โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ เตือนภัย “โรคไต” ภัยเงียบที่อาจเริ่มต้นโดยไม่มีอาการชัดเจน แต่หากละเลยจนเข้าสู่ระยะรุนแรง อาจต้องเผชิญกับภาวะไตวายเรื้อรังและต้องฟอกไตไปตลอดชีวิต โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และผู้ที่รับประทานยาบางชนิดต่อเนื่อง จึงควรเร่งตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันก่อนสายเกินไป
นายแพทย์สกานต์ บุนนาค รองอธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์โรคไตในประเทศไทยน่าเป็นห่วง เพราะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว เป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่กระทบเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก ปัจจัยเสี่ยงหลักคือ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และผู้ที่ใช้ยากลุ่มต้านการอักเสบ (NSAIDs) หรือยาสมุนไพรที่ไม่ผ่านการรับรอง รวมถึงผู้ที่ได้รับเคมีบำบัด ซึ่งล้วนมีผลกระทบต่อการทำงานของไตโดยตรง
ด้านนายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี ย้ำว่า โรคไตสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย และหากไม่ได้รับการตรวจหาสาเหตุและรักษาอย่างเหมาะสม อาจพัฒนาเป็นโรคไตเรื้อรัง พร้อมภาวะแทรกซ้อน เช่น ตัวบวม เท้าบวม เหนื่อยง่าย ปัสสาวะมีฟองหรือมีเลือด การตรวจสุขภาพประจำปีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น
รศ.พญ.วรางคณา พิชัยวงศ์ แพทย์เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลราชวิถี เสริมว่า กลุ่มเสี่ยงหลักที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรอง ได้แก่
สัญญาณเตือนโรคไตที่ไม่ควรมองข้าม เช่น ปัสสาวะมีฟอง มีเลือดปน ปวดหลัง ปวดบั้นเอว ตาบวม เท้าบวม หรือความดันโลหิตสูงผิดปกติ โดยวิธีป้องกันที่สำคัญ คือ การควบคุมระดับน้ำตาลและความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ งดอาหารหมักดอง งดสูบบุหรี่ และเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดหรือสมุนไพรที่ไม่ทราบแหล่งที่มา
โรคไตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
หากเข้าสู่ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต มีแนวทางการรักษา 4 ทาง ได้แก่
การตรวจเลือดดูค่าการทำงานของไต และตรวจปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นหัวใจสำคัญของการป้องกันโรคไต พร้อมแนะให้ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงหมั่นดูแลสุขภาพ และพบแพทย์เฉพาะทางเมื่อพบความผิดปกติ เพื่อไม่ให้โรคพัฒนาไปสู่ระยะที่รักษายากและกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างรุนแรงในระยะยาว