กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนฉบับที่ 1 พายุดีเปรสชั่น บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ชี้มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน คาดเคลื่อนผ่านไต้หวันวันที่ 7-9 ก.ค.นี้ ยันไม่เข้าไทย แต่หลายพื้นที่ของประเทศมีฝนตกหนัก 60-80% ของพื้นที่ ช่วง 4-6 ก.ค. และ 9-10 ก.ค.นี้ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคตะวันออก อิทธิพลจากมีร่องมรสุมพาดผ่านตอนบน และมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนาม
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 1 (158/2568) เรื่อง พายุดีเปรสชั่น บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน
ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า เมื่อเวลา 07.00 น. ของวันนี้ (4 ก.ค. 68) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่นแล้ว โดยเมื่อเวลา 10.00 น. มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 20.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 119.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
สำหรับพายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้า ๆ โดยมีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในระยะต่อไป และคาดว่าคาดว่าจะเคลื่อนผ่านไต้หวัน ในช่วงวันที่ 79 กรกฎาคม 2568 โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย
กรมอุตุนิยมวิทยายังคาดหมายอากาศทั่วไป 7 วันข้างหน้า หรือระหว่างวันที่ 4-10 กรกฎาคม 2568 ว่า ในช่วงวันที่ 4-6 ก.ค. และ 9-10 ก.ค. ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ในขณะที่ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางพื้นที่
ทั้งนี้เนื่องจากมีร่องมรสุมกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาว เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย
ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 ก.ค. ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบนและลาวตอนบน
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดพังงา ขึ้นมามีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อนึ่ง พายุดีเปรสชั่นบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านไต้หวัน ในช่วงวันที่ 7-9 กรกฎาคม 2568 โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย
ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ส่วนมากตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 4-6 ก.ค. และ 9-10 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ส่วนมากตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 4-6 ก.ค. และ 9-10 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 4-6 ก.ค. และ 9-10 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส
ในช่วงวันที่ 4-5 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่
ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส
ในช่วงวันที่ 4-5 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่
ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ตั้งแต่จังหวัดพังงา ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
(ออกประกาศ 04 กรกฎาคม 2568)