จีนไทยมิใช่อื่นไกล มศว ผนึกพลัง Soft Power สู่อนาคตไปด้วยกัน ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’
GH News July 14, 2025 05:00 AM

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ที่ หอดนตรีและการแสดงอโศกมนตรี 2 ชั้น 4 อาคารนวัตกรรม : ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร  กรุงเทพฯ  ในโอกาสครบรอบ  “ 620 ปี การเดินเรือของเจิ้งเหอและครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน”  ( 620 th Anniversary of Zheng He’s Western Ocean Voyages in Conjunction with the 50th Anniversary of Thailand–China Diplomatic Relations )

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ร่วมกับ 4 ภาคเครือข่ายสำคัญ ได้แก่ สภาวัฒนธรรมไทย-จีน และส่งเสริมความสัมพันธ์ / องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศเจิ้งเหอ / สหพันธ์ศิลปะและมรดกวัฒนธรรมนานาชาติ / คณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทย–จีน ได้จัดสัมมนาประเด็นด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ตามแนวคิด “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiatives: Cultural & Economic Conference)

โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ประธานเปิดงานกล่าวสาระคัญ ความตอนหนึ่งว่า ความสัมพันธ์ไทยกับจีนมีมาช้านาน จีนเป็นประเทศมหาอำนาจโลกของการค้าการเศรษฐกิจ คนจีนคนไทยมิใช่อื่นไกลสืบเชื้อสายได้ถึงกัน

วาระครบรอบ 620 ปีการเดินเรือของเจิ้งเหอและครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน จึงเป็นหนึ่งบทพิสูจน์ถึงความสัมพันธ์แน่นแฟ้นในการรำลึกถึงประวัติศาสตร์แห่งการแลกเปลี่ยนทางทะเลและต่อยอดความร่วมมือระหว่างสองมิตรประเทศในมิติของวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การศึกษาในบริบทร่วมสมัย อีกทั้งตลอดเวลา 50 ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เรายังได้เห็นการพัฒนาและขยายความร่วมมือในหลากหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม แบบเกื้อกูลอย่างชัดเจนกับหลักคิดของ Belt and Road Initiative ในยุคปัจจุบัน

ปัจจุบัน มศว เองก็มีคณะมนุษยศาสตร์ มศว เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนอย่างรอบด้านและสอดรับกับความมุ่งมั่นสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม” ที่ขับเคลื่อนด้วยความรู้ นวัตกรรม วัฒนธรรม ผมเชื่อมั่นว่าการมีส่วนร่วมในงานเสวนาด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจการค้าภายใต้แนวคิด “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” นี้จะยังประโยชน์และโอกาสสำคัญในการส่งเสริม Soft Power ไทย–จีน ผ่านกิจกรรมทางวิชาการ ศิลปวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนระดับประชาชน ซึ่งเป็นรากฐานของความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่างๆ และเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือใหม่ๆ”

นอกจากนี้ยังมีบุคคลสำคัญร่วมเสวนาหัวข้อน่าสนใจต่างๆ ได้แก่  นายซุน จื้อกั๋ว เลขาธิการองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศเจิ้งเหอ คุณซ่ง จั๋วเว่ย ประธานสหพันธ์มรดกวัฒนธรรมนานาชาติ นายหาน อภิปรายหัวข้อ “คุณค่าและอิทธิพลของการเดินเรือของเจิ้งเหอต่อการเผยแพรมรดกทางวัฒนธรรมของโลก” นายเซิ่งเป่า นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านเจิ้งเหอ ผู้เคยเดินทางตามรอยเส้นทางเจิ้งเหอถึง 4 ครั้งและเป็นผู้เขียนหนังสือ “เจิ้งเหอล่องทะเลสู่ตะวันตก” ที่ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง  ร่วมเสวนาหัวข้อ “ภูมิปัญญาแห่งชีวิตของเจิ้งเหอ” นายหวง ต๋า รองประธานถาวรของสมาคมอุตสาหกรรมและพาณิชย์อาเซียน–จีน และได้รับการขนานนามว่าเป็น “บิดาแห่งวงการการเงินสิงคโปร์”  ร่วมให้ความรู้เรื่อง “เส้นทางพาณิชย์ทางทะเลของเจิ้งเหอ”

ไม่เพียงเท่านั้น นายเมา คุน ผู้นำศาสนาแห่งมัสยิดใหญ่เมืองซีอาน ผู้ดูแลอนุสรณ์เจิ้งเหอ  ร่วมพูดคุยเรื่อง “การอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนของศาสนาต่างๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากการเดินเรือของเจิ้งเหอ” ศาสตราจารย์จาง หยุน จากวิทยาลัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยจี้หนาน นายฟาง เจิ้นหลง ประธานบริหารสภาหอการค้าชาวจีนโลก นายฟาง กวงหมิง ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมชาวจีนโพ้นทะเล เมืองไถซาน ดร.อลัน หลิน ประธานกิตติมศักดิ์ หอการค้าไทย–สิงคโปร์

“ครบรอบ 620 ปีการเดินเรือของเจิ้งเหอสู่ตะวันตก และ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย–จีน” ว่าด้วยวัฒนธรรมและเศรษฐกิจการค้าภายใต้แนวคิด “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ก่อให้เกิดคุณค่าแก่สังคมและสถาบันการศึกษาในฐานะภาคีที่จะร่วมขับเคลื่อนร่วมรำลึกถึงความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ทางประวัติศาสตร์ของเจิ้งเหอที่ส่งผลต่อความเจริญทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจระหว่างประเทศในโลกปัจจุบันซึ่งเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมให้วัฒนธรรมไทยและจีนในมิติต่างๆ คือ Soft Power ที่มีคุณค่าแก่มวลมนุษยชาติอย่างมั่งคั่งและยั่งยืน

   

© Copyright @2025 LIDEA. All Rights Reserved.