โรคคางทูม
GH News January 20, 2025 05:11 PM

โรคคางทูม

 โรคคางทูม เป็นโรคที่ใครหลายคนรู้จักและเคยได้ยินกันมานาน หากไม่เกิดขึ้นกับตัวเองหรือบุคคลใกล้ตัวอาจไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง ถึงอย่างไรก็ไม่ควรมองข้ามพฤติกรรมซึ่งนำมาสู่โรคคางทูมได้ ควรทราบถึงสาเหตุของการเกิดโรคและวิธีรักษาเป็นเรื่องที่ไว้เบื้องต้น 

โรคคางทูม เกิดจากอะไร ?

สาเหตุหลักของโรคคางทูม เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งชื่อว่า มัมส์ (Mumps) ไวรัสชนิดนี้สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสละอองฝอยของผู้ป่วยโดยเชื้อไวรัสจะอยู่ในสารคัดหลั่งต่าง ๆ และถูกแพร่เชื้อผ่านการไอ การจาม หรือน้ำลาย ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย เพราะฉะนั้น การดื่มน้ำโดยใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกันทำให้มีโอกาสติดโรคได้ เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบน หลอดดูดน้ำ ได้แพร่เชื้อไปยังผู้อื่นนอกจากนั้นยังรวมถึงอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ช้อน แปรงสีฟัน และของใช้ส่วนตัว

อาการของโรคคางทูม

ลักษณะอาการทั่วไปและภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ ดังนี้

หลังจากได้รับเชื้อไวรัส จะมีระยะฟักตัวในร่างกายประมาณ ประมาณ 12 ถึง 25 วัน จากนั้นจะเริ่มมีไข้ เมื่อยตัว อ่อนเพลีย จากนั้นประมาณ 48 ชั่งโมง จะเกิดการอักเสบของต่อมน้ำลายบริเวณ คาง ทำให้เกิดการบวม ปวด แดง และร้อนที่คาง ข้างแก้มหรือใบหู จากนั้นอาการจะทุเลาลงภายใน 1-2 สัปดาห์

โรคคางทูมยังอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายทำให้มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ในเพศชายอาจทำให้อัณฑะอักเสบ ในเพศหญิงอาจทำให้ท่อนำรังไข่อักเสบ สามารถเริ่มต้นแพร่เชื้อให้สู่ผู้อื่นได้ก่อนที่ต่อมน้ำลายจะอักเสบประมาณ1-2 วันก่อนต่อมน้ำลายอักเสบ จนถึง 5 วันหลังต่อมน้ำลายอักเสบกระทั่งคางยุบบวมเพราะฉะนั้นแล้วหากสังเกตอาการที่ผิดปกติของร่างกายให้เฝ้าระวังทันทีเพื่อลดอัตราการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

โรคคางทูมหายเองได้ไหม

การรักษาโรคคางทูมสามารถหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ด้วยการพักผ่อน ดื่มน้ำให้เพียงพอ แต่หากเกิดภาวะแทรกซ้อนหรืออาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม

วิธีรักษาโรคคางทูม

ในปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสที่สามารถรักษาโรคคางทูมได้ทำได้เพียงรักษาตามอาการจนกว่าจะหายดีเท่านั้น โดยปกติโรคคางทูมสามารถรักษาจนอาการดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้สิ่งสำคัญคือการป้องกันการเกิดโรค ทำได้ด้วยการฉีดวัคซีน

ปัจจุบันมีวัคซีนสำหรับป้องกันโรคคางทูมซึ่งสามารถป้องกันโรคได้ถึง 3 ชนิดด้วยกัน ใน 1 เข็ม ได้แก่ โรคหัด โรคหัดเยอรมัน และโรคคางทูม โดยเด็กแรกเกิดส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะได้รับวัคซีนคนละสองเข็ม ซึ่งเป็นวัคซีนบังคับที่จำเป็นต้องฉีดอยู่แล้ว

โรคคางทูมกับวิธีป้องกันการเกิดโรค

การป้องกันการเกิดโรคสามารถทำได้หลัก ๆ 2 วิธีด้วยกัน ดังนี้

ลดการรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง ควรรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ไม่ใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถส่งผ่านทางสารคัดหลั่ง ละอองฝอย หรือน้ำลาย

การเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เริ่มต้นจากการฉีดวัคซีนตั้งแต่เด็ก ลดโอกาสการติดเชื้อ ซึ่งควรฉีดอย่างน้อย 2 ครั้ง ตั้งแต่อายุ 9 ถึง 12 เดือน และ 2 ปึ

คางบวมแดงอาจไม่ได้เกิดจาก โรคคางทูม เสมอไป ?

โรคคางทูมจะมีลักษณะของคางที่บวมแดงขึ้นมาจากต่อมน้ำลายที่บริเวณคางอักเสบแต่ทั้งนี้อาจมีอาการคางบวมจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคเช่นกัน ดังนี้

-ได้รับอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อบริเวณขากรรไกร

-โรคเหงือกอักเสบ หรือมีการติดเชื้อในช่องปากที่บริเวณคางทำให้มีอาการบวมแดงและปวด

-ต่อมน้ำลายอักเสบจากการติดเชื้อของแบคทีเรีย

สิ่งสำคัญในการป้องกันโรคคางทูม คือยับยั้งสาเหตุของเกิดโรคด้วยการฉีดวัคซีนเป็นหลัก เนื่องจากเป็นโรคที่ยังไม่มีการรักษาเฉพาะเจาะจง รวมถึงหมั่นดูแลสุขภาพร่างกาย งดใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่นซึ่งเป็นต้นตอการแพร่เชื้อโรค ไม่เพียงลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคนี้เท่านั้น ยังช่วยให้ห่างไกลจากโรคติดต่อชนิดอื่น ๆ อีกด้วย

รศ.นพ.จักรพงษ์ บรูมินเหนทร์

สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

© Copyright @2025 LIDEA. All Rights Reserved.