อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 2568 แต่ละจังหวัด ได้กี่บาท
GH News July 02, 2025 07:05 PM

ค่าแรงขั้นต่ำปี 2568 มีผล 1 ก.ค. เช็กเลยจังหวัดไหนได้ค่าแรงสูงสุดที่ 400 บาท และจังหวัดไหนต่ำสุดที่ 337 บาท

เช็กอีกครั้ง! เปิดอัตราค่าแรงขั้นต่ำล่าสุด ประจำปี 2568 ที่บังคับใช้แล้วทั่วประเทศ หลังล่าสุด ราชกิจจานุกเบกษา ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 14) ซึ่งลงนามโดย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานกรรมการค่าจ้าง โดยประกาศฉบับนี้ได้ยกเลิกประกาศเดิม ได้แก่ ประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉพาะกิจการโรงแรม ลงวันที่ 27 มีนาคม 2567, ประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2567 โดยประกาศฉบับใหม่นี้มีผล ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป

สำหรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดที่ 400 บาทต่อวัน ซึ่งเป็นที่จับตามองมากที่สุดนั้น ไม่ได้เป็นการปรับขึ้นทั้งจังหวัด แต่เป็นการกำหนดเป้าหมายไปที่ธุรกิจในภาคบริการและการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูงโดยเฉพาะ ได้แก่

ประเภทกิจการ

  • โรงแรม (ประเภท 2, 3 และ 4 ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม)
  • สถานบริการ (ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ)

พื้นที่เป้าหมาย (6 แห่ง)

  • กรุงเทพมหานคร
  • จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • จังหวัดชลบุรี
  • จังหวัดภูเก็ต
  • จังหวัดระยอง
  • จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เฉพาะอำเภอเกาะสมุย)

การปรับโครงสร้างในลักษณะนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญที่สะท้อนถึงแนวคิดการกำหนดค่าจ้างที่มุ่งเน้นตามศักยภาพของแต่ละอุตสาหกรรมในแต่ละพื้นที่ แทนการใช้เกณฑ์เดียวทั้งจังหวัดแบบในอดีต ซึ่งจะช่วยยกระดับรายได้ให้แก่แรงงานในภาคบริการได้อย่างตรงจุด ขณะเดียวกันก็ไม่สร้างผลกระทบต่อธุรกิจประเภทอื่นที่อาจยังไม่มีความพร้อมเท่ากัน

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (เรียงตามรายจังหวัด)
  • กระบี่ 354 บาท

  • กาญจนบุรี 352 บาท

  • กาฬสินธุ์ 349 บาท

  • กำแพงเพชร 347 บาท

  • ขอนแก่น 357 บาท

  • จันทบุรี 352 บาท

  • ชัยนาท 348 บาท

  • ชัยภูมิ 348 บาท

  • ชุมพร 351 บาท

  • เชียงราย 352 บาท

  • เชียงใหม่

    • เฉพาะอำเภอเมืองเชียงใหม่ 380 บาท

    • อำเภออื่นๆ 357 บาท

  • ตรัง 345 บาท

  • ตราด 354 บาท

  • ตาก 352 บาท

  • นครนายก 355 บาท

  • นครปฐม 372 บาท

  • นครพนม 352 บาท

  • นครราชสีมา 359 บาท

  • นครศรีธรรมราช 349 บาท

  • นครสวรรค์ 350 บาท

  • นนทบุรี 372 บาท

  • นราธิวาส 337 บาท

  • น่าน 345 บาท

  • บึงกาฬ 349 บาท

  • บุรีรัมย์ 352 บาท

  • ปทุมธานี 372 บาท

  • ประจวบคีรีขันธ์ 352 บาท

  • ปราจีนบุรี 357 บาท

  • ปัตตานี 337 บาท

  • พระนครศรีอยุธยา 357 บาท

  • พะเยา 345 บาท

  • พังงา 352 บาท

  • พัทลุง 348 บาท

  • พิจิตร 347 บาท

  • พิษณุโลก 352 บาท

  • เพชรบุรี 351 บาท

  • เพชรบูรณ์ 349 บาท

  • แพร่ 345 บาท

  • มหาสารคาม 347 บาท

  • มุกดาหาร 352 บาท

  • แม่ฮ่องสอน 347 บาท

  • ยโสธร 350 บาท

  • ยะลา 337 บาท

  • ร้อยเอ็ด 349 บาท

  • ระนอง 347 บาท

  • ราชบุรี 347 บาท

  • ลพบุรี 356 บาท

  • ลำปาง 347 บาท

  • ลำพูน 350 บาท

  • เลย 347 บาท

  • ศรีสะเกษ 347 บาท

  • สกลนคร 352 บาท

  • สงขลา

    • เฉพาะอำเภอหาดใหญ่ 380 บาท

    • อำเภออื่นๆ 352 บาท

 

  • สตูล 347 บาท

  • สมุทรปราการ 372 บาท

  • สมุทรสงคราม 358 บาท

  • สมุทรสาคร 372 บาท

  • สระแก้ว 352 บาท

  • สระบุรี 357 บาท

  • สิงห์บุรี 348 บาท

  • สุโขทัย 347 บาท

  • สุพรรณบุรี 355 บาท

  • สุราษฎร์ธานี

    • เฉพาะอำเภอเกาะสมุย 400 บาท

    • อำเภออื่นๆ 352 บาท

  • สุรินทร์ 351 บาท

  • หนองคาย 355 บาท

  • หนองบัวลำภู 347 บาท

  • อ่างทอง 348 บาท

  • อำนาจเจริญ 347 บาท

  • อุดรธานี 347 บาท

  • อุตรดิตถ์ 347 บาท

  • อุทัยธานี 347 บาท

  • อุบลราชธานี 352 บาท

การกำหนดอัตราค่าจ้างในครั้งนี้ เป็นผลมาจากการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ ระดับจังหวัดทั้ง 77 แห่ง ที่ได้ประเมินจากปัจจัยสำคัญ 3 ด้าน คือ ความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้าง, ความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง และสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของแต่ละจังหวัด เพื่อให้ได้อัตราค่าจ้างที่เหมาะสมและเป็นธรรมกับทุกฝ่ายมากที่สุด

ข่าวล่าสุด
© Copyright @2025 LIDEA. All Rights Reserved.