นักจุลชีววิทยาพิสูจน์ชัดๆ "กฎ 5 วินาที" เก็บอาหารตกพื้น ปลอดภัยจากเชื้อโรคจริงไหม?
sanook April 18, 2025 08:30 AM

นักจุลชีววิทยาพิสูจน์ชัดๆ "กฎ 5 วินาที" เก็บอาหารตกพื้น ปลอดภัยจากเชื้อโรคจริงไหม?

นิโคลัส ไอเชอร์ นักจุลชีววิทยาและนักวิเคราะห์ควบคุมคุณภาพอาวุโส (Senior Quality Control Analyst) ในเมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทดลองตรวจดูการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในอาหารที่ตกพื้น และถูกเก็บขึ้นภายในเวลาแตกต่างกัน ได้แก่ 1 วินาที, 5 วินาที, 10 วินาที, 20 วินาที, 30 วินาที และ 1 นาที

เขากล่าวว่า “ผมคิดว่ามันจะเป็นเรื่องสนุก ถ้าได้เผยให้ผู้คนเห็นถึงความสกปรกเล็กๆ น้อยๆ ที่เราอาจมองข้ามในชีวิตประจำวัน”

แม้หลายคนจะเชื่อใน “กฎ 5 วินาที” ซึ่งกล่าวว่า อาหารที่ตกพื้นจะยังปลอดภัยถ้าเก็บขึ้นมาภายใน 5 วินาที แต่ผลการทดลองกลับทำให้ไอเชอร์ตกใจ

ในคลิปที่มีผู้ชมกว่า 1 ล้านวิว ไอเชอร์นำจานเพาะเชื้อ (petri dish) ไปสัมผัสกับพื้นตามระยะเวลาที่กำหนด แล้วนำไปอบในตู้อบเพื่อดูการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

หลังจากเวลาผ่านไป (ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเท่าไร) เขาพบว่า ทุกตัวอย่าง แม้แต่จานที่สัมผัสพื้นเพียง 1 วินาที ก็ยังมีแบคทีเรียเติบโตให้เห็น

จุดสีขาวซึ่งเป็นแบคทีเรีย ปรากฏให้เห็นชัดแม้ในจานที่วางเพียงวินาทีเดียว ไอเชอร์กล่าวว่า “ดูเหมือนแม้แต่ศูนย์วินาทีก็ยังนานเกินไป”

ที่น่าสนใจคือ ตัวอย่างที่ตกพื้น 5 วินาที มีแบคทีเรียในปริมาณใกล้เคียงกับตัวอย่าง 1 วินาที ซึ่ง หักล้างความเชื่อ ที่ว่า “กินได้ถ้าเก็บทันใน 5 วินาที”

ในคลิปยังแสดงให้เห็นว่า เมื่อเขาทำตัวอย่าง 5 วินาตีหล่นลงบนโต๊ะไม้ แบคทีเรียก็ยังติดอยู่บนพื้นโต๊ะ เพิ่มโอกาสการแพร่กระจายต่อ

เมื่อดูตัวอย่างที่ตกพื้นนานขึ้น 10, 20 และ 30 วินาที ปริมาณแบคทีเรียยิ่งมากขึ้นอย่างชัดเจน ส่วนตัวอย่าง 1 นาที กลับมีแบคทีเรียในระดับใกล้เคียงกับ 5 วินาที

ไอเชอร์สรุปว่า “จะ 5 วินาทีหรือ 60 วินาทีก็สกปรกพอกันนั่นแหละ”

คลิปของเขาได้รับความสนใจมากบน TikTok มีคนกดไลก์เกือบ 20,000 ครั้ง และมีคอมเมนต์ทั้งขำขันและตกใจ เช่น

  • “ไม่เป็นไร ผมใช้กฎ 5 วินาทีมาตั้งแต่เด็ก ยังไม่ตายเลย!”

  • “จริงๆ แล้วมันขึ้นกับว่าเราเสียดายของแค่ไหนมากกว่า”

  • “จะทำเป็นลืมสิ่งที่เห็นวันนี้ แล้วใช้กฎ 5 วินาต่อไป…”

  • “จะไม่กินของตกพื้นอีกแล้ว!”

  • “เพิ่มรสชาติสินะ ”

แม้แต่โต๊ะในครัว อาจเต็มไปด้วยเชื้อโรคที่ทำให้ป่วยได้ เช่น ซัลโมเนลลา และ ลิสเทอเรีย ที่สามารถเกาะและเจริญเติบโตบนอาหารทันทีเมื่อสัมผัสพื้น

เชื้อเหล่านี้สร้างสารพิษที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ โดยเฉพาะซัลโมเนลลา อาจทำให้เกิดไข้ไทฟอยด์ ซึ่งอันตรายถึงชีวิตหากไม่รักษา ส่วนลิสเทอเรียอาจนำไปสู่ภาวะรุนแรง เช่น ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเสียชีวิต

อาการที่พบบ่อยหลังรับเชื้อ ได้แก่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว และท้องเสีย ซึ่งมักเกิดภายใน 24 ชั่วโมง แต่อาจช้ากว่านั้น

อาหารประเภท “เปียก” เช่น แตงโม แอปเปิล หรือเนื้อแปรรูป ดึงดูดแบคทีเรียได้มากกว่าอาหารแห้งอย่างมันฝรั่งทอดหรือคุกกี้

ทั่วโลกมีผู้ป่วยจากอาหารเป็นพิษประมาณ 600 ล้านคนต่อปี โดยเฉพาะในสหรัฐฯ มีมากถึง 48 ล้านคนต่อปี

© Copyright @2025 LIDEA. All Rights Reserved.