พญ.ดุจฤดี อภิวงศ์ จิตแพทย์ โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า โรค PTSD เป็นภาวะทางจิตใจที่เกิดขึ้นหลังจากบุคคลต้องเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรง กระทบกระเทือนร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง เช่น ภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุร้ายแรง หรือแม้แต่เห็นภาพหรือสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักจากเหตุการณ์รุนแรง
โดยอาการ PTSD เป็นผลต่อเนื่องมาจากภาวะเครียดรุนแรงฉับพลัน Acute Stress Disorder เกิดขึ้นในช่วงเดือนแรกหลังเผชิญเหตุการณ์ แต่ในบางครั้ง PTSD เป็นภาวะที่อาจเป็นนานนับเดือนหรือนานเป็นปี หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม อาการอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ความสัมพันธ์ และอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนเช่นโรคซึมเศร้าตามมาได้
อาการเหล่านี้ เกิดจากการทำงานของระบบประสาทและสมอง ที่เปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทฮอร์โมนความเครียด จากระบบประสาทอัตโนมัติของคนสองระบบ ได้แก่ ระบบซิมพาเทติก (Sympathetic) ซึ่งเป็นฝั่งกระตุ้นที่ทำให้ร่างกายตื่นตัว พร้อมรับมือกับภัยอันตราย และระบบพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ฝั่งผ่อนคลาย ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากความเครียด ระบบทั้งสองต้องทำงานสมดุลกัน หากระบบซิมพาเทติกทำงานมากเกินไป จะทำให้เกิดผลให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็วตื้น ตื่นตัว กล้ามเนื้อเกร็ง วิตกกังวล และส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและร่างกาย
พญ.ดุจฤดี กล่าวว่า ผู้ที่มีภาวะ PTSD ควรเลี่ยงสถานการณ์ที่กระตุ้นความทรงจำเหตุการณ์ หลีกเลี่ยงการเหม่อลอย เพราะอาการเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หากพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการเหล่านี้ ควรรีบขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เพราะ PTSD เป็นภาวะที่ซับซ้อน แต่การดูแลตัวเองอย่างถูกต้องสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ ดังนี้
วิธีที่กล่าวมาจะช่วยลดความเครียดได้ นอกจากนี้ ยังมีการทำกิจกรรมเสริมที่ช่วยลดความเครียดและฟื้นฟูจิตใจ เช่น
"PTSD เป็นภาวะที่ต้องได้รับการดูแล อย่าปล่อยให้ตัวเองหรือคนใกล้ชิดต้องเผชิญกับมันตามลำพัง หากรู้สึกว่ายังรับมือไม่ไหว หรือมีอาการรุนแรงจนกระทบต่อชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพราะการได้รับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม
เช่น การนอนหลับให้เพียงพอ แบ่งเวลาพักระหว่างวัน และพูดคุยกับคนที่ไว้ใจได้ ก็ช่วยให้จิตใจกลับมาแข็งแกร่ง รวมถึงการรู้เท่าทันตนเองและการหยุดเสพข่าวที่สร้างความเครียดมากเกินไป จะเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันภาวะ PTSD และรักษาสุขภาพจิตให้แข็งแรง"