นายอำเภอขุนยวมพร้อมด้วย รองนายกอบต.ขุนยวม เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าไม้ที่ มส. 3 อ.ขุนยวม ราษฎรเจ้าของที่นา บ้านแม่สุริน และ นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ ร่วมกันลงพื้นที่บ้านแม่สุรินตรวจสอบหลุมยุบขนาดใหญ่ พบสาเหตุเกิดจาก ข้างล่างเป็นโพรง และอาจจะมีน้ำเป็นตัวพยุงไว้ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดิน ซึ่งอาจจะมาจากสาเหตุของแผ่นดินไหว ก็จะทำให้ระบบน้ำใต้ดินเปลี่ยนแปลง ทำให้ลดระดับลง ตัวโพรงก็จะมีช่องว่าง ตะกอนที่อยู่ด้านบนก็จะทรงตัวลง ทำให้เกิดดิบยุบอย่างที่เห็น อย่างไรก็ตามจะให้นักธรณีฟิสิกส์มาตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวอีกครั้ง
เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 เวลา 15.00 น.นายณรงค์พัชญ์ นาคทรัพย์ นายอำเภอขุนยวม พร้อมด้วย ดร.น้ำฝน คำพิลัง นักวิชาการชำนาญการ กรมธรณีวิทยา นายสาคร ทานา รองนายก อบต.ขุนยวม นายขจร วัฒนมาลา เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบต.ขุนยวม นายอัศราวุธ สิทธิดวง ผู้ช่วยช่างนายช่างโยธา อบต.ขุนยวม เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าไม้ที่ มส. 3 อ.ขุนยวม นายกอฉวี มหาชัย เจ้าของที่นา นายพิเดช ช้างลี้ เจ้าของที่นา และนายธวัช คำฟู ผญบ.บ้านแม่สุริน หมู่ 3 ต.ขุนยวม เจ้าของที่นา ได้เดินทางไปสำรวจหลุมยุบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2568 หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวในประเทศเมียนมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา
จากการสำรวจพบหลุมขนาดใหญ่ 1 หลุม เป็นรูปวงรี ขนาดกว้าง 22 เมตร ยาว 27 เมตร และหลุมย่อยอื่น ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงรวมทั้งหมด 6 หลุม สำหรับหลุมขนาดใหญ่ ใต้หลุมมีน้ำขัง ไม่สามารถวัดความลึกก้นหลุมได้ โดยหลุมยุบที่เกิดขึ้นกระจายในพื้นที่นาของราษฎรบ้านแม่สุริน หมู่ 3 ต.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ในเนื้อที่ประมาณ 2 งาน ซึ่งมีเจ้าของที่ดิน 3 ราย ที่ประสบเหตุหลุมยุบในที่นาของตนเองจำนวน 3 ราย ได้แก่ นายกอฉวี มหาชัย , นายพิเดช ช้างลี้ และ นายธวัช คำฟู ผญบ.บ้านแม่สุริน หมู่ 3 ต.ขุนยวม เจ้าของที่นา
ดร.น้ำฝน คำพิลัง นักวิชาการชำนาญการ กรมธรณีวิทยา กล่าวว่ากล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังเดินทางลงพื้นที่สำรวจดินยุบกลางไร่ถั่วเหลืองของชาวบ้าน บ้านแม่สุริน ต.ขุนยวม อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ว่า สาเหตุ ดินยุบ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นหินปูน ซึ่งหินปูนมีลักษณะพิเศษ สามารถละลายน้ำที่เป็นกรดอ่อน ๆ ได้ ซึ่งน้ำที่เป็นกรดอ่อน ๆ เมื่อไหลลงไปตามพื้นรอยแตกรอยแยกใต้ดิน และไปกัดเซาะหินปูนที่อยู่ด้านล่าง ทำให้ข้างล่างเป็นโพรง และอาจจะมีน้ำเป็นตัวพยุงไว้ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดิน ซึ่งอาจจะมาจากสาเหตุของแผ่นดินไหว ก็จะทำให้ระบบน้ำใต้ดินเปลี่ยนแปลง ทำให้ลดระดับลง ตัวโพรงก็จะมีช่องว่าง ตะกอนที่อยู่ด้านบนก็จะทรุดตัวลง ทำให้เกิดหลุมยุบอย่างที่เห็น อย่างไรก็ตามทราบมาว่าทางอำเภอขุนยวมจะทำหนังสือร้องขอไปยังกรมธรณีวิทยา เพื่อส่งเจ้าหน้าที่นักธรณีวิทยาฟิสิกส์ นำเครื่องมือที่ทันสมัยมาตรวจหาโพลงใต้ดินในพื้นที่ดังกล่าว
นายศรีมูล ฟูเฟื่อง อายุ 63 บ้านเลขที่ 100 หมู่ 3 ต.ขุนยวม อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่าตนเองมีที่ดินที่ติดกับ หลุมยุบ ซึ่งเหตุการณ์ประหลาดดังกล่าว ส่งผลให้ราษฎรในหมู่บ้านพากันหวาดกลัว เนื่องจากยังคงมีมีดินทรุด อย่างต่อเนื่อง จนถึงวันที่ 1 เม.ย.68 ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่กล้วเข้าใกล้หลุม โดยตนได้เดินทางไปดูหลุมยุบพบว่าน้ำก้นหลุมยังมีการกระเพื่อมเป็นระยะ และมีรอยแตกของดินขอบหลุมขยายออกไปเรื่อย ๆ ซึ่งตอนนี้ราษฎรเจ้าของสวนถั่วเหลืองรวมไปถึงตน ไม่กล้าที่จะให้น้ำแก่ต้นพืชที่ปลูกไว้เนื่องจากเกรงว่าน้ำที่เพิ่มลงไปจะทำให้เกิดหลุมใหญ่มากกว่าเดิม ซึ่งหากไม่ได้ให้น้ำแก่ถั่วเหลือง ต้นถั่วที่ใกล้จะถึงเวลาเก็บเกี่ยวในปลายเดือนนี้ก็ต้องตายลง ส่งผลกระทบต่อเกษตรโดยตรง