เมื่อวันที่ 8 มกราคม ที่อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง นายวิพุธ ศรีวะอุไร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยแรก (ครั้งที่ 1) ประจำปีพุทธศักราช 2568 โดยมี สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. คณะผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมประชุม
ในตอนหนึ่ง น.ส.ศศิธร ประสิทธิ์พรอุดม ส.ก.เขตพระนคร พรรคประชาชน ยื่นญัติด้วยวาจา เรื่องขอให้กรุงเทพมหานครตรวจสอบระบบความปลอดภัยของอาคารสถานประกอบกิจการโรงแรมและสถานบันเทิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อความปลอดภัยต่อประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เข้าใช้บริการ
น.ส.ศศิธร กล่าวว่า ก่อนอื่นตนต้องขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ในฐานะที่เป็นสก.เขตพระนคร จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2567 เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่โรงแรม ดิ เอ็มเบอร์ โฮเทล ถนนตานี เขตพระนคร ซึ่งลักษณะโรงแรมเป็นอาคาร 6 ชั้น คอนกรีต และเป็นอาคารปิดด้วยกระจก
“ต้นเหตุของเพลิงไหม้จะอยู่ที่ชั้น 5 ห้อง 511 ซึ่งเหตุการณ์ ณ วันนั้นมีผู้เข้าพักทั้งหมด 75 คน โดยเรายังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ ซึ่งห้องที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ไหม้หมด ณ วันนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก็ใช้เวลา 20 กว่านาที ในการดับเพลิง ซึ่งรถดับเพลิงใช้น้ำในการดับเพลิง
ผลกระทบของเหตุการครั้งนี้ ทำให้มีผู้สียชีวิตทั้งหมด 5 คน บาดเจ็บ 3 คน ผู้เสียชีวิตทั้งหมด 5 คน เป็นนักท่องเที่ยวจากต่างชาติทั้งหมด มาจาก USA ยูเครน บราซิล ญี่ปุ่น ส่วนคนที่ 5 ยังไม่มั่นใจว่าเป็นชาวญี่ปุ่น หรือ ชาวจีน และผลกระทบอีกอย่างหนึ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า จะส่งผลกระทบต่อกรุงเทพ โดยเฉพาะเขตพระนคร ซึ่งเป็นเขตชั้นใน และเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ เป็นพื้นที่สุ่มเสี่ยงที่มีขนาดเล็ก และมีการใช้สอยพื้นที่เกือบทุกอนู โดยเฉพาะข้าวสาร ตานี รามบุตรี มีโรงแรม โฮสเทล หอพัก ผับ บาร์ สถานบันเทิงมากมาย ก็ค่อนข้างเป็นจุดเสี่ยง” น.ส.ศศิธรระบุ
น.ส.ศศิธร กล่าวต่อไปว่า จากเหตุการณ์ครั้งนี้และที่ตนได้สอบถามอปพร. สปภ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ถือว่าเหตุการนี้เป็นกรณีศึกษา และอาจจะมีข้อแนะนำให้กับท่านผู้ว่าฯอยู่ประมาณ 8 ข้อด้วยกัน
“ข้อที่ 1 อยากให้โรงแรมทุกขนาดมีการติดสปริงเกอร์ เพื่อลดความเสียหายจากความร้อน และความเข้มข้นของควันไฟ ข้อที่ 2 อยากให้ทุกโรงแรมขนาดเล็ก มีบันไดหรือไฟแบบบันไดลิง เพื่อให้ผู้ประสบภัยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ และหลีกเลี่ยงการกระโดดตึก ซึ่งจะมีผลต่อการเสียชีวิตและบาดเจ็บ ข้อที่ 3 อยากให้มีการติดไฟบริเวณโถงทางเดินห้องพัก เพราะกรณีมีเหตุควันลอยก็ทำให้ไม่เห็นป้าย Exit ไม่เห็นเลยว่าตรงไหนคือบันได้หรือไฟ ก็อยากให้ติดไฟบริเวณโถงทางเดินเหมือนเครื่องบินอย่างนี้ เขาจะได้ทราบว่าเขาจะได้ไปในทิศทางไหน” น.ส.ศศิธรกล่าว
น.ส.ศศิธรกล่าวต่อไปว่า ข้อที่ 4 อยากให้มีการฝึกซ้อมหนีไฟมากกว่า 1 ครั้งต่อปี ดิฉันทราบว่ากทม.มีมาตรการป้องกันอัคคีภัยทั้งในระดับกรุงเทพมหานคร และระดับเขต แต่ดิฉันอยากแนะนำว่า อยากให้มีมากกว่า 1 ครั้งแต่ปี และไม่จำเป็นต้องโฟกัสแค่เพียงเทศกาลปีใหม่ ลอยกระทง ตรุษจีน ก็คืออย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง และอยากให้ผู้ประกอบการโรงแรมจัดอบรมภายใน เพื่อให้คนในโรงแรมจะได้ตระหนักถึงเหตุอัคคีภัย รวมถึงอยากให้เน้นย้ำถึงการใช้ถังดับเพลิงด้วย เพราะว่ากรณี ดิ เอ็มเบอร์ ถังดับเพลิงกองเต็มเลย แต่ว่าใช้ไปแค่ถังเดียว ก็ถือได้ว่าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือ พนักงานโรงแรม ไม่ได้มีความรู้ ความสามารถ หรือ ตอนนั้นตกใจ ไม่ได้ใช้ถังดิบเพลิง อยากเน้นย้ำ ไม่ว่าจะเป็นพี่รปภ. พ่อครัว ก็ควรจะมีส่วนในการอพยพ หรือ อบรมแผนป้องกันมาตการอัคคีภัยด้วย
“ข้อ 5 อยากให้แผนผังแต่ละชั้นของโรงแรงที่ระบุ ทางเดินหนีไฟ บันไดหนีไฟมีขนาดใหญ่ ส่องกว่างชัดเจน ติดตั้งในจุดที่สามารถเห็นชัด เพราะกรณี ดิ เอ็มเบอร์ เขามีแผนผังที่หน้าลิฟต์ก็จริง แต่ไซส์มีขนาดเล็กและมีลักษณะสีดำ สีเทา ไฟในโรงแรมก็ส่องสว่างน้อย ก็อาจจะทำให้ผู้เข้าพักไม่ได้สนใจ หรือ ตระหนักถึงแผนผังนี้ ก็อยากให้เน้นย้ำถึงระบบเตือนภัย กริ่งเตือน แจ้งเหตุ เพราะว่าอย่างโรงแรมดิ เอ็มเบอร์ มีรูฟท็อปอยู่ที่ชั้น 6 ซึ่งตอนที่เกิดเหตุอยู่ที่ชั้น 5 แล้วนักท่องเที่ยวก็ยังไม่ทราบเลยด้วยซ้ำว่า มีจุดเพลิงไหม้อยู่ชั้น 5 จนกระทั่งเขาเห็นอาสาสมัครเขาถึงตระหนักได้ว่า มีเพลิงไหม้ชั้นล่าง ซึ่งจากการสอบอปพร. พบว่ามันดังช้า และอาจจะไม่ได้ดังทั่วทุกจุดของโรงแรม บวกกับรูฟท็อปมีเสียงดนตรี และนักท่องเที่ยวดื่มเครื่องดื่มมึนเมา อาจจะทำให้ไม่ได้ตระหนักว่า มีเหตุอัคคีภัยเกิด ก็เลยอยากเน้นย้ำเรื่องกริ่งไฟว่า ควรจะอยู่ทุกจุดของโรงแรม และให้มั่นใจว่านักท่องเที่ยวที่อยู่รูฟท็อปทราบว่า มีเสียงกริ่งนี้” น.ส.ศศิธรกล่าว
น.ส.ศศิธรกล่าวว่า ข้อ 6 อยาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหน้างาน เวลาที่เกิดเหตุไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานเขต อปพร. สถานีดับเพลิง สปภ. มีแปลนของโรงแรม ซึ่งก็อาจจะเป็นแปลนที่โรงแรมขออนุญาตจากสำนักการโยธา เพราะแปลนนี้จะมีสำคัญมาก เวลาให้เจ้าหน้าที่อาสาหรือหน่วยกู้ภัยช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงอยากให้เจ้าหน้าที่โรงแรมพกมาสเตอร์คีย์ด้วย เพราะว่าโรงแรมทุกวันนี้เป็นคีย์การ์ดหมด ก็อาจจะทำให้หน่วยงานอาสา ไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที
น.ส.ศศิธรกล่าวต่อว่า ข้อ 7 อยากให้ทุกโรงแรมมีพื้นที่ระบายควัน เพราะอย่างกรณี ดิ เอ็มเบอร์ อยู่ฝั่งถนนตานี ห้องพักเปิดกระจกไม่ได้ ส่วนอีกฝั่งหนึ่งห้องพักเปิดกระจกได้ ซึ่งถ้าสามารถระบาดควันออกมา และลดความหนาแน่น ก็อาจจะทำให้ปริมาณผู้เสียชีวิตลดลง เพราะผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่สำลักควันหมดเลย และถ้าควันระบายออกมาได้ดี ก็จะทำให้ผู้ประสบภัยเห็นทางเดินหนีไฟ เห็นประตูหนีไฟได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
“ข้อสุดท้ายข้อ 8 อยากให้ ทุกสำนักงานเขตมีอุปกรณ์มีแผนป้องกันเหตุอัคคีภัยเช่นกัน เพราะจากที่ตนไปประชุมมา ก็ไม่มีสปริงเกอร์ เครื่องตรวจจับควันไฟ ไม่มีทางหนีไฟ ซึ่งก่อนที่เขตจะออกไปช่วยเหลือประชาชน ออกไปตรวจสอบผู้ประกอบการ ตัวสำนักงานขตเองก็ควรจะมีอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยของตัวเองเช่นกัน และอยากให้ท่านผู้ว่าจัดสรรงบประมาณตรงนี้ด้วย” น.ส.ศศิธรชี้
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ขอบพระคุณสำหรับญัตตินี้ เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก และขอบคุณผู้เสนอญัตติที่ไปในที่เกิดเหตุในคืนนั้นด้วย ก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อความมั่นใจของนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครอยู่
นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า ต้องเรียนว่าสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ โรงแรมที่เกิดเหตุเป็นโรงแรมที่ได้รับใบอนุญาตถูกต้อง เมื่อไปไล่ดูใบขอนุญาตต่างๆ หรือ โรงแรมที่ไม่ได้รับใบอนุญาตก็ยิ่งน่าเป็นห่วงมากกว่านี้ ก็ต้องเรียนว่าเป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการทั้งในระยะสั้น คือ การเข้าไปตรวจ และระยะยาว คือ ข้อบัญญัติต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น โรงแรมที่เกิดเหตุ ผมเชื่อว่าปัญหาหนึ่งคือวัสดุในอาคารที่เกิดควันมาก ซึ่งโรงแรมขนาดเล็ก ยังไม่ได้มีการควบคุมด้วยกฎหมายอยู่ ก็คงต้องเอาเรื่องนี้เป็นบทเรียน เอาไปปรับในแง่ข้อบัญญัติกฎหมายต่างๆ ส่วนในระยะสั้น ก็เป็นการเข้าไปกำกับดูแลอย่างเช่นที่ท่านสมชิกเสนอ ก็เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ และได้มีการสั่งทุกเขตให้ดำเนินการอยู่
“ก็อยากมีเรื่องเล็กๆ ที่อยากแบ่งปันให้พวกเราฟังว่า อย่างน้อยก็มีเรื่องดีอยู่ในเรื่องร้าย คือ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีคนที่ไปติดค้างอยู่บนหลังคาของตึก จำนวน 34 คน ทั้งหมดถูกอพยพด้วยรถกระเช้าของเรา ซึ่งผมเจอนักท่องเที่ยวเขาก็ชื่นชมว่า การทำงานของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเราทำได้ดี มีประสิทธิภาพ และนำคนทั้งหมดลงมาจากหลังคาได้อย่างปลอดภัย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย อีกอย่าง คือ รถทั้งหมดก็เพิ่งได้รับการซ่อมแซมจากงบประมาณที่ทางสภาผ่านให้ไป ทำให้เรามีรถที่มีคุณภาพ สามารถนำผู้ประสบภัยลงจากหลังคาได้ 34 คน” นายชัชชาติชี้
ด้าน น.ส.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ขอเสริมจากผู้ว่าฯได้ให้รายละเอียดอีกนิดเดียว คือ ในส่วนของการตรวจสอบสถานที่ประกอบการที่เป็นทั้งโรงแรม ห้างสรรพสินค้า สถานบริการ และสถานที่คล้ายสถานบริการ มาตลอดตั้งแต่ปี 2566
“ถ้าจำได้เมื่อปลายปี 2565 มีเหตุการณ์ไฟไหม้ที่สัตหีบ และท่านผู้ว่าก็มีการสั่งการให้ตรวจเชิงรุกไปล่วงหน้าก่อนแล้ว เพราะฉะนั้นการตรวจก็จะเป็นการตรวจตามแผนงานปกติ และเป็นการตรวจแบบมาตรการเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดเหตุในช่วงใกล้ปีใหม่ หรือ เทศกาลต่างๆ จะมีการตรวจเชิงรุกแบบหว่านด้วยอีกครั้ง
ดังนั้น จะเห็นว่าในการตรวจตามมาตรการเร่งด่วน เราก็ทำข้อมูลไว้แล้ว ทั้งนี้ในการตรวจตามมาตรการเร่งด่วน จะมีการตรวจที่ตกค้างจากปีปฏิทินที่แล้วไปด้วย ซึ่งในการตรวจของเราจะมีการให้คำแนะนำโรงแรมโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นป้ายสัญลักษณ์ ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นไปตามที่ท่านสมาชิกพูด อันนี้ถูกต้องเลยว่า การกำหนดเอาไว้ในความปลอดภัย ควรจะมีการทำสัญญาณเอาไว้ที่ระดับหมอบคลาน ไม่ใช่ระดับสายตา เนื่องจากควันจะขึ้นสูง ก็จะเป็นส่วนที่เราจะติดตามเติมอุปกรณ์ และรวมไปถึงสิ่งกีดขวางที่เรากำกับไว้” น.ส.ทวิดาเผย
น.ส.ทวิดากล่าวว่า แผนที่ท่านสมาชิกกล่าวไว้ประกอบกับกฎของกระทรวง โดยปกติแล้วถ้าเป็นโรงแรมตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป ตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคารจะมีผลอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นลักษณะของโฮสเทลที่มีลักษณะต่ำกว่า เช่น 10 ห้อง 20 ห้อง 50 ห้อง ตัวกฎกระทรวงออกมาเมื่อ 2559 และกำหนดไว้ 9 ปี ก็คือทบพอดีกับมีนาคม 2568 ที่จะต้องใช้ระเบียบความปลอดภัยตามกฎกระทรวงทั้งหมด ซึ่งเราก็จะทำการตรวจสอบและวางแผนไว้ ก็คือปูพรมทั้งหมด ในการให้คำแนะนำและข้อความร่วมมือให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดความปลอดภัยทั้งหมด รวมทั้งคำแนะนำเพิ่มเติมของเรา และประกอบกับอันนี้จะเป็นแผนในการทำงาน ทำความเข้าใจและฝึกความรู้เบื้องต้นของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่ของโรงแรมไปด้วย ก็จะเป็นแผนตลอดปี 2568
“สิ่งที่ท่านสมาชิกพูดถึงถังดับเพลิง ตอนนี้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานคลังและงบประมาณ กำลังจัดทำขั้นตอนในการเติมตัวถังที่ได้รับการใช้ได้ ซึ่งสามารถใช้เงินได้จาก 3 หมวดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเงินของชุมชนเองที่สำนักพัฒฯเป็นฝ่ายจัดสรรให้ แต่ก็เป็นจำนวนที่น้อยมาก การเติมถังประมาณ 400 บาทต่อถัง แต่ต้องตรวจเช็กสภาพของถังด้วย หรือแม้กระทั่งใช้งบ 2 แสน หรือ งบที่สำนักงานเขตจะจัดตั้งจากงบใช้สอย แต่ว่าการกำกับควบคุมมาตรฐาน ก็เดี๋ยวจะเร่งรัดให้ จะรีบส่งเอกสารชี้แจงตามหลังไป” น.ส.ทวิดาทิ้งท้าย