บกปภ.ช.รายงานสถานการณ์แผ่นไหวคลี่คลายลงแล้ว ประกาศลดระดับการจัดการสาธารณภัยเป็นขนาดกลาง (ระดับ 2) 18 จว.-กทม.ได้รับผลกระทบ
เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2568 นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะเลขานุการกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บก.ปภ.ช.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มี.ค.มีสาเหตุจากการเลื่อนตัวกลุ่มรอยเลื่อนสะกาย สาธารณัฐแห่งสหภาพเมียนมา ขนาด 8.2 ความลึก 10 กม. ที่ละติจูด 21.682 องศาเหนือ ลองจิจูด 96.121 องศาตะวันออก บริเวณประเทศเมียนมา ห่างจาก อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 326 กม. สามารถรับรู้แรงสั่นไหวได้ในพื้นที่ รวม 63 จังหวัด
ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายลงแล้ว พื้นที่สามารถควบคุมการปฏิบัติงานได้ บกปภ.ช.จึงได้ประกาศลดระดับการจัดการสาธารณภัยขนาดใหญ่ (ระดับ 3) เป็นการจัดการสาธารณภัยขนาดกลาง (ระดับ 2) กรณีเหตุแผ่นดินไหว โดยผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะเป็นผู้สั่งการควบคุมและบัญชาการในพื้นที่
นายภาสกร กล่าวว่า สถานการณ์ในภาพรวมนั้น ขณะนี้ได้รับรายงานความเสียหาย 18 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ลําปาง ลําพูน น่าน แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร รวมจำนวน 103 อำเภอ 275 ตำบล 412 หมู่บ้าน
บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 591 หลัง วัด 66 แห่ง โรงพยาบาล 92 แห่ง อาคาร 9 แห่ง โรงเรียน 58 แห่ง สถานที่ราชการ 27 แห่ง และกรุงเทพมหานคร มีผู้เสียชีวิต 18 ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 34 ราย (กรุงเทพมหานคร 33 ราย จ.นนทบุรี 1 ราย) และมีผู้สูญหาย 78 ราย (กรุงเทพมหานคร) ดังนี้
เชียงราย พื้นที่ได้รับความเสียหาย 15 อ. 55 ต. 119 ม. ได้แก่ อ.เชียงของ อ.ป่าแดด อ.เมืองฯ อ.เวียงป่าเป้า อ.เทิง อ.แม่จัน อ.เชียงแสน อ.แม่สาย อ.ขุนตาล อ.แม่ลาว อ.ดอยหลวง อ.แม่สรวย อ.พาน อ.เวียงเชียงรุ้ง และ อ.แม่ฟ้าหลวง บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 197 หลัง วัด 8 แห่ง โรงพยาบาล 16 แห่ง โรงเรียน 29 แห่ง สถานที่ราชการ 6 แห่ง
เชียงใหม่ พื้นที่ได้รับความเสียหาย 22 อ. 87 ต. 123 ม. ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.ดอยเต่า อ.พร้าว อ.หางดง อ.แม่แจ่ม อ.สันกําแพง อ.สะเมิง อ.กัลยาณิวัฒนา อ.ฮอด อ.แม่อาย อ.เชียงดาว อ.สันป่าตอง อ.แม่ริม อ.จอมทอง อ.แม่วาง อ.สันทราย อ.แม่แตง อ.อมก๋อย อ.แม่ออน อ.ไชยปราการ อ.ดอยหล่อ และ อ.สารภี บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 225 หลัง อาคารสูง 6 แห่ง วัด เจดีย์ 31 แห่ง โรงเรียน 11 แห่ง โรงพยาบาล 16 แห่ง
แม่ฮ่องสอน พื้นที่ได้รับความเสียหาย 7 อ. 13 ต. 18 ม. ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.สบเมย อ.ขุนยวม อ.ปางมะผ้า อ.ปาย อ.แม่ลาน้อย และ อ.แม่สะเรียง วัด 2 แห่ง สถานที่ราชการ 3 แห่ง โรงพยาบาล 8 แห่ง โรงเรียน 6 แห่ง
พะเยา พื้นที่ได้รับความเสียหาย 7 อ. 8 ต. 9 ม. ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.ภูซาง อ.เชียงม่วน อ.ดอกคําใต้ อ.เชียงคํา อ.แม่ใจ และ อ.ปง บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 40 หลัง โรงเรียน 1 แห่ง โรงพยาบาล 6 แห่ง รพ.สต. 6 แห่ง สถานที่ราชการ 4 แห่ง
ลําปาง พื้นที่ได้รับความเสียหาย 12 อ. 33 ต. 41 ม. ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.สบปราบ อ.เกาะคา อ.แม่ทะ อ.แม่พริก อ.งาว อ.ห้างฉัตร อ.วังเหนือ อ.เถิน อ.เมืองปาน อ.แม่เมาะ และ อ.เสริมงาม บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 73 หลัง วัด 5 แห่ง โรงเรียน 1 แห่ง โรงพยาบาล 5 แห่ง สถานที่ราชการ 2 แห่ง
ลําพูน พื้นที่ได้รับความเสียหาย 6 อ. 13 ต. 25 ม. ได้แก่ อ.ป่าซาง อ.ลี้ อ.เมืองฯ อ.บ้านโฮ่ง อ.เวียงหนองล่อง และ อ.แม่ทา บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 33 หลัง วัด 3 แห่ง โรงพยาบาล 4 แห่ง สถานที่ราชการ 2 แห่ง
น่าน พื้นที่ได้รับความเสียหาย 2 อ. 2 ต. 3 ม. ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.ภูเพียง วัด 2 แห่ง โรงพยาบาล 1 แห่ง
แพร่ พื้นที่ได้รับความเสียหาย 4 อ. 13 ต. 24 ม. ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.สอง อ.หนองม่วงไข่ และ อ.สูงเม่น บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 20 หลัง โรงเรียน 2 แห่ง โรงพยาบาล 2 แห่ง สถานที่ราชการ 8 แห่ง สุโขทัย อ.ศรีสําโรง อาคารโรงยาสูบ เสียหาย 1 หลัง
พิษณุโลก พื้นที่ได้รับความเสียหาย 2 อ. 4 ต. 4 ม. ได้แก่ อ.นครไทย และ อ.บางกระทุ่ม โรงพยาบาล 4 แห่ง
เพชรบูรณ์ พื้นที่ได้รับความเสียหาย 6 อ. 19 ต. 18 ม. ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.วิเชียรบุรี อ.หล่มสัก อ.น้ําหนาว อ.เขาค้อ และ อ.บึงสามพัน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 2 หลัง โรงพยาบาล 18 แห่ง โรงเรียน 1 แห่ง สถานที่ราชการ 1 แห่ง
ชัยนาท อ.เมืองฯ วัดเสียหาย 1 แห่ง อ่างทอง พื้นที่ได้รับความเสียหาย 3 อ. 4 ต. 4 ม. ได้แก่ อ.สามโก้ อ.ป่าโมก และ อ.วิเศษชัยชาญ โรงเรียน 4 แห่ง
พระนครศรีอยุธยา พื้นที่ได้รับความเสียหาย 9 อ. 14 ต. 15 ม. ได้แก่ อ.ลาดบัวหลวง อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางบาล อ.เสนา อ.ภาชี อ.มหาราช อ.ผักไห่ อ.วังน้อย และ อ.บางปะอิน วัด 11 แห่ง โรงพยาบาล 2 แห่ง
ปทุมธานี อ.คลองหลวง เบื้องต้นพบรอยร้าว อาคาร 3 หลัง ได้แก่ อาคารโรงอาหารชั้นเดียว อาคารสํานักงาน 2 ชั้น และอาคารเรียน 3 ชั้น
นนทบุรี พื้นที่ได้รับความเสียหาย 3 อ. 5 ต. 5 ม. ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.ปากเกร็ด และ อ.บางกรวย โรงพยาบาล 4 แห่ง ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์งามวงศ์วาน 1 แห่ง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย และไม่มีผู้เสียชีวิต
สมุทรปราการ อ.พระประแดง วัดได้รับความเสียหาย 1 แห่ง
สมุทรสาคร อ.เมืองฯ โรงพยาบาลได้รับความเสียหาย 1แห่ง
กรุงเทพมหานคร เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 18 ราย (เขตจตุจักร 11 ราย บางซื่อ 1 ราย คันนายาว 1 ราย บางกะปิ 1 ราย วัฒนา 1 ราย ราชเทวี 1 ราย ปทุมวัน 1 ราย และเขตห้วยขวาง 1 ราย) ผู้ได้รับบาดเจ็บ 33 ราย (เขตจตุจักร 18 ราย บางซื่อ 4 ราย บางรัก 3 ราย พญาไท 2 ราย ดินแดง 4 ราย วัฒนา 1 ราย และเขตบางนา 1 ราย) และมีผู้สูญหาย 78 ราย
นายภาสกร กล่าวต่อว่า ในส่วนของการบริหารจัดการจากนี้หลังจากลดระดับการจัดการสาธารณภัยลงเป็นสาธารณภัยขนาดกลาง (ระดับ 2) ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้าจังหวัด และศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้ากรุงเทพมหานคร จะแปรสภาพกลับมาเป็น “ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด “ และ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์กรุงเทพมหานคร”
โดยผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้อํานวยการจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะผู้อํานวยการกรุงเทพมหานคร จะเป็นผู้สั่งการควบคุมและบัญชาการในพื้นที่
สำหรับการให้ความช่วยเหลือ ขณะนี้ในทุกพื้นที่ได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยทหาร ตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสาธารณะกุศล ภาคเอกชน และจิตอาสา และพลเรือน ได้เข้าให้การช่วยเหลือและสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ส่วนพื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าให้การช่วยเหลือผู้ติดค้างภายใต้ซากอาคาร โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ระดมทีมค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง (USAR) เพิ่มเติมรวม 77 นาย พร้อมด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องจักรกลสาธารณภัย กว่า 14 รายการ จากศูนย์ป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยเขต 1 ปทุมธานี เขต 2 สุพรรณบุรี เขต 3 ปราจีนบุรี และเขต 16 ชัยนาท เข้าร่วมปฏิบัติการสนับสนุนการค้นหาผู้ประสบภัย
ในส่วนของอาคารที่มีความเสียหายและรอยร้าว กรุงเทพมหานครได้นำวิศวกรอาศ กว่า 130 คน ร่วมตรวจสอบอาคาร และมีการจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว จำนวน 12 แห่ง รองรับประชาชนได้ 1,415 ราย
นายภาสกร กล่าวว่า นอกจากนี้ได้มีการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยและเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (กรณีแผ่นดินไหว) แล้ว 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดแพร่ รวมทั้งกรุงเทพมหานครที่มีการประกาศเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติเต็มพื้นที่
สำหรับจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวสามารถใช้งบประมาณจากเงินทดรองราชการเพื่อช่วยช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด วงเงิน 20 ล้านบาท ซึ่งขณะสามารถดำเนินการสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหายเพื่อพิจารณาช่วยเหลือตามระเบียบหลักเกณฑ์
ถ้าหากไม่เพียงพอสามารถขอขยายวงเงินมาที่กรม ปภ. เพื่อส่งต่อให้กับกรมบัญชีกลางพิจารณาขยายวงเงินฯ ต่อไป ขณะที่การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด ทางกรมบัญชีกลางได้อนุมัติให้ ปภ.ขยายวงเงินทดรองราชการเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (กรณีแผ่นดินไหว) วงเงิน 200 ล้านบาท โดยเน้นในด้านการดำรงชีพและด้านการปฏิบัติงานในพื้นที่
ทั้งนี้ ปภ.ยังคงปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังในทุกพื้นที่ที่ประสบภัย รวมถึงติดตามสถานการณ์และประสานการให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด หากประชาชนได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ผ่านไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM หรือสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป