“วันนักประดิษฐ์ 2568” สุดประทับใจ ปลุกพลังนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ จากทั่วประเทศ ร่วมลุ้นผลรางวัลสิ่งประดิษฐ์ วช. มั่นใจพร้อมปูทางนักประดิษฐ์รุ่นใหม่สู่การเป็นนวัตกรมากคุณภาพ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดพิธีปิดงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2568” และ มอบรางวัลสิ่งประดิษฐ์ ระดับประถมศึกษา และระดับเยาวชน ในโครงการ “I New Gen Junior Award 2025” และ “Thailand New Gen Inventors Award 2025 (I - New Gen Award 2025)” สุดอลังการท่ามกลางการลุ้นรางวัล ร่วมเชียร์ และร่วมลุ้นผล ส่งเสียงกึกก้องทั่วทั้งฮอลล์
โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวแสดงความยินดีแก่นักประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัล และได้รับเกียรติจากคุณวิทยา พานิชตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล นายกสมาคมวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย คุณระพี บุญบุตร ประธานกรรมการบริษัท อาทิตย์ นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ และนางสาววันทนีย์ เหลืองวิสุทธิศิริ นายกสมาคมเยาวชนนักประดิษฐ์ (ประเทศไทย) ร่วมกล่าวแสดงความยินดีแก่นักประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัล ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2568 จัดขึ้นเป็นปีที่ 26 ความสำเร็จของการจัดงาน “วันนักประดิษฐ์”ในปีนี้ นอกจากจะเป็นเวทีระดับชาติในการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชุมชน แล้ว ยังเป็นเวทีที่จุดประกายความคิด สร้างแรงบันดาลใจในด้านการประดิษฐ์คิดค้น ให้แก่เยาวชน รุ่นใหม่ ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญ เป็นฟันเฟืองในการพัฒนาประเทศให้ก้าวต่อไปข้างหน้าต่อไปในอนาคต
ผลการประกวด “I New Gen Junior Award 2025” โดยผู้ชนะการประกวด 3 ลำดับแรก ในกลุ่มของแต่ละกลุ่มเรื่องได้รับเหรียญรางวัล I - New Gen Junior Award เงินรางวัลพร้อมถ้วยและเกียรติบัตร และผู้ชนะการประกวดได้แก่
กลุ่มเรื่องเกษตรและสิ่งแวดล้อม
• รางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง (Gold Medal): "Upcycling Foam" ชีวิตใหม่ของขยะโฟม - โรงเรียนอนุบาลคลองท่อม จังหวัดกระบี่
• รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เหรียญเงิน (Silver Medal): "WASEN" - โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม กรุงเทพมหานคร
• รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เหรียญทองแดง (Bronze Medal): "กระเป๋าหนังเทียมจากเส้นใยกล้วย" - โรงเรียนบ้านปราสาท จังหวัดศรีสะเกษ
กลุ่มเรื่องอุปกรณ์อำนวยความสะดวก
• รางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง (Gold Medal): "ก๊อก ก๊อก ก๊อก ใครมาบอกหนูที" - โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ กรุงเทพมหานคร
• รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เหรียญเงิน (Silver Medal): "Walking Stick For Health : ไม้เท้าช่วยเดิน" - โรงเรียนวัดช่องเปี่ยมราษฎร์
• รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เหรียญทองแดง (Bronze Medal): "การประดิษฐ์ลิ้นชักเก็บก้านธูป" - โรงเรียนชุมชนวัดดักคะนน
กลุ่มเรื่องศิลปะและความคิดสร้างสรรค์
• รางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง (Gold Medal): "Board Game What Do You Want To Buy?" - โรงเรียนบ้านวังไทร
• รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เหรียญเงิน (Silver Medal): "บอร์ดเกม Cooked To Order (ตามสั่งดั่งใจ)" - โรงเรียนแม่พระฟาติมา
• รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เหรียญทองแดง (Bronze Medal): "เปลือกหอยแมลงภู่ สู่สีน้ำ ECO" - โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 71 (ก่อสร้างคลองด่าน)
ผลการประกวด “Thailand New Gen Inventors Award 2025 (I - New Gen Award 2025)” โดยมีการประกวดใน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่ การเกษตร อาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ และการท่องเที่ยว ผู้ชนะการประกวดจะได้รับเงินรางวัล ถ้วยรางวัล และเกียรติบัตร และผู้ชนะการประกวดได้แก่
ระดับมัธยมศึกษา
กลุ่มที่ 1: การเกษตร
• รางวัลชนะเลิศ: หุ่นยนต์พลังงานไฟฟ้าสำหรับดูแลพื้นที่เกษตรกรรมแบบครบวงจร – โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง)
• รองชนะเลิศอันดับ 1: หุ่นยนต์ดูแลสวนโกโก้อัตโนมัติและตรวจสอบโรคพืชโกโก้แบบ Real-Time ด้วย CNN – โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
• รองชนะเลิศอันดับ 2: เครื่องปอกกระเทียมพร้อมสับด้วยแรงดันลม เวอร์ชัน 4 – โรงเรียนเมืองคง
กลุ่มที่ 2: อาหาร
• รางวัลชนะเลิศ: เครื่องหยอดขนมกึ่งอัตโนมัติพร้อมระบบไล่ความชื้น – โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
• รองชนะเลิศอันดับ 1: ผลิตภัณฑ์คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบมอญ ต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ – โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• รองชนะเลิศอันดับ 2: เครื่องคั่วกาแฟแบบโลหะหมุน ควบคุมระดับการคั่วเข้ม – โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์
กลุ่มที่ 3: สุขภาพและการแพทย์
• รางวัลชนะเลิศ: การประยุกต์ใช้อัลกอริทึมวิเคราะห์ภาพในทันตกรรมเพื่อตรวจจับฟันผุ – โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล
• รองชนะเลิศอันดับ 1: CARDICARE – นวัตกรรมติดตามอาการและประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบพกพา – โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
• รองชนะเลิศอันดับ 2: แถบทดสอบแอปทาเซ็นเซอร์ สำหรับตรวจเอนไซม์ NSE และ D-Dimer เพื่อคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง – โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพ
กลุ่มที่ 4: พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ
• รางวัลชนะเลิศ: เบิด – การพัฒนาหินสังเคราะห์จากวัสดุเหลือใช้ – โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม
• รองชนะเลิศอันดับ 1: Eco-Sorb Foam – แผ่นดูดซับน้ำมันจากโฟมยางคอมโพสิต – โรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา
• รองชนะเลิศอันดับ 2: วัสดุมุงหลังคาจากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก ผสมฝาขวดน้ำ ต้านการลามไฟ – โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
กลุ่มที่ 5: การท่องเที่ยว
• รางวัลชนะเลิศ: การพัฒนา Kandit tourist spot ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ผ่าน Art Toy ท้องถิ่น – โรงเรียนกาญจนดิษฐ์
• รองชนะเลิศอันดับ 1: ศิลป์สร้างสรรค์แฟร็กทัล สู่ผลิตภัณฑ์มัดย้อมสื่อสกลนคร – โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
• รองชนะเลิศอันดับ 2: กาแฟรักษ์โลก ส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ – โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์
ระดับอาชีวศึกษา
กลุ่มที่ 1: การเกษตร
• รางวัลชนะเลิศ: เครื่องกรอเส้นฝ้ายสำหรับถักทอด้วยระบบไฟฟ้า – วิทยาลัยเทคนิคลำพูน
• รองชนะเลิศอันดับ 1: เครื่องนับจำนวนลูกปลานิลกึ่งอัตโนมัติด้วยปัญญาประดิษฐ์ – วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่
• รองชนะเลิศอันดับ 2: เครื่องคัดแยกมังคุดเพื่อการส่งออกด้วยระบบ AI – วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
กลุ่มที่ 2: อาหาร
• รางวัลชนะเลิศ: เครื่องสกัดน้ำเวิร์ทระบบกึ่งอัตโนมัติ – วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง
• รองชนะเลิศอันดับ 1: เครื่องลอกกะเทาะเยื่อเม็ดมะม่วงหิมพานต์ – วิทยาลัยเทคนิคตราด
• รองชนะเลิศอันดับ 2: เครื่องคั่วเมล็ดกาแฟด้วยโอ่งดินชนิดไร้ควันระดับต้นแบบภาคสนาม – วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
กลุ่มที่ 3: สุขภาพและการแพทย์
• รางวัลชนะเลิศ: วีลแชร์แอนด์วอล์คเกอร์ – วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา
• รองชนะเลิศอันดับ 1: เครื่องวัดปริมาณค่าการสูญเสียน้ำปัสสาวะจากร่างกายผู้ป่วย – วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
• รองชนะเลิศอันดับ 2: เครื่องวัดแรงเหยียดขาและหลังสมาร์ทฟิต – วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล
กลุ่มที่ 4: พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ
• รางวัลชนะเลิศ: เครื่องกักเก็บคราบน้ำมันในน้ำจากนวัตกรรมยางพาราแบบประหยัดพลังงาน – วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
• รองชนะเลิศอันดับ 1: เรือไฟฟ้าต้นแบบภาคสนามสำหรับเก็บขยะ – วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
• รองชนะเลิศอันดับ 2: คอมพอสิตของยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกและเส้นใยตาลเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพรักษ์โลก – วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา
กลุ่มที่ 5: การท่องเที่ยว
• รางวัลชนะเลิศ: ชุดกระเป๋าย้อนรอยกาญจนาภิเษก – วิทยาลัยช่างทองหลวง
• รองชนะเลิศอันดับ 1: ผลิตภัณฑ์ผ้าทอถิ่นไทยอาณาจักรศรีวิชัยโบราณส่งเสริมการท่องเที่ยว – วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
• รองชนะเลิศอันดับ 2: ผ้าคลุมกระเป๋าเดินทางจากผ้าทอเกาะยอ (รักษ์ยอ Bag) – วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา
ระดับอุดมศึกษา
กลุ่มที่ 1: การเกษตร
• รางวัลชนะเลิศ: นวัตกรรมชุดตรวจแถบสีความไวสูงสำหรับตรวจการติดเชื้อ TiLV ในปลา – มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
• รองชนะเลิศอันดับ 1: แอปแทมเทสสตริปสำหรับตรวจวัดแคดเมียม – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• รองชนะเลิศอันดับ 2: ชุดทดสอบบนแถบกระดาษสำหรับตรวจยีนดื้อยาเบต้าแลคแทมและโคลิสตินด้วยตาเปล่า – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มที่ 2: อาหาร
• รางวัลชนะเลิศ: นวัตกรรมเคมีไฟฟ้าขั้นสูงร่วมระบบนาโนบับเบิ้ลสำหรับธุรกิจขนส่งอาหารทะเล – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
• รองชนะเลิศอันดับ 1: พอร์คการ์ด – ชุดทดสอบดีเอ็นเอเซ็นเซอร์เชิงเคมีไฟฟ้าสำหรับตรวจสอบการปนเปื้อนดีเอ็นเอของสุกรในอาหาร – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• รองชนะเลิศอันดับ 2: เครื่องดื่มกาแฟทางเลือกปราศจากคาเฟอีนจากเมล็ดอินทผลัมเหลือทิ้ง ข้าวบาร์เลย์ และผักโขม – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
กลุ่มที่ 3: สุขภาพและการแพทย์
• รางวัลชนะเลิศ: “นอนแซ่บ” เครื่องมือลดการกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น – มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะทันตแพทยศาสตร์
• รองชนะเลิศอันดับ 1: ชุดตรวจคัดกรองแบคทีเรียปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์เกล็ดเลือด – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• รองชนะเลิศอันดับ 2: คาร์ทิเนียล เจล – ไฮโดรเจลแบบฉีดสำหรับฟื้นฟูกระดูกข้อเข่า – มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มที่ 4: พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ
• รางวัลชนะเลิศ: นวัตกรรมสเปรย์ฟิล์มเคลือบผิวโซลาร์เซลล์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้า – มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
• รองชนะเลิศอันดับ 1: ทุ่นดักจับคราบน้ำมันประสิทธิภาพสูงด้วยเทคโนโลยีซุปเปอร์ไฮโดรโฟบิคเมมเบรน – สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
• รองชนะเลิศอันดับ 2: สารเคลือบกันร้อนและทำความสะอาดตัวเองอัจฉริยะ – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
กลุ่มที่ 5: การท่องเที่ยว
• รางวัลชนะเลิศ: ศานาสถาน – น้ำยาเซลลูโลส-ปูนขาวสำหรับอนุรักษ์โบราณสถาน – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• รองชนะเลิศอันดับ 1: กิจกรรมประดิษฐ์ของที่ระลึกเพื่อการเรียนรู้แหล่งโบราณสถานในการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• รองชนะเลิศอันดับ 2: เควทมิวซ์ – เกมตะลุยสมบัติโบราณสุโขทัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การจัดงาน “วันนักประดิษฐ์ 2025” ในปีนี้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของเยาวชนไทยที่พร้อมพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคม และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศให้ก้าวไกลในอนาคต