้นเจ็ดเท่าในเจ็ดปี ระหว่างปี 2015 ถึง 2022 นอกจากนี้ ศักยภาพในการสร้างรายได้สูงสุดของภาษีมูลค่าเพิ่มจากอีคอมเมิร์ซนั้นสูงกว่าภาษีศุลกากรในอัตราปัจจุบัน 2.5 เท่า”
แต่การใช้มาตรการภาษีที่ไม่สอดคล้องกัน อาจนำไปสู่ความไม่แน่นอนและภาระภาษีซ้อน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่อาจกระทบเศรษฐกิจ ทางออกที่ดีที่สุดคือ การพัฒนานโยบายภาษีดิจิทัลที่มีความยุติธรรม ลดการบิดเบือนทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ
“อริญชัย เกตุแก้วมณีรัตน์” นิติกรจาก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้เผยแพร่บทความ เกี่ยวกับ DST ว่า แนวคิดในการจัดเก็บภาษีดังกล่าวมีการพูดถึงมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วโดยในช่วงต้นปี 2018 คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ก็ได้มีการกล่าวถึงเรื่องของการออกกฎระเบียบในการจัดเก็บ Digital Services Tax
เนื่องจากในปัจจุบันธุรกิจที่มีการให้บริการไปทั่วโลกผ่านระบบดิจิทัล ที่อยู่ในรูปของ Social media platform, Search engine หรือ Online marketplace เช่น Facebook, Google หรือ Amazon นั้น มีการสร้างมูลค่าทางธุรกิจรูปแบบใหม่ที่ในอดีตไม่เคยมีมาก่อน คือการนำข้อมูลของผู้ใช้บริการของตนมาประมวลผลโดยใช้ระบบเทคโนโลยีชั้นสูง และนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างมูลค่าให้แก่กิจการ
ตัวอย่างเช่น นาย A ใช้บริการ Social media ของบริษัทแห่งหนึ่ง เวลาที่นาย A เข้าไปใช้บริการ Social media นั้น ระบบของบริษัทก็จะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่นาย A ค้นหา กดถูกใจ กดแชร์ หรือกดติดตาม และนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลเพื่อหาความชื่นชอบหรือความสนใจเฉพาะตัวของนาย A โดยข้อมูลเหล่านี้ต่อมาจะถูกบริษัทนำไปใช้ประโยชน์ ในการกำหนดโฆษณาให้ตรงตามกลุ่มเป้าหมายของลูกค้า
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า การขายโฆษณาของบริษัทส่วนหนึ่งเกิดจากข้อมูลที่บริษัทเก็บรวบรวมได้จากผู้ใช้บริการ หรืออีกนัยหนึ่งคือ มูลค่าของกิจการเกิดขึ้น ณ ประเทศที่นาย A อาศัยอยู่ และการโฆษณาดังกล่าวก็เป็นการโฆษณาไปยังนาย A โดยตรง
แต่เมื่อวิเคราะห์ตามกฎระเบียบทางภาษีระหว่างประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบันรายได้จากการขายโฆษณาทั้งหมดจะถูกเก็บภาษี ณ ประเทศที่มีการขายโฆษณา ซึ่งมักจะเป็นประเทศที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทนั้นตั้งอยู่ ส่งผลให้เกิดความไม่เชื่อมโยงกันระหว่างประเทศที่มีการสร้างมูลค่ากับประเทศที่ภาษีถูกเรียกเก็บ
ด้วยเหตุนี้เอง ประเทศใหญ่ๆ อย่าง สหราชอาณาจักรจึงมีแนวคิดที่จะออกกฎระเบียบเกี่ยวกับ Digital Services Tax เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น ซึ่งสามารถ สรุปสาระสำคัญของแนวคิดได้ดังนี้
Digital Services Tax ไม่ใช่ภาษีที่เรียกเก็บจากธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ และไม่ใช่ภาษีทั่วไปสำหรับธุรกิจที่ให้บริการทางดิจิทัล แต่เป็นภาษีอย่างแคบที่เรียกเก็บจากธุรกิจที่สร้างรายได้จากการใช้ข้อมูลของผู้ใช้บริการตามที่ได้อธิบายไปในตอนต้น
Digital Services Tax มีขอบเขตบังคับใช้สำหรับกิจกรรมทางธุรกิจบางประเภท อันได้แก่ Social media platform, Search engine และ Online-marketplace โดยจะมีการเรียกเก็บภาษีเฉพาะรายได้ที่เชื่อมโยงกับผู้ใช้บริการในสหราชอาณาจักรเท่านั้น
Digital Services Tax ในเบื้องต้นจะเรียกเก็บ 2 เปอร์เซ็นต์จากรายได้ในข้อ 2 เฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ที่สร้างรายได้ดังกล่าวทั่วโลกมากกว่า 500 ล้านปอนด์ และสร้างรายได้ จากผู้ใช้บริการในสหราชอาณาจักรมากกว่า 25 ล้านปอนด์ (โดย 25 ล้านปอนด์แรกจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี)
อย่างไรก็ตาม แนวคิด Digital Services Tax ของสหราชอาณาจักร ที่ประกาศว่าตนจะทำการเก็บ Digital Services Tax ในเดือนเมษายน ปี 2020 ทางด้านอเมริกาก็ได้ออกมาโต้ตอบทันที เนื่องจากบริษัทที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่ เช่น Facebook Google Apple หรือ Amazonล้วนมีที่ตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่อเมริกาทั้งสิ้น
โดยกล่าวว่าการดำเนินการเก็บภาษีดังกล่าว เป็นการละเมิดข้อตกลงทางด้านภาษี และได้เตือนว่าหากสหราชอาณาจักรดำเนินการต่อไปทางอเมริกาก็จะออกมาตอบโต้บ้าง ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างทั้งสองประเทศได้
“คริสติน่า เอนาเช” ยังได้กล่าวถึงแนวทางกว้างๆ ในการออกแบบกลไกเพื่อเก็บภาษีแพลตฟอร์ม ดังนี้