ฝันร้าย! แผ่นดินไหวสะเทือนตึกสตง.ถล่ม! บทเรียนราคาแพงคุณภาพก่อสร้างไม่ผ่านมาตรฐาน
GH News April 05, 2025 08:05 AM

เหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นกลางใจเมืองกรุงเทพมหานคร ของวันที่ 28 มีนาคม 2568 เวลา 13:20 น.ที่มีแผ่นดินไหวในเมียนมาขนาด 8.2 ตามมาตราริกเตอร์ ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทยในหลายพื้นที่ โดยในเขตภาคเหนือไล่ลงมาถึงภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานคร ได้รับความรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนในครั้งนี้               

ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะอาคารสูง และคอนโดมิเนียมต่าง ๆ เกิดการแตกร้าว และถึงขั้นถล่มลงมาของอาคารที่ก่อสร้าง สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ย่านจตุจักร

สำหรับโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (แห่งใหม่) มูลค่าโครงการกว่า 2,136  ล้านบาท ประกอบด้วยพื้นที่ส่วนอาคารสำนักงานสูง 29 ชั้น พื้นที่สำหรับการใช้งานฝึกอบรมและสัมมนาสูง 3 ชั้น พร้อมด้วยระบบโสตทัศนูปกรณ์ ระบบสื่อสารสนเทศที่ทันสมัย ซึ่งโครงการก่อสร้างนี้ดำเนินการโดยกิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ควบคุมงานก่อสร้างเป็นหน้าที่ของกิจการร่วมค้า พีเคดับบลิว (PKW Joint Venture) ประกอบด้วยบริษัท พี เอ็น ซิงค์โครไนซ์ จำกัด, บริษัท ว. และสหาย คอนซัลแตนตส์ จำกัด และบริษัท เคพี คอนซัลแทนส์ แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด

ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ ตรวจสอบพบว่าบริษัทดังกล่าวรับงานส่วนราชการไปทั้งหมด 11 งาน 10 งานอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ส่วนงานที่แล้วเสร็จเป็นอาคารเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ส่วนงานก่อสร้างที่บริษัทดังกล่าวรับงานส่วนราชการ อาทิ โครงการก่อสร้างศูนย์ราชการจังหวัดแพร่, โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์ฝึกกีฬามวยมาตรฐานระดับสากล สนามกีฬาหัวหมาก, โครงการก่อสร้างอาคารกองบังคับการ กรมพลาธิการทหารเรือ, โครงการก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัยข้าราชการตุลาการ ศาลอุทธรณ์ภาค 9, โครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, โครงการก่อสร้างอาคารสถาบันวิชาการ กฟภ., โครงการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ โรงพยาบาลสงขลา และโครงการก่อสร้างอาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้าง ของโรงเรียนวัดอมรินทราราม เป็นต้น

ส่วนสาเหตุการถล่มลงมาของโครงการก่อสร้างอาคารสตง.ในครั้งนี้ เป็นที่กังขาของประชาชนทั่วไปว่าเกิดจากสาเหตุใด มีการทุจริตในการก่อสร้างหรือไม่!!!               

ซึ่งจากการตรวจสอบจากหน่วงงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เบื้องต้นพบว่าโครงสร้างอาคารสตง.มีปัญหาจากสภาพของเหล็กที่ใช้ก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน โดย “น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์” หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนักวิชาการมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. ได้นำตัวอย่างเหล็กเส้นที่เก็บจากอาคาร สตง.ที่ถล่มขณะเกิดเหตุแผ่นดินไหวมาตรวจคุณภาพ

ขั้นตอนการตรวจสอบถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือการตรวจสอบค่าทางเคมีของเหล็ก โดยตัดแบ่งจากเหล็กตัวอย่าง จากนั้นนำไปทำความสะอาด และใช้เครื่องตรวจวัดค่าทางเคมีของเหล็ก โดยธาตุองค์ประกอบหลัก คือ คาร์บอน แมงกานีส ฟอสฟอรัส อลูมิเนียม โบรอน โครเมียม ซิลิคอน และทองแดง

ส่วนที่ 2 คือตรวจวัดค่าทางกายภาพ คือ ขนาดของบั้งของเหล็ก และตัวอักษรตีนูนบนเหล็ก และส่วนที่ 3 คือการทดสอบค่าทางกล ทั้งการทดสอบค่าทนทานของเหล็ก ด้วยวิธีการดึงด้วยเครื่องทดสอบ และการดัดงอ ซึ่งนักวิชาการของ สมอ.ระบุว่า ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญที่จะบ่งบอกว่าเหล็กมีความแข็งแรงตามมาตรฐานหรือไม่

และผลการทดสอบเหล็กตัวอย่าง 22 ท่อน ที่นำมาทดสอบในวันนี้ แบ่งเป็นเหล็กข้ออ้อย 20 ตัวอย่าง ขนาดตั้งแต่ 12-32 มิลลิเมตร ที่เหลืออีก 2 ท่อนเป็นเหล็กกลมขนาด 24 มิลลิเมตร พบร้อยละ 10 ของตัวอย่างไม่ผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรม แต่ยังไม่สามารถระบุยี่ห้อเหล็กที่ไม่ผ่าน!!!

กลายเป็นประเด็นที่ต้องตรวจสอบว่าเหล็กที่ไม่ผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรมนั้นมาได้อย่างไร!?!

ทั้งนี้ “นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบสาเหตุอาคารสตง.ถล่ม ว่า สาเหตุอาจมีหลายปัจจัย ทั้งแบบก่อสร้าง วัสดุที่ใช้ และมาตรฐานคุณภาพ โดยเฉพาะวัสดุก่อสร้างบางประเภทที่แม้จะได้รับมาตรฐาน มอก. แต่ยังพบปัญหาคุณภาพ ที่ส่วนใหญ่มาจากผู้ผลิตรายเดียว แต่มีบางขนาด เช่น ขนาด 32 มม. ที่มาจาก 3 ผู้ผลิตแตกต่างกัน และหากพบว่าเหล็กที่มีปัญหามาจากผู้ผลิตรายใด จะดำเนินมาตรการอย่างเข้มงวด ตั้งแต่สั่งหยุดการผลิต ให้โรงงานปรับปรุงมาตรฐาน ไปจนถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาต มอก. และเรียกคืนผลิตภัณฑ์ รวมถึงดำเนินคดีตามกฎหมาย

การเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ ส่งผลสะเทือนหลายปัจจัย!!!

อาคารสำนักงานสตง.ถล่ม มีผู้บาดเจ็บ-เสียชีวิต!!!

บริษัทรับเหมาก่อสร้างนำเหล็กไม่ได้มาตราฐานใช้ก่อสร้าง!!!

อย่าให้ต้องเกิดเหตุการณ์แบบนี้อีกเลย!!!

 

© Copyright @2025 LIDEA. All Rights Reserved.