พังงา เจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 10(ตะกั่วป่า พังงา)ลงพื้นที่ทำความเข้าใจแจ้งให้ประชาชนนักท่องเที่ยวระวังแมงกะพรุนพิษ
เมื่อวันที่ 11 ก.ค.68 จากกรณีว่าพบทากทะเลสีน้ำเงิน หรือ มังกรทะเลสีน้ำเงิน (Blue Dragon) ถูกคลื่นซัดเข้าบริเวณหาดกะรน จังหวัดภูเก็ต คลื่นลมแรง (คลื่นสูงประมาณ 1-2 ม.) เบื้องต้นลงพื้นที่ตรวจสอบ วันที่ 10-11 ก.ค. 68 พบว่าเป็นทากทะเลสีน้ำเงินที่มีพิษชนิด Glaucus sp. ขนาดประมาณ 0.5 ซม. โดยพิษมาจากการเก็บสะสมเข็มพิษจากเหยื่อที่กินเข้าไป ไม่สามารถผลิตเข็มพิษได้ด้วยตัวเอง พร้อมกันนี้ยังพบ แมงกะพรุนกะลาสี (Velella velella) และแมงกะพรุนแว่นตาพระอินทร์ (Porpita porpita) ซึ่งเป็นอาหารของทากทะเลสีน้ำเงินร่วมด้วย ฉะนั้นหากสัมผัสทากทะเลสีน้ำเงิน จะรู้สึกเจ็บปวด จึงไม่แนะนำให้จับเล่น หากสัมผัสแนะนำให้ใช้น้ำส้มสายชูเช่นเดียวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัมผัสแมงกะพรุนพิษ
ล่าสุดทาง นายโกสิทธิ์ นิลรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 มอบหมายให้ นายสุริยะ สอนเสริม ผอ.ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 10 (ตะกั่วป่า พังงา) พร้อมด้วเจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 10(ตะกั่วป่า พังงา) ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว บริเวณพื้นที่หาดเขาหลัก หาดบางเนียง หาดคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เพื่อเฝ้าระวังและแจ้งเตือนนักท่องเที่ยว ประชาชน ที่ลงเล่นน้ำทะเล หากพบทากทะเลสีน้ำเงิน หรือ มังกรทะเลสีน้ำเงิน (Blue Dragon) ให้หลีกเลี่ยงไม่สัมผัสหรือจับเล่น และหากถูกหรือสัมผัสให้แก้พิษเบื้องต้นด้วยน้ำสมสายชูเช่นเดียวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกรณีสัมผัสแมงกะพรุนพิษ และจากการลงพื้นที่ครั้งนี้ยังไม่พบทากทะเลสีน้ำเงิน หรือ มังกรทะเลสีน้ำเงิน (Blue Dragon)ในพื้นที่ชายหาดแต่อย่างใด