สรุปดราม่าสงคราม อินเดีย VS ปากีสถาน เกิดอะไรขึ้นที่ ‘แคชเมียร์’ นองเลือดผู้บริสุทธิ์
GH News May 07, 2025 10:07 PM

อินเดียเปิดฉากโจมตีปากีสถานอย่างไม่ปราณี หลังเหตุก่อการร้ายใส่นักท่องเที่ยวในแคชเมียร์ฝั่งอินเดีย รัฐบาลอินเดียเปิดฉากสงคราม ป้าหมายทำลายฝั่งปากีสถานและเขตปกครองของปากีสถานในแคชเมียร์ อ้างว่าเป็นการตอบโต้ต่อความสูญเสียในเหตุโจมตีเมื่อ 22 เมษายน ที่ทำให้พลเมืองอินเดีย 25 คน และชาวเนปาล 1 คนเสียชีวิต

กระทรวงกลาโหมอินเดียระบุว่า เป้าหมายที่ถูกโจมตีคือโครงสร้างพื้นฐานของผู้ก่อการร้ายที่ถูกใช้ในการวางแผนและสั่งการโจมตี พร้อมยืนยันว่าการปฏิบัติการมีความเฉพาะเจาะจง วัดผลได้ ไม่มุ่งยกระดับความขัดแย้ง

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายปากีสถานออกแถลงตอบโต้ทันควัน โดยนายกรัฐมนตรี เชห์บาซ ชารีฟ เรียกการโจมตีครั้งนี้ว่าเป็นการรุกรานที่โหดร้ายโดยไม่มีเหตุอันควร และเราจะไม่ปล่อยให้เรื่องนี้ลอยนวล

อินเดียเปิดเผยว่า เป้าหมาย 9 แห่งถูกโจมตีในช่วงเช้ามืดของวันพุธ กระจายอยู่ทั้งในปากีสถานและเขตแคชเมียร์ฝั่งปากีสถาน ได้แก่ มูซาฟฟาราบัด และ โคตลี ในแคชเมียร์ที่ปากีสถานปกครอง บาฮาวัลปูร์ ในแคว้นปัญจาบของปากีสถาน

แต่ฝั่งปากีสถานแย้งว่า เป้าหมายที่ถูกโจมตีเป็นพื้นที่พลเรือน ไม่ใช่ค่ายผู้ก่อการร้ายตามที่อินเดียกล่าวอ้าง พร้อมอ้างว่าอินเดียโกหก กี่ยวกับเป้าหมายการโจมตี

กองทัพปากีสถานระบุว่า มีผู้เสียชีวิต อย่างน้อย 26 คน บาดเจ็บ 46 คน อินเดียกล่าวว่า มี พลเรือนเสียชีวิต 7 คน จากการยิงถล่มตอบโต้ของปากีสถาน ปากีสถานยังอ้างว่า ได้ ยิงเครื่องบินรบอินเดียตก 5 ลำ โดรนอีก 1 ลำ แต่ทางอินเดียยังไม่ยืนยันข้อกล่าวหานี้

อินเดียชี้ว่า การโจมตีเป็นการตอบโต้เหตุการณ์สังหารหมู่นักท่องเที่ยวในเมือง พาฮาลกาม เมื่อวันที่ 22 เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นเหตุโจมตีพลเรือนที่รุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปีของภูมิภาคนี้ โดยผู้รอดชีวิตระบุว่า กลุ่มมือปืน เลือกเป้าหมายเฉพาะชาวฮินดู ในการสังหาร

แม้อินเดียยังไม่ระบุชื่อกลุ่มที่อยู่เบื้องหลัง แต่ตำรวจอินเดียกล่าวว่า ผู้ก่อเหตุ 2 ราย เป็นชาวปากีสถาน และเชื่อว่าได้รับการสนับสนุนจากปากีสถาน – ข้อกล่าวหาที่อิสลามาบัดปฏิเสธ โดยยืนยันว่า “ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว”

แคชเมียร์ ยังคงเป็นจุดตึงเครียดสำคัญระหว่างสองชาติที่มีอาวุธนิวเคลียร์อย่าง อินเดียและปากีสถาน ซึ่งทั้งสองต่างอ้างสิทธิในดินแดนทั้งหมดยาวนานตั้งแต่แยกตัวจากอังกฤษในปี 1947 และเคยเกิดสงครามสองครั้งเพราะข้อพิพาทนี้

ปี 2016 อินเดียเปิดฉากโจมตีข้ามเส้นควบคุมหลังทหารเสียชีวิต 19 นาย

ปี 2019 อินเดียโจมตีทางอากาศลึกเข้าไปในเมือง บาลาโกต์ หลังเหตุระเบิดฆ่าตัวตายที่ พูลวามา คร่าชีวิตเจ้าหน้าที่อินเดีย 40 นาย

สหประชาชาติ และผู้นำโลกต่างเรียกร้องให้สองประเทศ ใช้ความอดทนอดกลั้นอย่างสูงสุด โดย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการยูเอ็น กล่าวแสดงความ “ห่วงกังวลอย่างยิ่ง” ขณะที่ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ก็เรียกร้องให้ความรุนแรง “ยุติโดยเร็วที่สุด”

แผลเก่าที่ไม่เคยสมาน เปิดเบื้องหลังความขัดแย้งระหว่าง อินเดีย-ปากีสถาน ปะทุสงครามซ้ำไม่รู้จบ

เบื้องหลังความสวยงามของแคชเมียร์ ที่ได้ชื่อเป็นสวิตเซอร์แลนด์แห่งอินเดียนั้น เต็มไปด้วยความเจ็บปวด เลือด ไฟสงครามยืดเยื้อระหว่างสองชาติเพื่อนบ้านอย่าง อินเดีย กับ ปากีสถาน ที่ยังไม่หายดีมาจนถึงปัจจุบัน

ความขัดแย้งระหว่างอินเดียกับปากีสถานมีจุดเริ่มต้นชัดเจนในปี 1947 เมื่ออังกฤษซึ่งปกครองอนุทวีปอินเดียมาเกือบสองศตวรรษ ตัดสินใจปลดแอก แบ่งประเทศออกเป็น อินเดีย (ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู) และ ปากีสถาน (ที่เป็นรัฐมุสลิม) อย่างเร่งรีบ

กระบวนการนี้เรียกว่า การแบ่งแยกอินเดีย ทิ้งบาดแผลครั้งใหญ่ไว้ทั้งทางสังคมการเมือง มีผู้คนกว่า 14 ล้านคนต้องอพยพย้ายถิ่นข้ามเส้นแบ่งเขตศาสนา มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1 ล้านคน จากความรุนแรงที่ตามมา

ขณะที่รัฐเจ้าขนาดใหญ่อื่น ๆ เลือกเข้าร่วมกับอินเดียหรือปากีสถาน แคชเมียร์ เป็นรัฐเดียวที่ไม่ยอมตัดสินใจชัดเจน ตอนนั้น ปกครองโดยมหาราชาชาวฮินดู แต่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม

ในช่วงชุลมุนหลังการแบ่งประเทศ ชาวมุสลิมในแคชเมียร์บางส่วนเริ่มลุกฮือด้วยความหวังจะรวมเข้ากับปากีสถาน ฝ่ายปากีสถานส่งกองกำลังอาสาสมัครเข้าร่วม ขณะที่อินเดียส่งทหารเข้าแทรกแซงหลังมหาราชายอมลงนามเข้าร่วมกับอินเดียอย่างเป็นทางการ นำไปสู่ สงครามอินเดีย-ปากีสถานครั้งแรกในปี 1947-1948 จบลงด้วยการแบ่งแคชเมียร์เป็นสองฝั่งที่เรียกว่า “แคชเมียร์ของอินเดีย” และ “แคชเมียร์ของปากีสถาน” โดยมีแนวหยุดยิงหรือ Line of Control (LoC) คั่นกลาง

นับจากนั้นมา สองประเทศได้ทำสงครามกันมาแล้ว 3 ครั้งหลัก ๆ และ ความขัดแย้งระดับย่อยอีกนับไม่ถ้วน

  • สงครามครั้งที่ 2 (1965) ปากีสถานบุกแคชเมียร์อีกครั้ง แต่จบลงด้วยสถานะเดิม
  • สงครามครั้งที่ 3 (1971) คราวนี้ไม่เกี่ยวแคชเมียร์ แต่เกิดจากปัญหาการกดขี่ในบังกลาเทศ (เดิมคือปากีสถานตะวันออก) ซึ่งอินเดียสนับสนุนขบวนการแยกประเทศ จนปากีสถานแพ้ และต้องสูญเสียดินแดนให้เกิด “บังกลาเทศ” ในที่สุด
  • ปี 1999 เกิดความรุนแรงที่เขต คาร์กิล บนเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งปากีสถานส่งทหารลอบเข้าไปในฝั่งอินเดีย ทำให้เกิด “สงครามคาร์กิล” ที่อินเดียสามารถยึดพื้นที่คืนได้

สิ่งที่ทำให้ความขัดแย้งระหว่างอินเดียกับปากีสถานน่ากลัวมากกว่าคู่อื่นคือ ทั้งสองประเทศมีอาวุธนิวเคลียร์ ปากีสถานทดสอบสำเร็จในปี 1998 หลังอินเดียเพิ่งทดสอบไปไม่นาน ความกลัวว่าจะเกิด “สงครามนิวเคลียร์” ทำให้หลายครั้งความขัดแย้งที่รุนแรงถูกหยุดไว้ได้ทันเวลาเพราะแรงกดดันจากนานาชาติ

ในช่วงหลัง สงครามแคชเมียร์เปลี่ยนรูปแบบจากทหารรบกัน มาเป็น ความไม่สงบแบบกองโจร หรือการก่อการร้าย โดยเฉพาะจากกลุ่มติดอาวุธที่อินเดียกล่าวหาว่าได้รับการสนับสนุนจากปากีสถาน เช่น

เหตุวางระเบิดพลีชีพที่พูลวามา (2019)คร่าชีวิตเจ้าหน้าที่อินเดีย 40 นาย ยิงนักท่องเที่ยวที่พาฮาลกาม (2024) คร่าชีวิต 26 ราย จุดชนวนการตอบโต้ครั้งล่าสุด

ทุกครั้งที่เกิดเหตุรุนแรง ฝ่ายอินเดียมักจะกล่าวหาปากีสถานว่าอยู่เบื้องหลัง แต่ฝ่ายปากีสถานมักปฏิเสธ และอ้างว่าฝ่ายอินเดียใช้เป็นข้ออ้างเพื่อกลบความขัดแย้งภายในตนเอง

เปรียบเทียบคลังอาวุธนิวเคลียร์ของอินเดียกับปากีสถาน มีขีปนาวุธคนละกี่ลูก

อินเดีย มีอาวุธนิวเคลียร์ประมาณ 172 หัวรบ โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านระบบขนส่งและเทคโนโลยีหัวรบ

ปากีสถาน มีอาวุธนิวเคลียร์ประมาณ 170 หัวรบ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นถึง 220-250 หัวรบภายในปี 2025 หากแนวโน้มการพัฒนายังคงดำเนินต่อไป ศูนย์ควบคุมอาวุธและการไม่แพร่กระจาย

นโยบายการใช้อาวุธนิวเคลียร์ของอินเดีย ไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ก่อน จะใช้เพื่อตอบโต้เท่านั้น ส่วนปากีสถาน ไม่มีนโยบาย “ไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ก่อน” ทั้งยังสงวนสิทธิ์ในการใช้อาวุธนิวเคลียร์หากรู้สึกว่ามีภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ

ข่าวล่าสุด
© Copyright @2025 LIDEA. All Rights Reserved.