ประวัติความเป็นมาของฉนวนกาซา และการหยุดยิงในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2568
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ January 22, 2025 12:25 PM

ฉนวนกาซา (Gaza Strip) เป็นดินแดนแทรกของปาเลสไตน์ที่ชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีชายแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับอียิปต์ และทางตะวันออกกับเหนือติดกับอิสราเอล ฉนวนกาซากับเวสต์แบงก์ (West Bank) เป็นดินแดนที่อ้างสิทธิโดยรัฐปาเลสไตน์โดยนิตินัย ฉนวนกาซามีความยาว 41 กิโลเมตร กว้าง 6 ถึง 12 กิโลเมตร และมีพื้นที่รวม 365 ตารางกิโลเมตร แต่มีประชากรชาวปาเลสไตน์ประมาณ 1.85 ล้านคน จัดเป็นพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลกเมื่อเทียบกับจังหวัดสมุทรสงครามซึ่งเป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดของประเทศไทยแต่ยังมีเนื้อที่ 416.7 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรเพียง 187,993 คน แม้ว่าฉนวนกาซาจะมีเนื้อที่ขนาดเล็กเพียง 365 ตารางกิโลเมตร แต่ฉนวนกาซากลับเป็นศูนย์กลางของความขัดแย้งที่ซับซ้อนและยืดเยื้อที่สุดในโลก มีประวัติความเป็นมายาวนานที่เกี่ยวพันกับการต่อสู้ทางการเมือง ศาสนา และเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากรในพื้นที่และทั่วโลกมาอย่างต่อเนื่อง

ฉนวนกาซากับเวสต์แบงก์เป็นดินแดนที่อ้างสิทธิโดยรัฐปาเลสไตน์โดยนิตินัย  

ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ : พื้นที่ของฉนวนกาซามีความสำคัญตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ระหว่างแอฟริกาและเอเชีย พื้นที่นี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอียิปต์โบราณ ฟิลิสเตีย อาณาจักรโรมัน และจักรวรรดิออตโตมัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 บริเวณนี้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษภายใต้มติของสันนิบาตชาติ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของปาเลสไตน์ภายใต้การอารักขาของอังกฤษหลังสงครามอาหรับอิสราเอลใน พ..2491 ฉนวนกาซาตกอยู่ภายใต้การปกครองของอียิปต์ โดยไม่ได้รับการผนวกอย่างเป็นทางการ สถานการณ์เปลี่ยนไปอีกครั้งใน พ..2510 เมื่ออิสราเอลยึดฉนวนกาซาในสงคราม 6 วัน และเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานของชาวยิวในพื้นที่ของฉนวนกาซา

การปกครองและความขัดแย้ง : หลังจากข้อตกลงออสโล (Oslo Accords ; ข้อตกลงออสโลจัดตั้งองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ที่มีอำนาจปกครองตนเองอย่างจำกัดในเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา และรับรององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็นคู่เจรจาเรื่องสถานะและปัญหาอื่นๆ กับอิสราเอล ปัญหาที่สำคัญที่สุดเกี่ยวข้องกับพรมแดนของอิสราเอลและปาเลสไตน์ นิคมชาวอิสราเอล และสถานะของเยรูซาเลม รวมถึงการมีอยู่ของทหารอิสราเอลและการควบคุมพื้นที่ที่เหลือหลังอิสราเอลยอมรับอัตตาณัติของปาเลสไตน์ และสิทธิในการกลับถิ่นฐานเดิมของชาวปาเลสไตน์ อย่างไรก็ตามข้อตกลงออสโลไม่ได้จัดตั้งรัฐปาเลสไตน์) ใน พ..2536 ฉนวนกาซากลายเป็นพื้นที่ที่มีการปกครองตนเองบางส่วนภายใต้การบริหารขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองภายในปาเลสไตน์เอง เช่น กลุ่มฟาตาห์และกลุ่มฮามาส นำไปสู่การแบ่งแยกการปกครองใน พ..2550 โดยฉนวนกาซาอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มฮามาส ในขณะที่เขตเวสต์แบงก์อยู่ภายใต้การปกครองของกลุ่มฟาตาห์

ตั้งแต่นั้นมา ความตึงเครียดระหว่างฮามาสและอิสราเอลนำไปสู่การปะทะกันหลายครั้ง รวมถึงการปิดล้อมฉนวนกาซาที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชากรในพื้นที่ การโจมตีด้วยจรวดและการตอบโต้ด้วยการโจมตีทางอากาศกลายเป็นวงจรของความรุนแรงที่ดูเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด

ความขัดแย้งใน พ..2567 และ พ..2568 : ใน พ..2567 ความขัดแย้งระหว่างฮามาสและอิสราเอลทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง สาเหตุเริ่มต้นมาจากการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ในกรุงเยรูซาเลม ซึ่งต่อมาได้ลุกลามไปยังฉนวนกาซา มีการยิงจรวดข้ามพรมแดนและการโจมตีทางอากาศที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก

องค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติและสหภาพยุโรป พยายามไกล่เกลี่ยเพื่อหยุดยั้งความรุนแรง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งในต้นปี 2025 การประชุมเจรจาสันติภาพที่จัดขึ้นในกรุงไคโรโดยมีสหรัฐอเมริกาและอียิปต์เป็นตัวกลาง สามารถนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราว

การหยุดยิงในวันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม 2568 : วันที่ 20 มกราคม พ..2568 เป็นวันที่ทั้งโลกจับตามองเมื่อการหยุดยิงระหว่างฮามาสและอิสราเอลมีผลบังคับใช้ ข้อตกลงนี้เกิดขึ้นภายหลังการเจรจาที่ซับซ้อนและใช้เวลาหลายเดือน โดยมีเป้าหมายหลักคือการลดความรุนแรงและเปิดโอกาสให้เกิดการเจรจาในระยะยาว

สาระสำคัญของข้อตกลงหยุดยิงนี้ประกอบด้วย : การยุติการโจมตีด้วยอาวุธ ทั้งจากฉนวนกาซาและอิสราเอลการเปิดช่องทางความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประชากรที่ได้รับผลกระทบ

การจัดตั้งคณะกรรมการร่วม ระหว่างอิสราเอล ปาเลสไตน์ และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อดูแลการปฏิบัติตามข้อตกลง

แม้ว่าข้อตกลงหยุดยิงครั้งนี้จะถือเป็นก้าวสำคัญ แต่ก็ยังมีความท้าทายรออยู่ข้างหน้า โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้างความไว้วางใจระหว่างทั้งสองฝ่าย ซึ่งดูจากท่าทีของทั้ง 2 ฝ่ายคือ อิสราเอลและกลุ่มฮามาสแล้ว ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าการบรรลุเป้าหมายของข้อตกลงในระยะยาว และการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนคงเป็นไปได้ยากยิ่ง

ซึ่งดูจากแนวโน้มแล้วดูจะเป็นการสงบศึกเพียงชั่วคราวเท่านั้นเพราะทั้งอิสราเอลและกลุ่มฮามาสไม่มีความไว้วางใจต่อกันเลย สงครามต้องเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอนและอาจจะขยายวงกว้างออกไปอีกมาก เพราะทั้งอิสราเอลและกลุ่มฮามาสต่างก็มีสปอนเซอร์เป็นประเทศมหาอำนาจทั้ง 2 ค่ายอยู่แล้วนั่นเอง

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

© Copyright @2025 LIDEA. All Rights Reserved.