วิจัย 4 ปีเก็บภาษีไม่หวาน ช่วยคนไทยลดดื่มทุกกลุ่มอายุ
GH News April 06, 2025 10:06 AM

การเก็บภาษีความหวาน ปัจจุบันอยู่ในระยะที่3 เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2566 -31 มีนาคม 2568 ทีผ่านมา ภาษีความหวานจะมีการปรับขึ้นเป็นอัตราก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ ทุก ๆ 2 ปี โดย ภาษีเพิ่มขึ้น เช่น ภาษีระยะที่ 3 เครื่องดื่มที่มีสารความหวาน 10-14 กรัมต่อลิตร จะเสียภาษีเพิ่มจาก 1 บาท เป็น 3 บาทต่อลิตร

ล่าสุด สสส. เปิดผลวิจัย 4 ปีมาตรการภาษีความหวาน  โดย รศ. ดร. สิรินทร์ยา   พูลเกิด   สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล  เปิดเผย ผลการศึกษาวิจัยสถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มรสหวานของคนไทยภายหลังการออกมาตราการเก็บภาษีสรรพสามิตรในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา  โดยทำแบบสอบถามครัวเรือนตัวอย่างที่ถูกสุ่มโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวน 3,720 ครัวเรือน และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการจัดโฟกัสกรุ๊ป ผู้อยู่อาศัยในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล แย่วตามกลุ่มอายุ 10-14 ปี 15-29 ปี 30-44 ปี 45-59 ปี และตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยติดตามกลุ่มครอบครัวดังกล่าวต่อเนื่อง 4 ปี ช่วงเก็บข้อมูล มิถุนายน  และธันวาคมของทุกปี

ผลการศึกษาการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวนของคนไทย ปี2561-2566  พบว่า คนไทยมีแนวโน้มการดื่มลดลง ชายไทยดื่มมากกว่าผู้หญิง ขณะที่กลุ่มวัยทำงานตอนต้น และวัยเรียนดื่มมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ส่วนคนรายได้น้อยดื่มลดลง คนมีรายได้สูงดื่มเพิ่มมากขึ้น

ขณะที่เครื่องดื่มที่มีมาตรการเก็บภาษีก็มีแนวโน้มการดื่มลดลง ยกเว้นเครื่องดื่มชูกำลัง และกาแฟกระป๋อง และยังมีอัตราการดื่มน้ำอัดลมมากที่สุด  ขณะที่กลุ่มเครื่องดื่มที่ไม่เก็บภาษีมีแนวโน้มดื่มลดลงเช่นกัน ยกเว้นเครื่องดื่มชงสด ชา/กาแฟเย็น และน้ำสมุนไพร

 การลดการดื่มของคนไทยพบว่า ปัจจัยเรื่องราคามีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่ม โดยคนไทย 70.5% จะเปลี่ยนแปลงการดื่มหากราคาสูงขึ้น แต่จะดื่มยี่ห้อเดิมแต่ลดปริมาณลง 39.4 % เลิกดื่มที่มีรสหวน 22.9 % และดื่มยี่ห้อเดิมแบบใส่สารทดแทนความหวาน 4.7 %  และดื่มประเภทอื่น เช่น ชงสด 3.5 %  โดยคนไทยมีใช้ค่าใช้จ่ายซื้อเครืองดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ย 23.55 บาทต่อวัน   แต่ถ้าหากมีราคาเพิ่มขึ้นจะรับได้เฉลี่ยไม่เกิน31.24 บาท
ส่วนการปรับสูตรเครื่องดื่มลดความหวานลง 15.6 % ดื่มยี่ห้อเดิม แต่เลือกที่จะใส่สารทดแทนความหวาน  15.6 %  เลิกดื่ม  7.6 % เปลี่ยนยี่ห้อ แต่ไม่เปลี่ยนระดับความหวาน     2.4 %  เปลี่ยนไปดื่มประเภทอื่น เช่น ชงสด  58.8 % ดื่มยี่ห้อเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง  

สำหรับเหตุผลในการเลือกเครื่องดื่มที่มีรสหวานพบว่า อายุ 10-14 ปีมาจากการตลาดและรสชาติ  อายุ 15-29 ปี มาจากรสชาติและ ราคา ส่วน อายุ 30-44 ปีมาจากเรื่องราคา และการเข้าถึงที่ง่าย ส่วนอายุ 45-59 ปีเป็นเรื่องการตลาดที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย สุขภาพ

ส่วนตราสัญลักษณ์ ”ทางการเลือกสุขภาพ” ในเครื่องดื่มพบว่าเครื่องดื่มที่ได้รับการรับรอง 3 อันดับคือ 1. ชาเขียวบรรจุขวด  500 มล 2.น้ำอัดลมบรรจุดขวด น้ำตาล 0 % 3.  น้ำผลไม้บรรจุขวด 450 มล แต่คนไทยใช้สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพประกอบการตัดสินใจซื้อน้อยมากพบว่า 3 ใน 8 คนใช้ในการตัดสินใจซื้อ และ 5 ใน 8 คน ไม่ใช้ตัดสินใจ หรือไม่แน่ใจ
รศ. ดร. สิรินทร์ยา  ระบุว่าผลการศึกษาพบว่า คนไทยดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยลดลง แต่ น้ำอัดลม ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกเก็บภาษี ที่คนไทยดื่มมากที่สุด และในทุกปี ชา/กาแฟชงสด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ถูกเก็บภาษี ที่คนไทยดื่มมากที่สุด  ส่วนคนไทยกลุ่มรายได้สูงดื่มเพิ่มขึ้น

มาตรการทางภาษีมีอิทธิพลในการเปลี่ยนพฤติกรรมไม่กินหวาน แม้ว่าจะไม่ใช่ปัจจัยทั้งหมดก็ตาม จึงเสนอการปรับเพดาภาษีไม่หวานเพิ่มในระยะที่ 4 พร้อมกับการควบคุมการตลาดผ่านสื่อโฆษณา ขณะที่เครื่องดื่มประเภท ชา/กาแฟชงสด อาจจะพิจารณาเก็บภาษีครอบคลุมเครื่องดื่มกลุ่มนี้ควบคู่ไปกับมาตรการปรับสูตรลดหวาน”

ด้านทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้จัดการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า ผลการวิจัยออกมาชัดเจนว่า การดำเนินด้านมาตรการภาษีความหวานในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้คนไทยดื่มน้ำหวนลดลง  โดยคาดว่าหากการปรับเพดานภาษีความหวานเป็นระยะที่ 4  มาตรการภาษีที่เข้มงวดขึ้นจะส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานลดระดับความชุกลง

“ตอนนี้เห็นชัดเจนว่าคนไทยดื่มน้อยลงโดยไม่รู้ตัว แม้ว่าจะยังคนที่ยังติดความหวานยังคงติดอยู่และไปใช้สารทดแทนความหวานเพิ่มขึ้น  แต่สิ่งที่เราอยากทำคืออยากให้เขารับรู้แล้วก็ตัดสินใจเลือกไปเอง โดยเปลี่ยนรสของลิ้นที่เคยติดหวานให้หวานน้อยลง หรือไม่หวานเลย ไม่ใช่ไปใช้สารทดแทนความหวาน”

ทพญ.ปิยะดา กล่าวต่อไปอีกว่า สิ่งที่ทำควบคู่ไปกับการปรับมาตรการภาษีคือการรณรงค์ไม่กินหวาน ซึ่งตลอดช่วงที่ผ่านมาเราสามารถทำให้เกิดกระแส “ไม่หวานสั่งได้” ในเครือข่ายร้านกาแฟที่มาร่วมกัน จนกระทั่งนำไปสู่ร้านที่ไม่ใช่เครือข่ายของเรานำเรื่องไม่หวานสั่งได้ไปทำในร้านตัวเอง ขณะที่ในโรงเรียนเราณรงค์มาตั้งแต่ปี 2550 จน กระทรวงศึกษาธิการก็ออกประกาศให้โรงเรียนไม่มีน้ำอัดลม หรือขนมที่แคลอรี่สูง จนขณะนี้เราเชื่อว่าไม่มีโรงเรียนไหนไม่รู้ว่าไม่ให้มีน้ำอัดลมในโรงเรียน  ซึ่งเราณรงค์ไปพร้อมกับทำสูตรลดหวานเป็นแนวทางและผลักดันมาตรฐานความหวานต้องไม่เกิน 8 กรัม หรือ 2 ช้อนชา จึงเชื่อว่าหากดำเนินการทั้งเรื่องภาษีและการณรงค์จะช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมติดหวานของคนไทยได้

© Copyright @2025 LIDEA. All Rights Reserved.