นักวิทย์ออสเตรเลีย –บีบีซี รายงานความสำเร็จของคณะนักวิทยาศาสตร์ใน ออสเตรเลีย จากการทดลองผสมเทียมหลอดแก้ว (ไอวีเอฟ) ตัวอ่อนจิงโจ้ตัวแรกของโลกซึ่งจะเป็นความหวังในการอนุรักษ์สัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ต่อไป
โดยนักวิทยาศาสตร์ใช้สัตว์ตัวอย่างเป็นจิงโจ้สีเทาตะวันออก นำมาฉีดเซลล์อสุจิตัวเดียวเข้าไปในไข่ แต่การที่จะให้กำเนิดได้ต้องทำงานและความก้าวหน้าทางเทคนิคที่มากขึ้น
มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ศึกษาการเจริญเติบโตของไข่จิงโจ้และอสุจิในห้องทดลองโดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า การฉีดอสุจิ 1 ตัวเข้าไปในเซลล์ไข่ หรือ อิ๊กซี่ (ICSI)
เทคนิคนี้ช่วยในการปฏิสนธิในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงบางชนิดอยู่แล้วและเลือกทดลองกับจิงโจ้สีเทาตะวันออกที่ตายแล้ว ส่วนสาเหตุที่เลือกจิงโจ้สายพันธุ์นี้เนื่องจากไม่ได้อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์และมีประชากรจำนวนมากในธรรมชาติ
นักวิทย์ออสเตรเลีย – Kangaroo sperm under a microscope. The feat provides important insights into marsupial breeding and could aid efforts to improve the genetic diversity of endangered species such as the koala, Tasmanian devil, northern hairy-nosed wombat and Leadbeater’s possum, lead researcher Andres Gambini said. Photograph: Dr Andres Gambini/University of Queensland
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าแม้สัตว์กระเป๋าหน้าท้องอาศัยในออสเตรเลียมีความหลากลายทางชีวภาพ แต่ยังมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเนื้อเยื่อของสัตว์ตระกูลนี้อย่างจำกัด
นายกัมบินีกล่าวว่าใช้เทคนิคการคัดสรรเพื่อเลือกเพาะพันธุ์ รวมทั้งรักษาไข่และอสุจิของสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้องซึ่งเป็นเทคนิคที่มีความสำคัญต่อการปกป้องสารพันธุกรรมของสัตว์ที่มีเอกลักษณ์และล้ำค่าเหล่านี้
ทั้งนี้ การทำไอวีเอฟหรือตัวอ่อนในหลอดแก้วเป็นเทคนิคที่ใช้อนุรักษ์สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลกที่ได้รับความนิยม ปีที่แล้วนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จจากการผสมเทียมด้วยเทคนิคไอวีเอกับแรดโดยย้ายตัวอ่อนที่ปฏิสนธิในห้องทดลองวิทยาศาสตร์แล้วให้เติบโตในท้องของแม่แรดอุ้มบุญในเคนยา
นอกจากนี้เมื่อปี 2561 มีการใช้ไอวีเอฟปฏิสนธิตัวอ่อนลาเป็นตัวแรกในโลกด้วย
นักวิทย์ออสเตรเลีย – A kangaroo egg about to be injected with a single sperm cell. Australia houses the largest variety of marsupial mammals, but it also has the highest rate of mammal extinctions. The University of Queensland experiment looked at the growth of kangaroo eggs and sperm in a laboratory setting before creating embryos using a method known as intracytoplasmic sperm injection (ICSI). Photograph: Dr Andres Gambini/University of Queensland
Kangaroo ICSI embryos. Despite how iconic marsupial species are in Australia and the crucial role they play in its biodiversity, studies into their tissues have been limited, scientists say. “We are now refining techniques to collect, culture and preserve marsupial eggs and sperm,” said Dr Gambini, adding that such methods would play a crucial role in safeguarding “the genetic material of these unique and precious animals”. Photograph: Dr Andres Gambini/University of Queensland