“ไทยแลนด์ ยัง มิวซิเชี่ยนส์ อวอร์ด 2025” จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 ภายใต้การนำของประธานการจัดงาน คุณจุลยุทธ โล่โชตินันท์ (ผู้ก่อตั้งวงบางกอก แชริตี้ ออเคสตร้า – BCO) ด้วยความมุ่งมั่นที่จะขยายพื้นที่ในการแสดงออกทางดนตรีให้กับเยาวชนไทยอย่างเต็มที่ ทั้งในด้านการขับร้อง ดนตรีคลาสสิค, ดนตรีร่วมสมัย, และดนตรีไทย เวทีนี้เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยจากทั่วประเทศได้แสดงศักยภาพทางดนตรีที่หลากหลาย พร้อมทั้งเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในวงการดนตรี สร้างทักษะและเตรียมพร้อมสำหรับการก้าวสู่เส้นทางอาชีพในวงการดนตรีระดับสากล
คุณจุลยุทธ (แทน) โล่โชตินันท์ ผู้ก่อตั้งวงบางกอก แชริตี้ ออเคสตร้า – BCO กล่าวว่า จากความสำเร็จของการจัดการประกวดในปีที่ผ่านมา ทำให้เราเดินหน้าจัดงาน “ไทยแลนด์ ยัง มิวซิเชี่ยนส์ อวอร์ด 2025” เป็นปีที่ 2 อย่างต่อเนื่อง และ โดยเฉพาะในปีนี้ผมเห็นว่าอุตสาหกรรมดนตรีกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเปิดพื้นที่เพื่อให้เยาวชนแข่งขันเป็นการสร้างโอกาสที่สำคัญในการพัฒนาทักษะและเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ ด้านดนตรีให้แก่เยาวชนผู้มีความสามารถ ซึ่งในปีนี้เรายังคงมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนและยกระดับการแสดงออกทางดนตรีของเยาวชนไทย ทุกมิติทั้งด้านทักษะการแสดงและการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีที่มีคุณค่า
โอกาสนี้ยังมีการมอบรางวัลเกียรติยศแก่คุณครูผู้ฝึกสอนที่มีส่วนสำคัญในการช่วยเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของเยาวชน โดยมีการมอบรางวัล “Top 10 Thailand Best Music Teachers” ให้กับคุณครูผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจและสนับสนุนการเติบโตของนักเรียนอย่างเต็มที่ 1. เสกข์ ทองสุวรรณ 2.ไอริณ ปรีชาญวินิจ 3. กนกกาญจน์ กล่อมชุ่ม 4. ดร.พรพรรณ บรรเทิงหรรษา 5.กามเทพ ธีรเลิศรัตน์ 6. ศรวณีย์ พรพิทักษ์พงศ์ 7. ชลธิชา เชียงทอง 8. ลูกศร วฤทธรัชต์ 9. ตฤณสิษฐ์ วราพรชัยศักดิ์
สำหรับไทยแลนด์ ยัง มิวซิเชี่ยนส์ อวอร์ด 2025 จัดขึ้น ณ โรงละครอักษรา คิงพาวเวอร์ รางน้ำ โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมแข่งขันกว่า 400 คน ซึ่งผ่านการคัดเลือกเหลือเพียง 25 คน เพื่อรับมอบรางวัล “Top 25 Thailand Young Musicians Award“ พร้อมทั้งโอกาสขึ้นเวทีเพื่อแสดงความสามารถอย่างเต็มที่ โดยมีรายชื่อเยาวชนผู้รับมอบรางวัล แต่ละสาขาดังนี้ เปียโน : 1. พลอยชมพู วงศ์วัฒนากิจ 2. ภัทราพร เลอเลิศวณิชย์ 3. อารยา อภิบาลพุทธคุณ 4. นภัทร โฉลกพันธ์รัตน์ 5. ณัฐชนก ชลคุป 6. พรรษวัชร์ พงษ์เภตรารัตน์ 7. พสิษฐ์ วัฒนาเลขาวงศ์ 8. ฐิติวัชร์ อยู่ชาวไร่ 9. กัญญาพัชร ด่านกุล 10. ศิลปิน เกียรติเมธา ร้องเพลง : 11. อลิยา ตันบุญเจริญ 12. ปรรณพัชร์ เหล่าสุขสันติวงศ์ 13. ภัทณัฏฐ์ เอี่ยมโสภณา 14. ชญาภา อัศวรักวงศ์ 15. ณปภา จิระประยูร 16. ฉัตรกวินท์ ทินกร ณ อยุธยากีตาร์ : 17. ติณณ์ ไชยสถิตวานิช เครื่องสาย : 18. ปานตะวัน แซ่เฮง(กู่เจิง) 19. ฌริตา คุ้มวรชัย (ไวโอลิน)กลอง : 20. ธีรรินทร์ จงเจริญพรสุข 21. ศศะณัณญ์ สุหัตถาพร เครื่องเป่า : 22. ภาภูมิ โพธิ์พงษ์ (ฟลู้ท) 23. ณวิชช์ ธรรมไกรสร (อัลโต้ แซกโซโฟน) ดนตรีไทย : 24. กานต์พิชชา เสรีวิริยะกูล(ขิม) 25. ดร เดชะรินทร์ , ดล เดชะรินทร์(ระนาดเอก)
น้องอารยา อภิบาลพุทธคุณ (ถิงถิง) อายุ 8 ปี จาก โรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี (Shrewsbury International School City Campus) นักเปียโนรุ่นเยาว์ กล่าวว่า ดีใจมากๆค่ะ ที่ได้เข้ารอบและได้มารับรางวัลในเวทีนี้ หนูชอบเล่นเปียโน เพราะหนูคิดว่าเปียโนเป็นพื้นฐานของทุกๆเครื่องดนตรี ถ้าเล่นเปียโนได้หนูก็จะเล่นเครื่องดนตรีอื่นๆได้ง่ายขึ้นและอีกอย่างหนึ่งเปียโนก๊อปปี้วงออร์เคสตร้า(Orchestra)เหมือนกัน ถ้าเรากดเสียงโน้ตทั้งหมด โน้ตตัวหนึ่งจะเท่ากับเครื่องดนตรี ในวงออร์เคสตร้าค่ะ นอกจากหนูชอบเปียโนแล้ว หนูยังชอบร้องเพลง แล้วสนใจที่จะเล่นเชลโล่ และ คลาริเน็ตด้วย
น้องณปภา จิระประยูร (แอ้ม) อายุ 15 ปี จาก โรงเรียนชลกันยานุกูล กล่าวว่าเข้ามาประกวดร้องเพลง เพราะครูสอนดนตรีส่งมาให้ ปกติชอบร้องเพลงตั้งแต่เด็ก ทำให้ได้ฝึกฝนตัวเองรู้สึกเหมือนเราได้ใช้เวลาทำอย่างอื่น นอกจากเรียนอยากเป็นศิลปิน ตอนนี้อินเรื่องเขียนเพลงก็พยายามหาข้อมูลพยายามฝึกคอร์ดด้วย เล่นเพลงแนวป๊อปทั่วไป
น้องภาภูมิ โพธิ์พงษ์ (กัญจน์) อายุ 12 ปี โรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี (Shrewsbury International School Bangkok Riverside) เผยว่า เล่นฟลู้ท(Flute) เริ่มแรกได้ฟังวงออร์เคสตร้า(Orchestra)เล่น เลยสนใจ พอดีที่โรงเรียนมีให้เลือก Year 5 เลยเลือกฟลู้ทช่วงอายุ 10 ขวบ เดิมเล่นเปียโนตั้งแต่ 5 ขวบ ไปประกวดตลอด เปียโนได้รางวัลเยอะไป ต่างประเทศหลายรอบไปโชว์ ตื่นเต้นที่สุดคือเวียนนากับแคนาดา เขาเชิญไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เล่นเปียโนกับฟลู้ทต่างกัน เปียโนก้มหน้ามีสมาธิมีความเป็นส่วนตัว ส่วนฟลู้ทต้องสบตาคน ชอบเล่นทั้งสองอย่างแต่ไม่แน่ใจว่าจะทำเป็นอาชีพหรือเปล่าหรือจะมีอะไรที่ชอบต่อไป
น้องศศะณัณญ์ สุหัตถาพร (ซาซ่า) อายุ 11 ปี โรงเรียนนานาชาติเบซิส บอกว่า มาประกวดโครงการนี้เป็นครั้งที่สองดีใจที่ได้รับรางวัลทั้งสองครั้งต่อกัน ชอบตีกลอง เพราะชอบทำอะไรแบบเคาะๆแม่ซื้อกลองของเล่นมาให้ตีพังไป 3 ชุดเลย ซื้อของจริงมาให้เล่นตั้งแต่ 8 ขวบ เดินสายแข่งเยอะมาก มีความฝันอยากตีกลองจนคนรู้จัก โคฟเวอร์ (Cover) พวกเพลงได้เป็น เวอร์ชั่น(Version) ตอนนี้ เล่น ลงยูทูป(YouTube)มีคนตามประมาณสองพันคนแล้ว ชอบตีกลองเพราะรู้สึกทำให้อิสระ แยกมือ เท้า เข้าใจจังหวะดนตรี ได้รางวัลเยอะมาก 80-90 รางวัลมาประกวดเพราะอยากทำ และพยายามให้ตัวเองเป็นตัวเอง คิดว่าจะเล่นดนตรีเป็นงานอดิเรก