นักวิจัยไขปริศนา – บีบีซี รายงานว่า “ยอดเขาเอเวอเรสต์” ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกด้วยความสูงถึง 8,848 เมตร และยังสูงเพิ่มขึ้นอีกปีละ 2 มิลลิเมตร ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนาถึงสาเหตุที่สูงขึ้นเป็นเพราะแม่น้ำกัดเซาะหินและดินใต้ภูเขา
นายอดัม สมิธ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน (ยูซีแอล) กล่าวว่ายอดเขาเอเวอเรสต์มีความสูงเพิ่มขึ้น 15-50 เมตรจากระดับปกติ
เนื่องจากแม่น้ำอรุณซึ่งอยู่ห่างจากยอดเขาเอเวอเรสต์ 75 กิโลเมตร พัดพาเอามวลหินและดินในลุ่มน้ำหายไป เหมือนการยกของหนักออกจากเรือสินค้า เมื่อเรือเบาขึ้นก็จะลอยลำสูงขึ้นเช่นเดียวกับแผ่นเปลือกที่เบาขึ้นก็จะยกตัวสูงขึ้นเล็กน้อยนั่นเอง
นักวิจัยไขปริศนา – ภาพประกอบ – Mount Everest or Sagarmatha (top), highest peak in the world with an altitude of 8.848 metres (29.028 ft) is seen in this aerial view next to 6.812 metres (22.349 feet) high Mount Ama Dablam (bottom R) April 22, 2007. REUTERS/ Desmond Boylan/File Photo
เทือกเขาหิมาลัยเกิดจากแรงดันจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกอินเดียและยูเรเซียเมื่อ 40-50 ล้านปีก่อนและแปรสัณฐานของแผ่นเปลือกโลก (การที่เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการเคลื่อนไหวในลักษณะต่างๆ) ทำให้ความสูงของแผ่นเปลือกโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แต่แท้จริงแล้วแม่น้ำอรุณเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้ยอดเขาเอเวอเรสต์สูงขึ้น แม่น้ำอรุณไหลผ่านเทือกเขาหิมาลัย กัดเซาะดินและหินในร่องน้ำออกไปจากเปลือกโลกทำให้ชั้นแมนเทิลที่อยู่ระหว่างเปลือกโลกกับแก่นโลกลดแรงกดดันส่งผลให้เปลือกโลกชั้นนอกสุดยืดหยุ่นตัวและลอยสูงขึ้น
นายแมทธิว ฟอกซ์ นักวิจัยร่วมอธิบายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ จีโอไซแอนซ์ เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า “การดีดตัวกลับของเปลือกโลก” เป็นเหตุให้ยอดเขาเอเวอเรสต์และยอดเขาใกล้เคียง รวมทั้งยอดเขาโลตเซและมาคาลูที่สูงเป็นอันดับ 4 และ 5 ของโลกยกตัวสูงขึ้นเร็วกว่าการทำเปลือกโลกลดต่ำลง
จากการวัดความสูงโดยใช้เครื่องมือจีพีเอสพบว่ายอดเขาเอเวอเรสต์สูงขึ้นปีละ 2 มิลลิเมตรซึ่งขณะนี้ ได้ความกระจ่างแล้วว่าเป็นเพราะแรงขับเคลื่อน ด้านนักธรณีวิทยาบางคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยชิ้นนี้กล่าวว่าแม้ทฤษฎีนี้มีความเป็นไปได้ แต่ยังต้องศึกษาอีกมาก
นักวิจัยไขปริศนา – ภาพประกอบ – Mount Everest, the highest peak in the world with an altitude of 8,848 metres (29,028 feet), is seen in this aerial view March 25, 2008. Mount Everest is 15-50m taller than it would otherwise be because a river is eroding rock and soil at its base, helping push it upwards, according to a new study. REUTERS/Desmond Boylan
ทั้งนี้ ยอดเขาเอเวอเรสต์ตั้งตระหง่านอยู่บนพรมแดนกั้นระหว่างจีนและเนปาลซึ่งส่วนทางเหนืออยู่ในฝั่งจีน ส่วนแม่น้ำอรุณไหลจากทิเบตสู่เนเปาลก่อนรวมกับแม่น้ำอีก 2 สายกลายเป็นแม่น้ำโกศีไหลจากทางตอนเหนือของอินเดียมาบรรจบกับแม่น้ำคงคา
แม่น้ำสายนี้พัดพาเอาตะกอนทรายปริมาณมากมาด้วย ประกอบกับความสูงชันที่ไหลลงจากภูเขาทำให้มีกระแสน้ำมีแรงดันมหาศาลจนกัดเซาะหินและดินจำนวนมากที่ไหลผ่านระหว่างทางออกไป
แต่นักวิจัยยูซีแอลกล่าวว่าแม่น้ำสายนี้มีพลังมหาศาลเมื่อบรรจบกับแม่น้ำอีกสายหนึ่งในทิเบตเมื่อ 89,000 ปีก่อนซึ่งในทางธรณีวิทยาถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
นายซู ฮั่น นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ภาควิชาภูมิศาสตร์ กล่าวว่าความสูงที่เปลี่ยนแปลงไปของยอดเขาเอเวอเรสต์สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงบนพื้นโลกอย่างต่อเนื่องและแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันระหว่างการกัดเซาะของแม่น้ำอรุณและการที่แผ่นโลกแมนเทิลยกตัวสูงขึ้นส่งผลให้ยอดเขาเอเวอเรสต์สูงขึ้นนั่นเอง
งานวิจัยของยูซีแอลระบุว่าแม่น้ำอรุณน่าจะมีพลังมากพอที่จะกัดเซาะหินและอื่นๆ หลังจากรวมตัวกับแม่น้ำอีกสายหนึ่งในทิเบต
ภาพประกอบ – Mount Everest, known in Tibetan as Qomolangma, rises behind foothills, as seen from near the Tibetan town of Shegar, April 27, 2008. Loss of landmass in the Arun river basin 75km (47 miles) away is causing the world’s highest peak to rise by up to 2mm a year, University College London (UCL) researchers said. REUTERS/David Gray/File Photo
ส่วน นายฮิวจ์ ซินแคลร์ จากคณะธรณีศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ของสกอตแลนด์ กล่าวว่ากระบวนการขั้นพื้นฐานของคณะนักวิจัยยูซีแอลมีความสมเหตุสมผล แต่การกัดเซาะแม่น้ำซึ่งทำให้พื้นผิวโลกยกตัวและดันให้ยอดเขาสูงขึ้นนั้นยังไม่มีความชัดเจนทั้งด้านปริมาณและช่วงเวลาที่แน่นอน
การคาดเดาปรากฎการณ์ที่แม่น้ำสายหนึ่งรวมตัวกับแม่น้ำอีกสายหนึ่งหรือทะเลสาบเป็นความท้าทายอย่างยิ่งซึ่งผู้เขียนงานวิจัยทราบดี นอกจากนี้ระยะทางที่ภูเขายกตัวจากจุดที่มีการกัดเซาะอย่างมากก็เป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยากมากเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้ที่ยอดเขาเอเวอเรสต์ขยับสูงขึ้นมีความเชื่อมโยงกับแม่น้ำถือว่าเป็นข้อมูลเชิงลึกน่าตื่นเต้นอย่างยิ่ง