“พายุวิภา” พายุโซนร้อนลูกที่ 6 ปี 2568 ถูกตั้งชื่อโดยไทย! หมายถึงอะไร ทำไมถูกใช้ซ้ำหลายครั้ง?
รู้หรือไม่? พายุโซนร้อน “วิภา” (Wipha) ที่กำลังส่งผลให้หลายจังหวัดในไทยเกิดฝนตกหนัก แม้ไม่ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศโดยตรง กลับสร้างความกังวลจาก “น้ำท่วมซ้ำ” โดยเฉพาะในชุมชนลุ่มต่ำและพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย
สิ่งที่หลายคนอาจยังไม่รู้คือ ชื่อ “วิภา” ที่ใช้เรียกพายุลูกนี้ เป็นชื่อที่ประเทศไทยเป็นผู้เสนอ ผ่านคณะกรรมการไต้ฝุ่น ESCAP/WMO Typhoon Committee ซึ่งประกอบด้วย 14 ประเทศสมาชิก
ปี 2001 – พายุระดับไต้ฝุ่น ไม่ขึ้นฝั่ง
ปี 2007 – ซูเปอร์ไต้ฝุ่นถล่มจีน ต้องอพยพประชาชนหลายล้าน
ปี 2013 – ไต้ฝุ่นรุนแรง ฝนถล่มญี่ปุ่น เกิดดินถล่มในเกาะอิซุ
ปี 2019 – พายุโซนร้อน ส่งผลน้ำท่วมในเวียดนามและจีน
ตามหลักการของคณะกรรมการไต้ฝุ่น หากชื่อพายุลูกใด ก่อความเสียหายร้ายแรง จะถูก “ถอดออก” และให้ประเทศเจ้าของเสนอชื่อใหม่มาแทน
แต่กรณี “วิภา” แม้สร้างผลกระทบบ้างในบางปี ยังไม่เข้าข่ายเลิกใช้ชื่อ
ระบบตั้งชื่อพายุเขตร้อนทั่วโลก จะใช้ รายชื่อที่แต่ละประเทศสมาชิกเสนอไว้ล่วงหน้า (ประเทศละ 10 ชื่อ)
โดยต้องเป็นชื่อที่ ออกเสียงง่าย สุภาพ และไม่มีความหมายด้านลบ
ชื่อจะถูกนำมาใช้หมุนเวียนตามลำดับการเกิดพายุแต่ละลูกในรอบปี
Facebook / กรมอุตุนิยมวิทยาเส้นทางพายุเข้า
แม้ “พายุวิภา 2568” จะไม่พัดเข้าสู่ไทยโดยตรง แต่กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนว่า จะทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมาก ในหลายพื้นที่
นักวิชาการด้านภัยพิบัติระบุว่า พื้นที่เสี่ยงอย่างชุมชนลุ่มต่ำหรือที่เคยเกิดน้ำท่วมมาก่อน อาจเผชิญกับสถานการณ์ “น้ำท่วมซ้ำ” ได้อีกครั้งจากปริมาณฝนที่สะสมมากเกินไป
ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย เฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะช่วงวันที่มีประกาศฝนตกหนักต่อเนื่อง ติดตามประกาศเตือนภัยจากกรมอุตุนิยมวิทยา และเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติอย่างมีสติ