แชร์เคสหายาก เด็ก 8 ขวบ ปวดกราม ปวดหลัง เดินแข็งเกร็ง 4 วัน ตรวจดูพบเป็น บาดทะยัก
ข่าวสด July 15, 2025 09:45 AM

แชร์เคสหายาก เด็ก 8 ขวบ ปวดกราม กลืนน้ำลายไม่ได้ ปวดหลัง เดินแข็งเกร็ง 4 วัน ตรวจดูพบเป็น บาดทะยัก ซักประวัติพบฉีดวัคซีนไม่ครบ แนะฉีดตามเกณฑ์

ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Sulkiflee Saei โพสต์เคสคนป่วยที่เจอ ความว่า วันนี้ผมขอนำเสนอ แรร์เคสในพื้นที่อื่นแต่เจอได้ที่วอร์ดเด็ก โรงพยาบาลปัตตานี ซึ่งตอนนั้นผมกับเพื่อนอีกคนหนึ่งเข้าเวรวอร์ดเด็ก ก็ได้ดูว่าตอนนั้นมีรับใหม่หรือไม่ในเวร

ณ เวลานั้น ก็พบว่าไม่มีเคสรับใหม่ แต่มีเคสหนึ่งที่น่าสนใจมากจนพี่พยาบาลทักว่า “น้องหมอมีเคส (บาดทะยัก)” ผมกับเพื่อนเลยไปซักประวัติพบว่าเป็นเคสเด็กชายอายุ 8 ปี มาด้วยอาการปวดกราม ร่วมกับมีกลืนน้ำลายไม่ได้ อ้าปากไม่ได้ ปวดหลัง มีหลังแข็งเป็นบางช่วง เดินแข็งเกร็ง ประมาณ 4 วันก่อนมาโรงพยาบาล

ตรวจร่างกายพบว่า vital signs stable, alert, no dyspnea, limit open mouse, stiffneck ; positive, clonus ; positive และได้ตรวจ spatula test พบว่า positive ซึ่งเป็นการตรวจที่มี sentivity (94%) และ specificity (100%) สูง อาจารย์แพทย์ที่มาราวน์จึงนึกถึงโรคบาดทะยัก (tetanus)

ซึ่งในคนที่เป็นบาดทะยัก (Tetanus) เกิดจากการติดเชื้อ Clostridium tetani ที่ปนเปื้อนผ่านเข้ามาทางบาดแผลที่สกปรก หรือถ้าไม่มีแผลตามตัวก็ให้ลองเปิดปากคนไข้อาจจะมีฟันผุ โดยจะมีอาการแข็งเกร็งเริ่มจากกล้ามเนื้อที่มี axon สั้นก่อน คือ เริ่มต้นจากบริเวณใบหน้า

จากนั้นกระจายตัวไปที่กล้ามเนื้อคอ ลำตัว และแขนขา ซึ่งถ้ามีการแข็งเกร็งที่ขากรรไกรทำให้ขากรรไกรแข็ง (lock jaw) จากนั้นมีการแข็งเกร็ง (rigidity) ตามมาด้วยการอ้าปากได้น้อย (trismus) จากนั้นจะเกิดการเกร็งตังของกล้ามเนื้อหลัง ทำให้หลังแอ่น (opisthotonus) ทั้งนี้ผู้ป่วยยังรู้สึกตัวดี

การรักษาที่สำคัญนั้น คือ การให้ Human tetanus immunoglobulin (HTIG) ร่วมกับให้ antibiotic อาจจะพิจารณาให้ penicillin หรือ metronidazole เป็นเวลา 7-10 วัน รวมไปถึงการให้ sedative กลุ่ม benzodiazepine (e.g. diazepam) เพื่อควบคุม spasm และ hypersymphathic activity และให้ baclofen เพื่อควบคุมการแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อ

ซึ่งในเคสนี้ประวัติที่สำคัญเลยคือ ฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์เด็กไทย (Incomplete vaccine) ฉีดล่าสุดตอนแรกเกิด ซึ่งวัคซีนป้องกันบาดทะยักเด็กไทยควรได้รับตอนอายุ 2,4,6 เดือน 18 เดือน (กระตุ้นเข็มที่ 1) 4-6 ปี (กระตุ้นเข็มที่ 2 ) และกระตุ้นทุกๆ 10 ปี

สุดท้ายนี้ผมจึงอยากชวนเชิญผู้ปกครองให้ลูกหลานไปฉีดวัคซีนตามเกณฑ์เด็กไทยให้ครบตามช่วงอายุ เพื่อป้องกันโรคภัยที่เป็นอันตรายถึงขั้นพิการและเสียชีวิต

หากมีข้อมูลที่ผิดพลาดประการใด สามารถแจ้งได้ผมได้เลยครับ

© Copyright @2025 LIDEA. All Rights Reserved.