คนกรุงเทพ ตายผ่อนส่ง ค่าฝุ่น PM 2.5 เท่ากับสูบบุหรี่ 4 มวน/วัน
GH News January 09, 2025 10:07 AM

วันนี้ ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 9 มกราคม 2568 เวลา 07:00 น. พบว่า ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 64.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)

5 อันดับ ของค่าฝุ่นPM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร

1 เขตหนองแขม 94.2 มคก./ลบ.ม.

2 เขตบางบอน 76.8 มคก./ลบ.ม.

3 เขตธนบุรี 75.5 มคก./ลบ.ม.

4 เขตบางขุนเทียน 74.9 มคก./ลบ.ม.

5 เขตบางนา 74.5 มคก./ลบ.ม.

กรุงเทพเหนือ

53.5 – 61.4 มคก./ลบ.ม.

ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงเทพตะวันออก

57.6 – 70.1 มคก./ลบ.ม.

ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงเทพกลาง

55 – 65.6 มคก./ลบ.ม.

ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงเทพใต้

57.9 – 74.5 มคก./ลบ.ม.

ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงธนเหนือ

59.2 – 75.5 มคก./ลบ.ม.

ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงธนใต้

63.9 – 94.2 มคก./ลบ.ม.

ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ภาพรวม คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ขณะที่เว็บไซต์ IQAir จัดอันดับกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ติดอันดับ 8 เมืองฝุ่นเยอะที่สุดในโลก จาก 124 ประเทศ โดยมีระดับฝุ่น ทะลุเป็น 166 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

10 จังหวัดประเทศไทยที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงสุด

  • สมุทรสาคร 199
  • นครชัยศรี นครปฐม 169
  • บางขุนเทียน กรุงเทพ 186
  • ทวีวัฒนา กรุงเทพ 185
  • บางบอน กรุงเทพ 181
  • สาทร กรุงเทพ 179 ระยอง 176
  • ชลบุรี 175
  • บางใหญ่ นนทบุรี 174
  • บางกอกใหญ่ กรุงเทพ 173

มีงานวิจัยและข้อมูลเปรียบเทียบ (เช่น จากกลุ่มนักวิจัย Berkeley Earth) พยายามบอกว่า การสูดอากาศที่มีปริมาณ PM2.5 เฉลี่ยประมาณ 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m³) ตลอด 24 ชั่วโมง อาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ ใกล้เคียง กับการสูบบุหรี่ประมาณ 1 มวน/วัน โดยเป็นการอธิบายเพื่อให้เห็นภาพง่าย ๆ แต่ไม่ได้เทียบเท่า 100%

ดังนั้น หากอิงตามตัวเลขนี้ สามารถประมาณได้คร่าว ๆ ดังนี้

1. ค่าเฉลี่ยทั้งกรุงเทพฯ (64.2 µg/m³) อาจเทียบได้กับการสูบบุหรี่ประมาณ 2–3 มวน/วัน (ถ้ารับสัมผัสเต็ม 24 ชั่วโมง)

2. เขตหนองแขม (94.2 µg/m³) อาจเทียบได้กับการสูบบุหรี่ประมาณ 4 มวน/วัน (ถ้ารับสัมผัสเต็ม 24 ชั่วโมง)

3. ค่าในระดับ 70–80+ µg/m³ อาจเทียบได้กับการสูบบุหรี่ประมาณ 3–4 มวน/วัน (ถ้ารับสัมผัสเต็ม 24 ชั่วโมง)

ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพจากการที่ชาวกรุงเทพมหานครสูด PM2.5 สูงติดต่อกัน รุุนแรงสุดจะทำลายระบบททางเดินหายใจ เนื่องจาก PM2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กมาก สามารถลงลึกถึงถุงลมในปอด (alveoli) ก่อให้เกิดการระคายเคือง เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง และหอบหืด ในเด็กและผู้สูงอายุ จะเห็นอาการกำเริบของโรคระบบทางเดินหายใจได้ง่ายขึ้น เช่น หอบหืดกำเริบ

เมื่อ PM 2.5 สะสมในกระแสเลือดและเนื้อเยื่อ สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) และโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือเบาหวาน จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้น

ฝุ่นขนาดเล็กสามารถกระตุ้นการอักเสบ (inflammation) ในระดับเซลล์ ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานหนัก และอาจนำไปสู่การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่ายขึ้น

ดังนั้น ในช่วงเวลาที่ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 อยู่ในเกณฑ์เกินค่ามาตรฐาน ให้สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น PM2.5 หลีกเลี่ยงหรือลดระยะเวลาทำกิจกรรมนอกอาคาร หากเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือมีโรคประจำตัว ควรพิจารณา งด การออกกำลังกายกลางแจ้ง

หากเริ่มมีอาการผิดปกติ เช่น ไอเรื้อรัง หายใจติดขัด เจ็บหน้าอก หรืออาการของโรคระบบทางเดินหายใจ ให้รีบพบแพทย์ ผู้มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบหายใจหรือระบบหัวใจ ควรมีแผนติดตามอาการ และเตรียมยาประจำตัวให้พร้อม

ข่าวล่าสุด
© Copyright @2025 LIDEA. All Rights Reserved.