วิธีลงทะเบียนผู้พิการ เพื่อรักษาสิทธิ์รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท
sanook September 21, 2024 08:15 PM

วิธีลงทะเบียนผู้พิการ เพื่อรอรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท เช็กเอกสารที่ต้องเตรียมมีอะไรบ้าง

เงินดิจิทัล 10,000 บาท ดิจิทัลวอลเล็ต ที่รัฐบาลตัดสินใจเปลี่ยนเป็นการจ่ายเงินสดให้กับกลุ่มเปราะบาง คือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน และกลุ่มผู้พิการ จำนวน 14.55 ล้านคน แบ่งเป็น ผู้มีสิทธิ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ราว 12.4 ล้านคน และผู้พิการ ราว 2.15 ล้านคน

ซึ่งก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ระบุว่า ผู้พิการที่ยังไม่มีบัตรประจำตัวผู้พิการ หรือบัตรหมดอายุ ให้รีบไปลงทะเบียนทำบัตรประจำตัวคนพิการได้ถึงวันที่ 3 ธ.ค. 67 เพื่อที่จะรักษาสิทธิ์รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ดิจิทัลวอลเล็ต โดยจะต้องเตรียมเอกสาร หลักฐานเพื่อขึ้นทะเบียนทำบัตรประจำตัวผู้พิการโดยมีรายละเอียดดังนี้

วิธีลงทะเบียนบัตรคนพิการ

คุณสมบัติของคนพิการที่ยื่นคำขอ

  • เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
  • บุคคลที่ยังไม่ได้แจ้งเกิดหรือบุคคลที่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าสัญชาติไทยต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ก่อน

สถานที่ให้บริการออกบัตรประจำตัวคนพิการ

กรุงเทพมหานคร

  • ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร ณ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
  • โรงพยาบาลสิรินธร
  • โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
  • สถาบันราชานุกูล
  • โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  • โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
  • ศูนย์บริการคนพิการสายไหม เคหะเอื้ออาทรสายไหม
  • สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
    **หมายเหตุ หน่วยออกบัตรประจำตัวคนพิการ ข้อ 2.1 จะหยุดทุกวันทำการ ทุกสิ้นเดือน

ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด

สถานที่ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ

กรุงเทพมหานคร

  • ฝ่ายสังคมสงเคราะห์งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราช
  • ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี
  • โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

จังหวัด

  • โรงพยาบาลประจำจังหวัด/อำเภอ ที่มีศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในโรงพยาบาล
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • หรือหน่วยงานของรัฐอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด

เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ

เอกสารหลักฐานของคนพิการ

  1. เอกสารประจําตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
    • บัตรประจําตัวประชาชน
    • บัตรประจําตัวข้าราชการ
    • สูติบัตรสําหรับบุคคลอายุต่ำกว่าสิบห้าปี
    • หนังสือรับรองการเกิดตามแบบที่กรมการปกครองกําหนด
  2. ทะเบียนบ้านของคนพิการ **กรณีที่คนพิการมีทะเบียนบ้าน แต่ไม่มีบัตรประชาชน ต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์ พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ก่อน
  3. รูปถ่ายคนพิการ ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป ในกรณีที่คนพิการไม่ได้มายื่นคำขอด้วยตนเอง
  4. เอกสารรับรองความพิการ ซึ่งรับรองโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนที่อธิบดีประกาศกําหนด
  5. สภาพความพิการเป็นที่เห็นได้โดยประจักษ์ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอถ่ายสภาพความพิการไว้เป็นหลักฐาน

เอกสารหลักฐานของผู้ดูแลคนพิการ

(เป็นผู้ซี่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันกับคนพิการ หรือเป็นผู้ดูแลคนพิการซี่งคนพิการอาศัยอยู่ด้วยตามความเป็นจริง)

  1. บัตรประชาชนของผู้ดูแลคนพิการ
  2. ทะเบียนบ้านของผู้ดูแลคนพิการ
© Copyright @2024 LIDEA. All Rights Reserved.