ตอนนี้มีอาชีพเป็นคนแก่
คือคำกล่าวระคนเสียงหัวเราะของ ขรรค์ชัย บุนปาน หัวเรือใหญ่ค่าย มติชน ซึ่งในวันนี้ดำรงตำแหน่ง ประธาน บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) เป็นขวบปีแรกของชีวิตเมื่อ พ.ศ.2567 โดยมี ปานบัว บุนปาน
นั่งเก้าอี้ประธานกรรมการ และ ปราปต์ บุนปาน รั้งตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ หรือ เอ็มดี
ทว่า ไม่เพียงเดินทางจากบ้านริมคลองมอญ ฝั่งธนบุรี อันร่มรื่น มาทำงานที่ตึกมติชนเป็นประจำทุกวันทำการ หากแต่ยังคงตั้งมั่นส่ง ต้นฉบับ วรรณกรรมร้อยกรอง ตรงเป๊ะตามเวลา ถึงขนาดบึ่งรถกลับจากโคราชในช่วงค่ำ หลังงานสุดยิ่งใหญ่อย่าง Isan Next ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และเครือมติชน เมื่อวันที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา เพื่อร่ายกลอนอวยพรปีใหม่ 3 ชิ้น สำหรับตีพิมพ์บนสื่อในเครือรับปีมะเส็ง 2568
มันจะไม่ทัน! (หัวเราะ) กินข้าวสำรับโคราชเสร็จในงานก็นั่งรถกลับเลย เพราะรู้ตัวว่าเดี๋ยวทำต้นฉบับไม่ทัน
ย้ำชัดจิตวิญญาณคอลัมนิสต์เก่าที่มีนามปากกาหลักสิบ ในยุคแรกก่อร่างสร้างองค์กรสื่อที่ต่อมากลายเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์สิ่งพิมพ์ไทยอย่าง มติชน ก่อนออกดอกผลเป็นผลิตภัณฑ์ในเครืออีกมากมาย
9 มกราคม คือวันคล้ายวันเกิดสู่ปีที่ 48 ของ หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ที่ขรรค์ชัยยังอ่านทุกวัน เช่นเดียวกับฉบับอื่นๆ ทั้งในและนอกเครือที่ยังมีลมหายใจอยู่ใน หน้ากระดาษ ที่ยอมรับเป็นเอกฉันท์มาหลายปีถึงสถานการณ์ในยุคที่ประธานเครือมติชนใช้คำว่า สื่อกระดาษมันเรียวลง
อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์กระดาษในเครือมติชนยังอยู่ครบถ้วน ทุกฉบับ ควบคู่ไปกับเวอร์ชั่นออนไลน์ที่ทะลุทะลวงไปถึงผู้อ่านแบบฉับไวยิ่งกว่าฟ้าแลบ (แปล๊บเดียว) อันเป็นชื่อหนังสือรวมบทกวีของนักกลอนหนุ่มระหว่างปี 2507-2512 ที่วันนี้คือประธานเครือมติชน
ปีนี้ผ่านไปไว แป๊บเดียวหมดปี ขรรค์ชัยเปรย
ดูแลเป็นปกติอยู่แล้ว พบหมอปกติเป็นธรรมดา เจอกี่หมอ ขี้เกียจจำ แต่กินยาเกือบ 20 เม็ด วันละ 4 ชุด หลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน
ตอบอย่างเปิดเผยทุกเม็ด ขณะที่รายการ ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องท่องเที่ยว ก้าวย่างอย่างมั่นคงสู่เลขสวย
ปีที่ 9
ขรรค์ชัย ตอบไม่ได้ว่าชอบตอนไหนมากที่สุด เพราะประทับใจทุกตอน
ชอบไปต่างจังหวัดอยู่แล้ว ไปไหนก็ได้ แล้วแต่พี่จิตต์เขา
(สุจิตต์ วงษ์เทศ)
จากนั้น ยังสนทนาต่อไปด้วยท่าทีสบายๆ ในอีกปีของชีวิต และอีกก้าวของมติชนบนเส้นทางสื่อหลักที่ยังก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้งในหลากแพลตฟอร์ม
ภาพรวมดี มันเหมือนเปิดประตูให้กับอีสาน คนที่ไปคือฝ่ายรัฐบาลมันก็เหมือนให้สัญญาประชาคมว่า ต้องทำ ไม่ทำเจ็บนะ เพราะไปสัญญาแล้ว คนเขาจำได้แม่น
ถามอะไร! (หัวเราะ) ก็คิดถึงส่วนรวม เราจัดงานขึ้นมาเพราะความเหลื่อมล้ำมันยังสูง อย่างระบบการศึกษา ระบบการรักษายามเจ็บป่วย ความเสมอภาคมันเหลื่อมล้ำกัน พอได้พบ ได้เห็น ได้เป็นผู้ช่วยในบางสิ่ง
บางอย่าง ก็รู้สึกว่า อาชีพอย่างพวกเรา ควรจะดีใจว่า ได้มีส่วนช่วยให้สังคมมันดีขึ้นในแต่ละด้าน ไม่อย่างนั้นความเหลื่อมล้ำทุกอย่างจะปรากฏ
ต้องอยู่กับความจริง เพราะความเปลี่ยนแปลงมันมาเร็ว น้ำพัดมันมีโคลนมาด้วย มันมีฝนมา มันมีตกเฉพาะที่ด้วย มันพัฒนาไปมากขึ้น พัฒนาไปทางหายนะ นึกออกไหม
ต่อจากนี้ต้องมีคนอยู่ประจำที่ต้องเชี่ยวชาญ ต้องประกาศให้คนระแวง หมู่บ้านประมาทไม่ได้แล้ว กรมอุตุฯกรมเดียวอยู่ไม่ได้แล้ว ต้องยกเป็นกองทัพเพื่อทำงานหนักมากขึ้น ต้องพร้อมตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าภัยมาแล้วรัฐถึงจะแต่งตัว ไม่ได้ คุณต้องแต่งตัวคอยสถานการณ์ทุกอย่างแม้กระทั่งโรคภัยไข้เจ็บ ความยากจน การศึกษา ต้องพร้อมตลอดเวลา สมมุติจะทำให้แข็งแรง ต้องแข็งแรงจริงๆ ไม่ใช่ป่วยกระเสาะกระแสะ ติดยาบ้างอะไรบ้าง
ก็ต้องทำสิ ไม่ทำก็ตาย เอกชนรอไม่ได้ มันก็ทำด้วยอาชีพอยู่แล้ว
ต่อไปจะทำให้มากกว่านี้ ถ้ายังมีโอกาส (ยิ้ม)
ความเปลี่ยนแปลงมันมีอยู่แล้ว อาจจะถูกบั่นเซาะไปบ้าง แต่เดี๋ยววันหนึ่งอาจจะคืนกลับมาก็ได้ การที่คนจะไม่แตะต้องเลย ยาก ยังไงก็มีคนอ่าน ยังชอบการ์ตูน ชอบเรื่องสั้น ชอบงานแบบนี้ ที่สำคัญคือมติชนยังเปิดพื้นที่ให้ และคิดว่าโลกยุคนี้วรรณกรรมยังมีความจำเป็น
ฟังแล้วหายใจโล่ง เพราะว่าหายใจสะดวก (หัวเราะ) ไม่หรอก ความเหมาะสมก็อยู่ที่เขา เขามีความอัจฉริยะ เขียนดีจริง สอดรับความต้องการสำหรับคนทั่วไป ตอบสนองต่อคนส่วนใหญ่
จำไม่ได้ มันน่าเอ็นดู ตอนนั้นคิดจะทำอะไรใหม่ๆ อย่างตำราเรียน เครื่องเขียน สมุด ปากกา ออกมาขาย อยากให้หนูจุกเป็นเทรดมาร์ก แต่น่าจะต้องคิดเยอะ เจ๊งอยู่แล้ว สุดท้ายไม่ได้ทำ เลยมามุ่งทำหนังสือพิมพ์ มันทำได้อย่างเดียวในตอนนั้น โลโก้หนูจุกมาตั้งแต่ยุคประชาชาติแรกเริ่มเลย
ไม่อ่านแล้วจะให้อ่านอะไรเล่า (ยิ้ม)
ไม่ใช่ มันไม่ใช่ความเป็นมติชนหรอก เรียกว่า มันเป็นธรรมชาติ มนุษย์ทั่วไปดีกว่า เพราะคนต้องอ่านหนังสือ ต้องดูอะไรใหม่ๆ ที่เข้ามา เอไอ (ปัญญาประดิษฐ์) เริ่มเข้ามา มันก็ประกอบกันไป
แต่ทั้งหมดนี้มันทำให้โลกพัฒนาเยอะขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรม หรือเอไอ
ไม่กลัว ยังไม่เคยเห็นมันเลย (หัวเราะ) มันเป็นธรรมชาติของความเปลี่ยนแปลง คือ ยังไงโลกมันก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลง อนิจจังไม่เที่ยง ต่อไปเดี๋ยวก็มีอย่างอื่น อย่างอาวุธที่กดปุ่มกันทำสงคราม ไม่มีใคร
กลัวใคร
ปิดโทรศัพท์ตลอด ก็เลยไม่มีใครโทรหา (หัวเราะ) ไม่ใช่หรอก เอาจริงแล้วก็มี แต่ไม่ได้สนใจ นี่ขนาดเปิดมือถือเฉพาะตอนจะโทรออกนะ ยังโทรมาได้
โลกมนุษย์เรา ปัจจุบันคนเห็นแก่ตัวมากขึ้น เห็นแก่ได้มากขึ้น ก็จะเอาแต่ประโยชน์ส่วนตัวรอดหมด คนอื่นช่างมัน ไม่ได้มองถึงส่วนรวม อยากให้มองถึงส่วนรวมมากๆ อยากแก้ก็ต้องแก้ที่การศึกษา
ต้องกลับมาเป็นตัวของตัวเอง มันขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดี ฝึกให้เด็กคิดมากขึ้น ให้อยู่ได้มั่นคงแข็งแรงจึงได้เปรียบ ตอนนี้ที่บอบช้ำเพราะไม่แข็งแรง
ก็ปล่อยให้คนรุ่นใหม่เขาทำ เรามันเกินวัยแล้ว แต่ก็มาทำงานทุกวัน ยังเขียนต้นฉบับเยอะอยู่เลย ตะคริวกิน (หัวเราะ)
ไม่เลย โตขนาดนี้แล้ว ก็คุยทั่วไปธรรมดา ไม่ได้บอกว่าจะ ต้องทำอย่างนั้น อย่างนี้ ถามว่ากินข้าวหรือยัง ทั่วไป แต่ในแง่การบริหารก็ปล่อย
ก็แล้วแต่คนรุ่นใหม่ แต่ต่อไปในเครือจะมีการทำงานร่วมกัน ยิ่งกว่าเดิม
ส่วนงานต่างๆ ต้องก็ร่วมมือกัน พูดคุยกันให้มาก (ยิ้ม)