สคร.9 เตือน กินหมูดิบเสี่ยงไข้หูดับ เขตนครชัยบุรินทร์ ดับแล้ว 22 ศพ ป่วยพุ่ง 197 ราย
เมื่อวันที่ 6 มกราคม นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา เผยว่า ในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองต้อนรับปีใหม่ ประชาชนนิยมกินหมูดิบ ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคไข้หูดับเพิ่มมากขึ้น พร้อมเตือนเมนูอื่นๆ ก็เสี่ยงตายไม่แพ้กัน เช่น ลาบเลือดดิบ ก้อยดิบ แหนมหมูดิบ นอกจากคนกินหมูดิบจะเสี่ยงติดเชื้อแล้ว โรคนี้ยังมีความเสี่ยงไปถึงพ่อครัว แม่ครัว ผู้ปรุงอาหารที่มีบาดแผลแล้วไปสัมผัสเนื้อหมูหรือเลือดหมูดิบๆ ที่มีเชื้อ ทำให้ติดเชื้อโรคไข้หูดับได้
ดังนั้น ขอย้ำเตือนประชาชน อย่ากินหมูดิบ รวมถึงไม่ใช้วิธีบีบมะนาวเพื่อให้หมูสุก อาหารปิ้งย่างควรใช้อุปกรณ์คีบเนื้อหมูสุกและเนื้อหมูดิบแยกจากกัน ไม่ควรใช้ตะเกียบคีบหมูดิบ แล้วนำมารับประทาน เพราะหากติดเชื้อโรคไข้หูดับแล้วอาจทำให้สูญเสียการได้ยิน หรือที่เรียกว่าหูดับ จนถึงขั้นหูหนวกถาวร และในรายที่รุนแรงอาจเสียชีวิตได้ โรคไข้หูดับเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) โดยเชื้อนี้จะอยู่ในทางเดินหายใจของหมู และเลือดของหมูที่กำลังป่วย สามารถติดต่อได้ 2 ทาง คือ 1.เกิดจากการบริโภคเนื้อและเลือดหมูที่ปรุงแบบดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ 2.การสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อทั้งเนื้อหมู เครื่องใน และเลือดหมูที่เป็นโรค โดยเชื้อจะเข้าทางบาดแผล รอยขีดข่วนตามร่างกายหรือทางเยื่อบุตา หรือการสัมผัสเลือดของหมูที่กำลังป่วย ซึ่งหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 1-14 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้ อาเจียน คอแข็ง สูญเสียการได้ยิน ในรายที่เป็นรุนแรงอาจเสียชีวิตได้
สถานการณ์โรคไข้หูดับ ในเขตสุขภาพที่ 9 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 2 มกราคม 2568 พบผู้ป่วยโรคไข้หูดับจำนวน 197 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 22 ราย แยกเป็นรายจังหวัด ดังนี้ 1) จังหวัดนครราชสีมา มีผู้ป่วย 120 ราย เสียชีวิต 10 ราย 2) จังหวัดชัยภูมิ มีผู้ป่วย 37 ราย เสียชีวิต 7 ราย 3) จังหวัดสุรินทร์ มีผู้ป่วย 24 ราย เสียชีวิต 3 ราย 4) จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้ป่วย 16 ราย เสียชีวิต 2 ราย กลุ่มอายุที่ป่วยสูงสุดคือ กลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 55-64 ปี และกลุ่มอายุ 45-54 ปี ตามลำดับ
ในการป้องกันโรคไข้หูดับ ขอให้ประชาชนปฏิบัติตน ดังนี้