รัฐกำหนดมาตรการ ผู้ใช้โมบายแบงกิ้ง-เบอร์มือถือ ชื่อเจ้าของต้องตรงกัน กรณีได้แจ้งเตือนให้ปรับปรุงข้อมูล จะต้องทำอย่างไร มีกรณีไหนขอยกเว้นได้ รวมรายละเอียดไว้ ที่นี่
ตามที่รัฐบาล โดยกระทรวงดีอีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกำหนดมาตรการการดำเนินการตรวจสอบรายชื่อเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถือ และเจ้าของบัญชีธนาคาร Mobile Banking หรือการ Cleaning Mobile Banking เพื่อให้ชื่อผู้ใช้งานโมบายแบงกิ้ง ตรงกับชื่อเจ้าของซิมหมายเลขโทรศัพท์มือถือ
ขณะเดียวกัน หลายธนาคารได้มีการประชาสัมพันธ์มาตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ระบุว่า ธนาคารจะมีการแจ้งเตือนลูกค้าที่ใช้งานโมบายแบงกิ้ง และชื่อเจ้าของเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ใช้งาน ไม่ตรงกับชื่อผู้ใช้งานโมบายแบงกิ้ง เพื่อให้ดำเนินการปรับปรุงข้อมูล และยืนยันความเป็นเจ้าของเบอร์มือถือให้ตรงกับชื่อผู้ใช้งานโมบายแบงกิ้ง ตามมาตรการที่กระทรวงดีอีกำหนด
กลายเป็นประเด็นที่หลาย ๆ คนกังวลต่อไปว่า หากได้รับแจ้งเตือนว่าข้อมูลไม่ตรงกัน จะต้องทำยังไง และหากไม่จัดการ ไม่ดำเนินการอะไรเลย จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
“ประชาชาติธุรกิจ” ชวนผู้ใช้โมบายแบงกิ้งเช็กลิสต์พร้อมวิธีเช็ก ชื่อเจ้าของเบอร์มือถือ ตรงกันหรือไม่ แล้วต้องทำยังไง
ผู้ที่ต้องการตรวจสอบเบื้องต้นว่า ชื่อผู้ใช้โมบายแบงกิ้ง และชื่อเจ้าของเบอร์มือถือ ตรงกันหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้ด้วยวิธี
กดหมายเลข “*179*หมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก#” แล้วโทรออก
จากนั้นจะได้รับข้อความตอบกลับว่า หมายเลขบัตรประชาชน ตรงกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือหรือไม่
อีกหนึ่งวิธี คือ ธนาคารแต่ละแห่งจะทำการส่งข้อความแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชั่นโมบายแบงกิ้ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา (ช่วงเวลาแจ้งเตือน โปรดตรวจสอบอย่างละเอียดกับแต่ละธนาคารอีกครั้ง)
คำถามต่อมา คือ ธนาคารมีการแจ้งเตือนกลับมา ตามช่วงเวลาที่ระบุหรือไม่ ?
หากคำตอบของคุณ คือ ไม่ได้รับการแจ้งเตือนจากธนาคาร ตามช่วงเวลาที่ระบุไว้ แสดงว่า ชื่อผู้ใช้โมบายแบงกิ้ง และเจ้าของเบอร์มือถือนั้น ตรงกัน หรือยังไม่อยู่ในกลุ่มที่ต้องดำเนินการตามมาตรการที่ภาครัฐกำหนด ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ และสามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง
แต่หากคำตอบของคุณ คือ ธนาคารมีการแจ้งเตือนให้ดำเนินการปรับปรุง-ยืนยันความเป็นเจ้าของให้ตรงกัน แสดงว่า ต้องดำเนินการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
ทั้งนี้ กสทช. ผู้ให้บริการโทรคมนาคม สำนักงาน ปปง. ธปท. และธนาคาร ได้ดำเนินการตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์จำนวนกว่า 120 ล้านหมายเลข แล้วเสร็จเมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2567 และได้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
โดยการดำเนินการตรวจสอบตามมาตรการดังกล่าว จะเริ่มต้นที่ผู้ใช้งาน 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติที่เปิดบัญชีและโมบายแบงกิ้ง ตั้งแต่ มกราคม ปี พ.ศ.2565 ที่ข้อมูล Passport ผู้ถือครองซิมการ์ดโมบายแบงกิ้งกับเจ้าของบัญชีธนาคาร ไม่ตรงกัน
2. กลุ่มลูกค้าคนไทยและชาวต่างชาติที่เปิดบัญชีและโมบายแบงกิ้ง ตั้งแต่ มกราคม ปี พ.ศ.2565 ที่ทาง กสทช.แจ้งว่าปัจจุบันไม่พบข้อมูลผู้ถือครองซิมการ์ด
กรณีที่พบว่าข้อมูลชื่อผู้ใช้โมบายแบงกิ้ง และชื่อเจ้าของเบอร์โทรศัพท์มือถือ ไม่ตรงกัน สามารถดำเนินการได้ 2 ทางเลือก ดังนี้
ทางเลือกที่ 1 : เปลี่ยนชื่อเจ้าของเบอร์โทรศัพท์มือถือ โดยติดต่อศูนย์บริการเครือข่ายมือถือ เพื่อให้ข้อมูลตรงกับชื่อบัญชีธนาคาร
ทางเลือกที่ 2 : เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ผูกกับโมบายแบงกิ้ง โดยติดต่อสาขาของธนาคารที่ใช้งานโมบายแบงกิ้ง เพือให้ข้อมูลตรงกับชื่อเจ้าของเบอร์โทรศัพท์มือถือ
นอกจากการเปลี่ยนชื่อเจ้าของเบอร์มือถือ การเปลี่ยนเบอร์มือถือที่ผูกกับโมบายแบงกิ้งแล้ว ในบางกรณี สามารถขอยกเว้นมาตรการดังกล่าวได้ โดยสามารถติดต่อสาขาของธนาคาร เพื่อยื่นคำขอเข้ากลุ่มยกเว้น เช่น บุคคลในครอบครัว ผู้ไร้ความสามารถ ผู้เสมือนไร้ความสามารถ ผู้พิการ และกลุ่มนิติบุคคล โดยจะต้องแสดงเอกสารยืนยันตัวตนและเอกสารพิสูจน์ความสัมพันธ์ ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
เอกสารที่ต้องใช้ :
1. เอกสารแสดงความสัมพันธ์ ได้แก่ เอกสารที่ออกโดยหน่วยงานทางการไทยหรือรัฐในประเทศนั้นออกให้ เช่น ทะเบียนบ้าน สูติบัตร ทะเบียนสมรส เป็นต้น
2. เอกสารแสดงความเป็นเจ้าของเบอร์โทรศัพท์ เช่น ใบกำกับภาษี / ใบเสร็จ ค่าโทรศัพท์ (กรณี Sim แบบเติมเงิน ให้ออกใบกำกับภาษีที่ shop ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ)
เอกสารที่ต้องใช้ :
เอกสารหนังสือรับรองจากบริษัท ที่มีข้อความระบุให้ชัดเจน ดังนี้
สำหรับผู้ไร้ความสามารถ ผู้เสมือนไร้ความสามารถ ใช้เอกสารต่อไปนี้
สำหรับผู้พิการ ใช้เอกสารต่อไปนี้
ทั้งนี้ กรณีมีความจำเป็นบางกรณีที่เจ้าของบัญชีไม่สามารถขอยกเว้นได้ด้วยตนเอง เช่น
ตามมาตรการดังกล่าว กรณีลูกค้าที่ได้รับแจ้ง ต้องดำเนินการอัพเดตข้อมูลชื่อเจ้าของซิม และชื่อผู้ใช้งาน Mobile Banking ให้ตรงกัน ภายในวันที่ 30 เมษายน 2568 หากไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนด ปปง. ธปท. และ กสทช. จะพิจารณาระงับการใช้งานโมบายแบงกิ้งเป็นการชั่วคราวต่อไป
กรณีของประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้รับการแจ้งผ่านช่องทางโมบายแบงกิ้งของแต่ละธนาคาร ยังไม่ต้องดำเนินการใด ๆ และสามารถใช้งานได้ตามปกติ แม้ชื่อเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์จะไม่ตรงกับเจ้าของโมบายแบงกิ้ง
ข้อมูลจาก กระทรวงดีอี, ธนาคารกรุงไทย