เมื่อเร็ว ๆ นี้ มหาวิทยาลัยตรังกานู (Universiti Malaysia Terengganu – UMT) ประเทศมาเลเซีย และเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เกี่ยวกับการถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมธนาคารสัตว์น้ำและฐานข้อมูลดิจิทัลทรัพยากรชุมชนประมงพื้นบ้าน ภายใต้นโยบาย “SEACOSYSTEM เพื่อทะเลไทยที่ยั่งยืน” ขยายการติดตั้งที่มหาวิทยาลัยตรังกานู ประเทศมาเลเซีย ให้เป็นโครงการต้นแบบแก่ชุมชนชาวประมงในรัฐตรังกานู โดยคาดว่าจะมีชาวประมงต่อยอดองค์ความรู้และได้รับประโยชน์จากธนาคารสัตว์น้ำกว่า 4,000 ราย นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการหารือเพื่อต่อยอดแนวทางความร่วมมืองานด้านความยั่งยืนในอนาคต ณ มหาวิทยาลัยตรังกานู รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย
โดยพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) นำโดย นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ พร้อมด้วย Professor Ts Dr. Mohd Zamri Ibrahim รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยตรังกานู รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย และ นางสาวพิไลลักษณ์ พิชัยวัตต์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นผู้แทนในการประกาศความเป็นพันธมิตรในครั้งนี้ มีเป้าหมายความร่วมมือการติดตั้งนวัตกรรมธนาคารสัตว์น้ำและฐานข้อมูลดิจิทัลทรัพยากรชุมชนประมงพื้นบ้าน โดยดำเนินการร่วมกันภายใต้แนวทางความยั่งยืนสากล UN Global Compact และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ
ในการนี้ เครือซีพี ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้งานความยั่งยืนที่ได้ขับเคลื่อนในประเทศไทยที่ครอบคลุมทางบกและทางทะเล พร้อมทั้งสนับสนุนการทำงานของระบบ “ธนาคารสัตว์น้ำ” เพื่อใช้ในการศึกษาและต่อยอดการอนุรักษ์และขยายพันธุ์พันธุ์สัตว์ทะเล มุ่งแก้ปัญหาการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำ ซึ่งกระทบต่อรายได้และวิถีชีวิตของชุมชนประมงชายฝั่ง ให้แก่มหาวิทยาลัยตรังกานู ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและมีดำเนินงานด้านความยั่งยืนทางทะเลในรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย อย่างต่อเนื่อง การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ ในการขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืนทางทะเล โดยบูรณาการร่วมกันระหว่างเครือซีพี และมหาวิทยาลัยตรังกานู นำไปสู่การส่งเสริมศักยภาพและคุณภาพชีวิตของชุมชนประมงชายฝั่ง ยกระดับทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ “นวัตกรรมธนาคารสัตว์น้ำ” ถือเป็นนวัตกรรมที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำ ซึ่งกระทบต่อความสมดุลที่ส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) รวมถึงรายได้และวิถีชีวิตของชุมชนประมงชายฝั่ง โดยมีแนวคิดการใช้นวัตกรรมมาช่วยขยายพันธุ์สัตวน้ำที่มีไข่นอกกระดอง อาทิ ปูม้า ปูดำ ปูแสม กั้งกระดาน กุ้งก้ามกราม กุ้งมังกร เป็นต้น โดยเป็นระบบการเพาะฟักรูปแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย นำระบบออโตเมชั่นมาใช้ในการควบคุม โดยนำไปใช้ในชุมต่างๆในประเทศไทยแล้วกว่า 20 แห่ง ใน 8 จังหวัด โดยนวัตกรรมชิ้นนี้เป็นผลลัพธ์ของการแก้ปัญหาแบบบูรณาการ โดยมุ่งหวังให้ชาวประมงพื้นบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน