วันที่ 30 มี.ค.68 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ JapanSalaryman ได้เผยแพร่สรุปบทวิเคราะห์เหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา จาก นักวิเคราะห์จาก Weathernews บริษัทเอกชนของญี่ปุ่น ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพยากรณ์อากาศและเตือนภัยชื่อดังของญี่ปุ่น ว่า วิเคราะห์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในเมียนมา
- วันและเวลาที่เกิดเหตุ: แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม เวลาประมาณ 15:20 น.ในเวลาญี่ปุ่น
(13:20 ในเวลาประเทศไทย)
-จุดศูนย์กลางอยู่ในเขต ตอนในของเมียนมา (Inland Area)
-ขนาดแผ่นดินไหว (Magnitude) อยู่ที่ 7.7
-ความลึกของศูนย์กลางแผ่นดินไหว (Hypocenter Depth) ประมาณ 10 กิโลเมตร
-เนื่องจากแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในพื้นที่ตอนในของแผ่นดิน
จึง ไม่มีการเกิดสึนามิ
⸻
รายละเอียดทางเทคนิคเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผ่นดินไหว
จาก USGS (United States Geological Survey)
-จุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวในภาพคือจุดสีส้มขนาดใหญ่และมีอาฟเตอร์ช็อกเกิดขึ้นตามมาในบริเวณใกล้เคียง
-สาเหตุของแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดจาก การเลื่อนตามแนวรอยเลื่อนแบบด้านข้าง (Strike-slip fault)
-เนื่องจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ใกล้ผิวดิน (ตื้นมาก)
จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใกล้เคียงกันในอนาคต
⸻
ความรุนแรงและผลกระทบที่เกิดขึ้น
เมื่อดูในรายละเอียดเกี่ยวกับระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวจะเห็นว่า พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดมีระดับความรุนแรง 9 ตามมาตรามอดิฟายด์เมอร์คัลลี่
(Modified Mercalli Intensity - MMI 9)
หากแปลงเป็นระดับความรุนแรง
ตามมาตราแผ่นดินไหวของญี่ปุ่น (Shindo Scale)
จะเทียบเท่ากับ ระดับ 6+ (Shindo 6 強)
⸻
ผลกระทบต่อประชากรในพื้นที่
-เมือง Sagaing ซึ่งมีประชากรประมาณ 71,900 คน
-เมือง Meiktila ซึ่งมีประชากรประมาณ 177,000 คน
พื้นที่เหล่านี้เป็นจุดที่ได้รับแรงสั่นสะเทือนรุนแรงระดับ 6+ ตามมาตราวัดของญี่ปุ่น
-ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลรายละเอียดจากทางการเมียนมาเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต แต่คาดว่าความเสียหายทางมนุษย์จะอยู่ในระดับสูง
⸻
ผลกระทบที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ประเทศไทย
-นอกจากผลกระทบในเมียนมาแล้ว
กรุงเทพฯ ประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 กิโลเมตรก็ได้รับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวครั้งนี้เช่นกัน
-มีอาคารขนาดใหญ่ที่ถล่มลงขณะยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
-จากข้อมูลของพนักงานของ Weathernews สำนักงานกรุงเทพฯ มีรายงานว่า รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนอย่างชัดเจนและมีการอพยพฉุกเฉิน
⸻
วิเคราะห์ความรุนแรงของแรงสั่นสะเทือนในกรุงเทพฯ
-เมื่อวิเคราะห์แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ จะพบว่าเทียบกับมาตราแผ่นดินไหวของญี่ปุ่นอยู่ที่ประมาณ ระดับ 3 ถึง 4
-อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมาตรฐานการออกแบบโครงสร้างอาคารและมาตรการต้านแผ่นดินไหวในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน
-แรงสั่นสะเทือนระดับนี้แม้จะไม่รุนแรงมากนัก แต่ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออาคารสูงและโครงสร้างที่อาจไม่มีระบบป้องกันแผ่นดินไหวที่เหมาะสม
⸻
ผลของแผ่นดินไหวคลื่นยาว (長周期地震動 / Long-period Ground Motion)
-มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า อาคารสูงในกรุงเทพฯ สั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่องและรุนแรง ซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหวคลื่นยาว
(Long-period Ground Motion)
-คลื่นแผ่นดินไหวระยะยาวมีความถี่ต่ำและสามารถเดินทางได้ไกล
-อาคารสูงที่มีความยืดหยุ่นมักจะเกิด
การสั่นพ้อง (Resonance)
กับคลื่นแผ่นดินไหวระยะยาว
ส่งผลให้เกิดการสั่นสะเทือนที่รุนแรงและยาวนาน
-แผ่นดินไหวคลื่นยาว สามารถเดินทางได้ไกลกว่าคลื่นแผ่นดินไหวทั่วไปและทำให้เกิดความเสียหายในพื้นที่ที่อยู่ไกลจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว เช่น ในกรณีของกรุงเทพฯ
⸻
ที่สถานีวัดแผ่นดินไหวที่ Kagoshima ประเทศญี่ปุ่น ตรวจพบคลื่นแผ่นดินไหวระยะยาวจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเมียนมา
-แม้ว่าคลื่นแผ่นดินไหวจะเดินทางมาถึงญี่ปุ่น แต่แรงสั่นสะเทือนลดลงจนไม่ได้รับการบันทึกเป็นแผ่นดินไหวรุนแรงในญี่ปุ่น
-อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้ยืนยันว่า แผ่นดินไหวคลื่นยาวจากเมียนมาเดินทางไกลและส่งผลกระทบในระยะไกลถึง 1,000 กิโลเมตร
⸻
ข้อกังวลเกี่ยวกับแผ่นดินไหวในอนาคต
-เนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดจาก รอยเลื่อนแบบด้านข้างตื้น (Shallow Strike-slip Fault) จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใกล้เคียงกันในอนาคต
จึงขอให้ติดตามข้อมูลและข่าวสาร
เกี่ยวกับแผ่นดินไหวอย่างใกล้ชิด
Cr: weathernews
Boom JapanSalaryman
ขอบคุณ เพจ JapanSalaryman