หอค้าไทย ยันเป้าศก.ไทยปี68 โตได้ 3% ชี้แผ่นดินไหวยังไม่กระทบ 3 ปัจจัยดันจีดีพี
GH News March 31, 2025 06:01 PM

หอค้าไทย ยันเป้าศก.ไทยปี68 โตได้ 3% ชี้แผ่นดินไหวยังไม่กระทบ 3 ปัจจัยดันจีดีพี พณ.เล็งแถลงแนวทางรับมือภาษีทรัมป์

นายพจน์ อร่ามวัฒนนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทยคนใหม่ เปิดเผยถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนที่เหลือของปี 2568 ว่า 1. ต้องมีการขับเคลื่อนและสร้างความเชื่อมั่นในทุกด้าน ทั้งการเร่งเบิกจ่ายงบภาครัฐ 2. เพิ่มความได้เปรียบด้านส่งออก ซึ่ง 2 เดือนแรกปีนี้ส่งออกไทยยังขยายตัวได้ดี คาดส่งออกเดือนมีนาคมยังเป็นบวกแต่หลักเดียว เนื่องจากความต้องการกลุ่มอาหารและสินค้าเกษตรยังมีความต้องการนำเข้าทั่วโลก ซึ่งในสัปดาห์นี้ต้องติดตามเพดานภาษีนำเข้าของสหรัฐที่จะประกาศจะมีกลุ่มใดและอัตราเท่าไหร่ ซึ่งวิธีการรับมือส่วนหนึ่งคือผลักดันไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกจากทั่วโลก ตอนนี้ธุรกิจไม่ได้วิตกแค่นโยบายของสหรัฐ แต่ต้องรับมือการเปลี่้ยงแปลงของการค้าโลกหลังทุกประเทศปรับตัวรับนโยบายทรัมป์2.0 โดยเฉพาะจีน ยุโรป ญี่ปุ่น และอาเซียน

3. การท่องเที่ยว เบื้องต้นแม้จะมีการเลื่อนจัดงานบ้าง แต่ยอดจองที่พักยังดูเหมือนไม่ได้กระทบเชื่อว่าสงกรานต์ปีนี้ ต่างชาติมาเที่ยวไทย หรือคนไทยเที่ยวไทย น่าจะยังดีอยู่ 4. ด้านลงทุนเชื่อว่ายังไม่มีอะไร แต่จำเป็นที่รัฐบาละต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กลับมาโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งเร่งตรวจสอบระบบอาคารทั่วประเทศทุกจังหวัด ให้กับมาโดยเร็วที่สุด อาคารไหนที่ยังเป็นความเสี่ยงก็จำเป็นจะต้องเร่งแจ้ง ส่วนไหนสามารถดำเนินการได้ก็ประชาสัมพันธ์เพื่อให้มีความมั่นใจ

4. ภาคการบริโภค ต้องยอมรับว่ากำลังใช้จ่ายยังอ่อนอยู่ ผลจากปัญหาหนี้ครัวเรือนสะสมมานาน ซึ่งรัฐบาล ภาคการคลังการเงินต้องเร่งลดปัญหาหนี้และหนี้นอกระบบ ควบคู่กับผลักดันคนมีอาชีพ มีงานทำ ทบทวบปรับค่าแรงงาน ซึ่งภาคเกษตรและภาคบริการจะได้รับผลกระทบสูงหาก ปรับแบบไม่สมดุล ควรยึดมติไตรภาคีในการกำหนดอัตราจ้าง ส่วนภาคผลิตจะหันไปใช้เครื่องจักรแทนแรงงานสูงขึ้น ผลกระทบจะสูงไม่เท่าเกษตรกับบริการ ส่วนมาตรการแจกเงินนั้นจะเกิดประโยชน์สูงสุดหากแจกถูกวิธีและตรงกับกลุ่มที่สามารถเพิ่มมูลค่าการใช้จ่ายแท้จริง

คงยังไม่ขอประเมินว่าแผ่นดินไหวจะสร้างความเสียหายเท่าไหร่ ภาคผลิต ส่งออก และท่องเที่ยวยังเดินหน้าได้ปกติ เพียงตอนนี้คนแพนิกจากแผ่นดินไหว สิ่งสำคัญตอนนี้เรื่องแรก คือ รัฐบาลต้องเร่งความเชื่อมั่นและยกระดับระบบเตือนภัย ต้องมีระบบการเตือนก่อนเกิดเหตุ การแนะนำข้อปฎิบัติระหว่างเหตุการณ์

ตอนนี้ศูนย์กลางเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กับสังคมทั้งในประเทศและทั่วโลก มีความเข้าใจ และให้ทุกภาคส่วนยังคงมีความเชื่อมั่น เพราะจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ต้องต่อเนื่อง ในเบื้องต้นหอการค้าไทยยังคงคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวได้ 3% จะถึงเป้าหมายนี้มั้ยขึ้นกับผลกระทบทางตรงและทางอ้อมจากนโยบายทรัมป์ 2.0″ นายพจน์ กล่าว

นายพจน์ กล่าวว่า ตนและคณะกรรมการหอการค้าชุดใหม่ ยึดยุทธศาสตร์ Unlocking New Growth :ศักยภาพใหม่แห่งการเติบโต เน้นทำงานเชิงรุก ผ่าน 4 แนวทางหลัก คือ 1. เสริมความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ ขับเคลื่อนการค้า/การลงทุน หนุนทีมไทยแลนด์ควาามร่วมมือรัฐ-เอกชน ลดปัญหาความท้าทายทั่วโลก หนุนปรับกฎส่งเสริมการลงทุน ตั้งกลไกความร่วมมือ นำร่องแล้วกับกลุ่มสินค้าเกษตรและอาหาร และผลักดันเจรจาเปิดเสรีการค้า (เอฟทีเอ) ไทย-อียู ไทย-แคนาดา ไทย-ยูเออี หากสำเร็จ 3 กรอบนี้จะดันจีดีพีกว่า 1%ต่อปี 2. เร่ง 5 เสาหลัก คือ การค้า/ลงทุน เกษตร/อาหาร ท่องเที่ยว/บริการ เอไอ/เทคโนโลยี และเนตซีโร่อิโคโนมี่ 3. เร่งยกพัฒนาทักษะแรงงาน รองรับเศรษฐกิจดิจิทัลและอุตสาหกรรมใหม่ 4. ส่งเสริมความเข้มแข็งการทำธุรกิจ ทั้งการเพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน ออกมาตรการช่วยเหลือสมาชิกโดยเฉพาะเอสเอ็มอีและหอทั่วประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่น

นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ รองประธานหอการค้าไทย กล่าวถึงแนวโน้มการปรับภาษีนำเข้าของสหรัฐ ในวันที่ 2 เมษายนนี้ น้้น เอกชนกับรัฐ ได้เตรียมพร้อมประเด็นที่จะหารือกับสหรัฐอยู่แล้ว รอเพียงคำตอบจากสหรัฐที่จะให้เข้าพบหารือต่อไป ทั้งนี้ ประเด็นหารือ อย่างเกษตรและอาหาร เชื่อว่าผลกระทบน้อยกว่าภาคอุตสาหกรรม และเชื่อว่าภาคเกษตรหากปรับเพดานภาษีนำเข้าก็จะไม่มาก เพราะในสหรัฐก็เจอปัญหาราคาและต้นทุนผลิตสูง บางส่วนเราก็สามารถเจรจาและเปิดให้นำเข้าได้ อย่างข้าวโพด ถั่วเหลือง อาหารทะเลบางชนิด เครื่องในวัว ผลไม้เมืองหนาว อย่าง แอปเปิล หรือวิสกี้ เป็นต้น ความชัดเจนต้องรอวันที่ 3 เมษายนนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงพาณิชย์ ได้ติดตามภาคเอกชน เพื่อรวมในการแถลงการเตรียมความพร้อมและแนวทางรับมือนโยบายทรัมป์ 2.0 ในวันที่ 2 เมษายนนี้ ซึ่งทางภาคเอกชน อยากให้เลื่อนเป็นวันที่ 3 เมษายน เพราะจะได้ทราบผลที่สหรัฐประกาศแล้ว

© Copyright @2025 LIDEA. All Rights Reserved.