ภาคเอกชน วอนรัฐรับมือสงครามการค้า หวังอัตราต่ำกว่าเวียดนาม ชี้หากถูกเก็บ 36% สูงเกินไป พร้อมลดภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เหลือ 0% ในบางอุตสาหกรรม แต่ไม่จำเป็นต้องเปิดหมดหน้าตักแบบเวียดนามที่ลดเหลือ 0% ทุกรายการ วอนชะลอปรับขึ้นค่าแรง ห่วงวิกฤตแรงงานซ้ำเติม
วันที่ 14 ก.ค.68 นายธนากร เกษตรสุวรรณ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก กล่าวในงานเสวนาหัวข้อ "The Art of The (Re) Deal" ว่า จากที่ได้ทำธุรกิจกับสหรัฐฯ นั้น เห็นว่าความคิดของสหรัฐฯ คือ สหรัฐฯ ดูประเทศไทยมานานแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาสหรัฐฯ เป็นเหมือน Big sugar daddy มานาน จนทำให้เขาสูญเสียความสามารถในการแข่งขันไปเยอะมาก ซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์เชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ จึงทำให้เริ่มมีแนวคิดในการใช้มาตรการภาษีกับประเทศคู่ค้า โดยหวังว่าทุกประเทศจะรับฟัง ดังนั้น ถ้าไทยสามารถยืนยันเจตนากับสหรัฐฯ ได้ชัดเจนว่าจะไม่ใช่การเจรจาที่มี favor เหนือสหรัฐฯ ก็เชื่อว่าสหรัฐฯ ยังต้องการจะดีลกับไทยต่อ
"ต้องทำให้เขารู้ว่า เราตั้งหลักที่จะไม่ให้ประเทศใดประเทศหนึ่ง มี favor เหนือสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด ถ้าเขามองออกว่า เรามีเจตนาจะไปในทางนั้น หมายถึงเป็น ego treatment ซึ่งฟีลลิ่งนี้ ถ้าเราทำได้ จะทำให้สหรัฐฯ อยากจะดีลกับเราต่อ" นายธนากร กล่าว
นอกจากนี้การที่สหรัฐฯ ต้องการจะให้เกิดความเป็นธรรมทางการค้านั้น เราจำเป็นต้องกำหนดจุดยืนว่า การดีล 2 tier คือ ภาษี 20% และ 40% ที่เวียดนามบรรลุข้อตกลงไปแล้วนั้น เราจะเลือกแนวไหน เป็นไปได้หรือไม่ว่าเราต้องดีลกับสหรัฐฯ ให้ชัดเจนว่าเราไม่ prefer เรื่องการสวมสิทธิส่งออกสินค้า
"คล้ายๆดีลเดียว แต่เหมือนกับที่เวียดนามโดนนั้น ความเหมาะสมคืออะไรที่เราควรจะโดน เรามีวิธีการจัดเวลาตรงนี้ ให้มันค่อย ๆ หายไปไหม ถ้าเรายอมตรงนี้มากกว่า จะเหมาะสมไหมกับที่ให้เขาไปช่วยลดภาษีของเราให้ดีกว่าเวียดนามที่โดน 20% ถ้าเกิดเราได้น้อยกว่าเวียดนามเพียง 2% ก็มีความหมายมาก การคุยเรื่องนี้ ถ้าจูนเวลาในการปรับเรื่อง local content แสดง intention ว่าเราต้องการดีลกับสหรัฐฯ จริงๆ และต้องการ ego treatment ระหว่างประเทศที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกมันแฟร์ ถ้าเขารู้สัญญาณที่ชัดเจนนี้จากไทย เขาก็จะเดินเกมต่อ ถ้าทำตรงนี้ได้ เราดีลอัตราภาษีตรง 20% 40% ว่าแฟร์อยู่ตรงไหน เขารู้สึกว่ารับได้ การดีลจะเกิดขึ้นต่อ" ประธาน สรท.กล่าว
ทั้งนี้สหรัฐฯ มีธงอยู่แล้วว่าจะเอาคืนกับประเทศในอาเซียน ที่ได้ดุลการค้าจากสหรัฐฯ มาโดยตลอด สหรัฐฯ ต้องการจะเรียกสิ่งที่เคยสูญเสียไปกลับคืนมา ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการที่สหรัฐฯ ประกาศใช้แนวทางภาษี Reciprocal tariff เพื่อเข้าสู่ Fair trade
"สหรัฐฯต้องการบอกโลกว่า สิ่งที่เคยให้มาในอดีต ขอคืน ดังนั้นเราต้องแสดงความตั้งใจว่า ไทยกับวหรัฐฯจะเป็นพาร์ทเนอร์ที่เป็น fair treatment ถ้า message นี้ไปได้ชัด ผมว่าเขาอยากจะคุย และเข้ามาดีลกับเราจนกระทั่งจบ ซึ่งเรามีเรื่องที่ชัดเจนคือ เราได้ดุลการค้าสหรัฐน้อยกว่าเวียดนามได้ดุลจากสหรัฐ นี่เป็นจุดสำคัญ ถ้าเราสามารถบอกให้สหรัฐ รู้ว่าทำไมเราถึงควรโดนภาษีน้อยกว่าเวียดนาม ที่ 20% และ 40% เพราะเราทำความเสียหายให้กับสหรัฐฯ น้อยกว่าที่เวียดนามทำ และทำอะไรก็ได้ให้สหรัฐฯ รู้สึกแฟร์กับเราในฐานะที่เป็น partner" นายธนากรกล่าว
#ภาษีทรัมป์ #ผลกระทบจากภาษี #อุตสาหกรรมไทย #ส่งออก #สรท #ภาครัฐ #มาตรการภาษี #ภาษีสหรัฐ #การเจรจาการค้า #เศรษฐกิจไทย