เวทีประชุมวิชาการสุรา ครั้งที่ 13 ปรับเพิ่มมาตรการควบคุม โฆษณา - ขายผ่านออนไลน์
ข่าวสด January 10, 2025 08:41 PM

การประชุมวิชาการสุราระดับชาติ ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2567 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ภายใต้หัวข้อ

พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่ : ก้าวข้ามจุดบกพร่อง มุ่งสู่เป้าหมายที่ยั่งยืน” โดยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี เพื่อนำเสนอและสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ

พร้อมสกัดทิศทางนโยบายการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยสะท้อนสู่ภาครัฐ

นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 2 และประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 1 สสส. กล่าวว่า การขับเคลื่อนประเด็นสุรา กับเรื่องสุขภาวะของคนไทย ก้าวมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เพื่อให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งจะสะท้อนถึงความหลากหลายของความคิดเห็นในสังคม ทั้งการปรับเพิ่มกฎหมายให้เข้มงวดขึ้นเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน และการผ่อนปรนกฎหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมต่อประชาชนส่วนใหญ่ การให้ความสำคัญกับสุขภาพของประชาชนจึงควรเป็นเป้าหมายหลักของนโยบายสาธารณะ เมื่อประชาชนมีสุขภาพที่ดี เศรษฐกิจก็จะเติบโตตามมาเองในระยะยาว

มีหลายประเด็นที่ต้องแสดงข้อห่วงใย โดยเฉพาะเรื่องการขยายเวลาจำหน่าย และการควบคุมการโฆษณาออนไลน์ รวมทั้งการหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อนในการกำหนดนโยบายเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ทุกการตัดสินใจมาจากหลักการและเหตุผลที่ถูกต้อง หรือแม้แต่การมีตัวแทนจากอุตสาหกรรมสุราเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เป็นเรื่องที่ขัดต่อหลักการผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะเป็นการให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงเข้ามาตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรม” นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวสถานการณ์การดื่มแอลกอฮอล์ในระดับโลก และการตลาดน้ำเมา

ศ.ดร.พญ.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย ผู้อำนวยการ ศวส. กล่าวว่า สถานการณ์ภาพรวมทั้งโลก ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมาก แต่ลักษณะการดื่มจะต่างกันออกไปในแต่ละภูมิภาค อย่างประเทศในแถบยุโรป หรือกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง ปริมาณการดื่มต่อหัวประชากรไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก แต่กลายเป็นว่า กลุ่มประเทศที่มีระดับรายได้ปานกลางจนถึงรายได้ต่ำ กลับมีแนวโน้มอัตราการดื่มเพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศไทย ที่อยู่ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นตลาดการค้าใหม่ของอุตสาหกรรมและธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเป็นตลาดที่กำลังเติบโต เนื่องจากปริมาณการดื่มต่อหัวประชากรของเรายังน้อยอยู่ เมื่อเทียบกับประเทศที่มีรายได้สูงที่เป็นตลาดอิ่มตัวแล้ว

สถานการณ์การดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยถ้านับเป็นอัตราต่อหัวแล้วไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก แต่มีแนวโน้มว่าคนจะ

เริ่มดื่มเร็วขึ้น ทำให้นักดื่มหน้าใหม่อายุน้อยลง และมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการตลาดใหม่ของอุตสาหกรรมแอลกอฮอล์” ศ.ดร.พญ.สาวิตรี กล่าว ผู้อำนวยการ ศวส. กล่าวถึงความกังวลต่อการดื่มแอลกอฮอล์ในยุคปัจจุบันว่า ในยุคที่มีโซเชียลมีเดียทั่วทุกมุม ทำให้การเข้าถึงการบริโภคแอลกอฮอล์ทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะตลาดออนไลน์ที่มีเทคโนโลยีอันทันสมัย เมื่อปล่อยการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาแล้วนอกจากทำให้คนเข้าถึงง่ายแล้วร่องรอยยังหายไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองควบคุมได้ยาก ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายการตลาดที่สำคัญ เรื่องนี้จึงเป็นสิ่งที่เรากังวลที่สุด

หากเป็นการตลาดออนไลน์เราควบคุมไม่ได้เลยว่าจะมีการซื้อขาย จัดส่งเมื่อไร ยิ่งไปกว่านั้น คือ การควบคุมไม่ให้เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าถึงการซื้อขาย ผู้ที่มีภาวะมึนเมาจนครองสติไม่ได้ ก็จะทำได้ยากขึ้น” ศ.ดร.พญ.สาวิตรี กล่าว การสร้างความสมดุลนโยบายน้ำเมาระหว่างเศรษฐกิจกับสุขภาพ

ศ.ดร.พญ.สาวิตรี กล่าวว่า ข้อมูลทางฝ่ายวิชาการ ไปจนถึงภาคประชาสังคม ที่พยายามควบคุมปัญหาการดื่ม

แอลกอฮอล์ยังกังวลถึงเรื่องการสร้างค่านิยมใหม่ หรือการผลักดันสุราชุมชนให้เป็นซอฟต์ พาวเวอร์ (Soft Power) ของประเทศ ซึ่งเรื่องนี้จะต้องหาจุดสมดุลระหว่างการพัฒนากระบวนการผลิตสุราพื้นบ้านให้มีมาตรฐาน กับการควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อคนในประเทศ เพราะหากสนับสนุนผู้ผลิตโดยที่ไม่มีการควบคุมทั้งคุณภาพและปริมาณ ก็จะเกิดปัญหาตามมา เกิดปัญหาการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ง่ายยิ่งขึ้น ปัญหาจากการดื่มก็ต้องตามมาแน่นอน “Soft Power ของประเทศไทยมีอยู่หลายอย่างมาก แต่การสนับสนุนทำให้เกิดสังคมที่มึนเมา หรือเป็นพิษต่อสังคมมักจะไม่ยั่งยืน” ศ.ดร.พญ.สาวิตรี กล่าว รื้อกฎหมายเก่าล้าหลัง สู่การควบคุมอย่างยั่งยืน

นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า การประชุมวิชาการสุราระดับชาติครั้งนี้ นับเป็นการขับเคลื่อนครั้งยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะร่าง พ.ร.บ.ฯ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฉบับที่… (พ.ศ. …) ที่ตนเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ฯ แล้วเสร็จไปกว่าร้อยละ 80 เชื่อว่ากฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนเช่นนี้ ทางสภาผู้แทนราษฎรจะนำเข้าสู่การพิจารณาเป็นวาระต้นๆ

ยืนยันว่า กฎหมายใหม่นี้จะดีกว่าฉบับเดิมอย่างแน่นอน

เนื่องจากมีการรื้อกฎหมายเก่าที่มีความล้าหลัง เช่น ยกเลิกคำสั่งคณะปฏิวัติ ยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่กฎหมายใดที่เหมาะสมก็ยังมีการเอามาใช้ในกฎหมายฉบับใหม่นี้ด้วย” นายวิสาร กล่าวอย่างไรก็ตาม ร่าง พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฉบับที่… (พ.ศ. …) ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้รับหลักการของกฎหมายไปเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2566 อยู่ระหว่างการขัดเกลาเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และปิดจุดบกพร่อง ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมสภาฯ สมัยเปิดวาระการประชุมในวันที่ 11 ธันวาคม นี้ โดยร่าง พ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญ 2 ประการ คือ 1. การให้อำนาจแก่ท้องถิ่น ในการกำหนดนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ภายใต้รูปแบบคณะกรรมการ ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นรองประธาน และมีตัวแทนจากสภาเด็กและเยาวชนเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย และ 2. การพิจารณาเพิ่มโทษปรับผู้ที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่เด็กที่อายุต่ำกว่า 20 ปี รวมถึงผู้ที่อยู่ในภาวะมึนเมาจนครองสติไม่ได้ จากเดิมที่ปรับเพียง 20,000 บาท อาจปรับขึ้นสูงถึง 100,000 บาทร่าง พ.ร.บ.ฯ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับนี้ จึงเป็นที่จับตามองของภาคประชาสังคม ภาคประชาชนไปจนถึงภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ต่างมีส่วนได้เสียจากการกำหนดนโยบายของภาครัฐ

© Copyright @2025 LIDEA. All Rights Reserved.