นิกร ระบุ แก้ไขรธน.มาตรา 256 ไม่ง่าย อุปสรรคมีเยอะ ขอเป็นกำลังใจให้ งงจะแก้ทั้งฉบับแล้วยังจะมาแก้รายมาตราอีก
เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 67 เวลา 14.30 น. ที่รัฐสภา นายนิกร จำนง ในฐานะอดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึง กรณีที่ จะมีการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 14-15 ม.ค. ว่า ส่วนที่ตนติดตามอยู่นั้น ในการแก้ไขมาตรา ตนมองว่ามีหลายส่วน ส่วนเรื่องแก้ไขรายมาตราก็มีประเด็นปัญหาตอนนี้ก็ยังมองว่ามีอีกหลายส่วน เพราะต้องทำประชามติด้วย และหากผ่านก็ยังมีกับดักอีกหลายส่วน ซึ่งก็คือการทำประชามติ พอทำประชามติเสร็จก็ต้องดูว่าจะใช้กฎหมายไหนต่อ เพราะกฎหมายประชามตินี้คือ 2 ชั้น จึงจำเป็นต้องที่ติดตามต่อไปในการแก้ไขรายมาตรา ซึ่งจะต้องผ่านการประชุมร่วม แล้วจะต้องได้ 1 ใน 3 ของวุฒิสมาชิก ซึ่งจุดนี้ตนมองว่าเป็นปัญหา ส่วนที่พรรคประชาชนเสนอไปในการแก้ไขรายมาตราในมาตรา 256 นั้น เชื่อว่าทางสภาก็น่าจะบรรจุตามวาระ และก็ต้องดูว่าหากมีการแก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์ก็ดี หรือแก้ในหมวดหนึ่งก็ดี ก็อาจเป็นปัญหาได้
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่ตนทราบ ในการประชุมครั้งสุดท้าย มีการบรรจุ 256 เพื่อมีการกระทำประชามติเหลือ 2 ครั้ง และทราบว่าอาจจะมีการบรรจุ 15/1 ด้วย ซึ่งก็คือรวมสสร. ประเด็นปัญหาก็เหมือนกัน ปัญหาที่จะมี ตนเคยเจอมาก่อนแล้ว เมื่อปี 2563 ก็คือว่า วุฒิสภาในสมัยนั้นระบุว่า ในเมื่อศาลมีการวินิจฉัยว่าจะต้องทำประชามติ แล้วเราเสนอไปโดยไม่มีการทำประชามติ แม้ว่าจะบรรจุได้แต่เขาจะพิจารณาอีกที ว่าจะได้เสียงถึงหนึ่งในสามหรือไม่ เขามองว่าเป็นการกระทำที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งตรงนี้ตนมองว่าจะเป็นปัญหา อย่างไรก็ตามเราก็ต้องรอดูต่อไป ไม่ว่าจะเป็นแบบใดมาตรา หรือแก้แบบ 256 แบบ 15/1 รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ล้วนแต่ต้องอาศัยเสียงหนึ่งในสามทั้งสิ้น คำถามที่มีก็คือว่าเราจะได้เสียงหนึ่งในสามหรือไม่ ในเมื่อมีการเสนอขึ้นมาแล้วเราซึ่งอยากให้มีการแก้รัฐธรรมนูญก็จะให้กำลังใจ พยายามไม่ลดทอนแต่เราก็มองเห็นปัญหา มันมีกำแพงดักอยู่เราจะข้ามกำแพงนี้ได้อย่างไร
เมื่อถามถึง กรณีที่มีประชาชนคาดหวังว่าจะได้รัฐธรรมนูญใหม่ทันก่อนการเลือกตั้งในปี 70 นั้น นายนิกรกล่าวว่า การเลือกตั้งของปี 2570 ไม่ได้มีเรื่องของรัฐธรรมนูญเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ส่วนความเห็นของตนในเชิงการเมือง ไม่ง่าย เพราะว่า ยกตัวอย่างเช่นการแก้ไขรายมาตรา ก็ยังมีปัญหาว่าหากจะมีการแก้ไขทั้งฉบับแล้วทำไมยังจะต้องมีการแก้ไขรายมาตราอีก มันจะย้อนแย้งกัน แต่ถ้าทำทั้งฉบับปัญหาที่จะมีก็คือ จะมีคำถามว่าจะไม่รอหรือ ทั้งนี้มีสมาชิกรัฐสภามองว่า ทำไมถึงไม่ทำประชามติเสียก่อน แล้วถึงขอแก้ เพราะกลัวว่าอาจจะไปขัดต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และหากเขาคิดแบบนั้น ตอนสมัยที่เราทำ ครั้งที่แล้ว เขาไม่โหวตให้ เพราะกังวลว่าอาจจะโดน 157 ซึ่งอาจจะซ้ำรอยเดิมได้ และเป็นเรื่องยากมากในการไกล่เกลี่ย
“อย่างที่บอกแล้วว่าให้กำลังใจ ในเรื่องที่มีความพยายาม แต่ถ้าวิเคราะห์ในหลักการ ในข้อมูล ในทฤษฎี ในวิธีคิดของผม เป็นไปได้ยากมาก คิดได้ ทำได้ แต่ว่ามันจะผ่านในแต่ละขั้นตอน ว่าจะผ่านวาระหนึ่งหรือไม่ และต้องดูเนื้อในต่อจากนี้ ว่าเนื้อในจะสามารถผ่านวาระสามได้หรือไม่ จะไปทำประชามติแบบไหน ทำสองครั้งจะผ่านสองชั้นได้หรือเปล่า ทำชั้นเดียวก็ไม่ได้ หรือจะรอไปอีกหกเดือนแล้วค่อยทำประชามติ กลไกของสภามันรอแบบนั้นไม่ได้ เดินไปได้แต่ยังมีอุปสรรคอยู่มาก อย่างไรก็ตามตนเป็นกำลังใจให้ เผื่อว่าจะได้” นายนิกรกล่าว