วันที่ 24 ธันวาคม 2567 นางสาวเอมอร เสียงใหญ่ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พร้อมด้วยนางสาวจิฬาภรณ์ ตามชู กฤษณสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหาย และจำเลยในคดีอาญา พร้อมด้วย นายสุทิพย์ ไชยเดช หัวหน้ากลุ่มงาน คณะกรรมการและอุทธรณ์ และคณะ เข้าร่วม ชี้แจงและให้ข้อมูลต่อ คณะรัฐมนตรี และสนับสนุนข้อมูลให้กับพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. ..
ในการนี้ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติ "เห็นชอบ" ในร่างกฎหมายดังกล่าว ภายใต้ กรอบแนวคิด "2 ขยาย 2 เพิ่ม 1ลด ด้วยการ *2 ขยาย ด้วยการ ขยายการช่วยเหลือจำเลยที่ตกเป็นแพะ ให้ได้รับการช่วยเหลือในชั้นสอบสวนจากกฎหมายฉบับเดิมช่วยเหลือแค่ชั้นพิจารณาคดี รวมถึงให้การช่วยเหลือจำเลยยกฟ้องทุกกรณี ให้การพิจารณาช่วยเหลือหลักก่อน ตามหลักสิทธิมนุษยชน และขยายการยื่นคำขอจาก 1 ปี เป็น 2 ปี *2 เพิ่ม ด้วยการ เพิ่มการช่วยเหลือผู้ต้องหาที่เป็นผู้บริสุทธิ์ ถูกจำกุมทั้งที่ตนไม่ได้กระทำความผิด ให้ได้รับการเยียวยา เพื่อให้การช่วยเหลือเหยื่อในกระบวนการยุติธรรม ครอบคลุมทุกกลุ่ม (ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และจำเลยที่เป็นผู้บริสุทธิ์และตกเป็นเหยื่อ) และเพิ่มช่องทางการบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ *1 ลด ด้วยการลดขั้นตอนการช่วยเหลือให้สั้นลง
ซึ่งการปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.ค่าตอบแทนฯ ฉบับที่ 3 ในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงพัฒนางานช่วยเหลือเหยื่อในกระบวนการยุติธรรม ทั้งผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และจำเลยในคดีอาญา ได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อย่างสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม ตามมาตรฐานสากล ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่ง เมื่อครม.ได้เห็นชอบแล้ว ก็จะได้นำเสนอต่อรัฐสภาพิจารณาตามขั้นตอนของการเสนอกฎหมายต่อไป