รู้หรือไม่? ไทยมีอ้อยลักลอบเผา 6,931,873 ตัน รัฐเร่งหามาตรการสกัดฝุ่น PM 2.5
springnews January 24, 2025 01:50 PM

อ้อย คือ อีกพืชที่มีการเผามาก รู้หรือไม่ว่าไทยมีปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมดปี 2567/68 จำนวน38,519,207 ตัน ข้อมูล ณ วันที่ 20 ม.ค.68 (รวมวันเปิดหีบ 46 วัน) แบ่งเป็นปริมาณอ้อยสด 31,587,334 ตัน และปริมาณอ้อยลักลอบเผา 931,873 ตัน และพบจุดความร้อน 361 จุด

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล รวมถึงหลายจังหวัดวันนี้ (23 มกราคม 2568) บอกได้คำเดียวว่า "จะอยู่กันยังไงก่อน" นี่คือปัญหาเรื้อรังที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และยังแก้ไขปัญหานี้ไม่ได้สักที ประชาชนยังรอความหวังที่รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาแก้ไขปัญหานี้ให้ได้เร็ววัน ก่อนที่จะมีผู้คนล้มตาย และกระทบธุรกิจ ความเป็นอยู่ของประชาชนในชาติไปมากกว่า

การเผาป่า หรือเผาพืชเกษตรกรรรม เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 ข้อมูลจากกรมประชาสัมพันธ์ ระบุว่า การเผาเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรา ดังนั้นการลดการเผาจะเป็นวิธีการสำคัญในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดย

  • ควันจากการเผา: เมื่อมีการเผาไหม้ ไม่ว่าจะเป็นการเผาขยะ เผาป่า หรือเผาในที่โล่ง จะเกิดควันและเขม่า ซึ่งในควันและเขม่านั้นมีอนุภาคขนาดเล็กมากมายที่เรียกว่า PM2.5 ปะปนอยู่ เมื่ออนุภาคเหล่านี้ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ก็จะกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ
  • สารพิษอื่นๆ: นอกจากฝุ่น PM2.5 แล้ว การเผายังปล่อยสารพิษอื่นๆ ออกมาอีกมากมาย เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งสารพิษเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

หากโฟกัสไปที่การเผาพืชเกษตร เชื่อว่าหลายคนจะนึกว่าอ้อย คืออีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจที่มีการเผา และทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 วันนี้จะพามาดู งานวิจัยเรื่อง “การบริหารจัดการชีวมวลอ้อยที่เหมาะสมของเกษตรกร” โดย สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ระบุว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเผาก่อนการเก็บเกี่ยวมาจากต้นทุนที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว อาจเป็นเพราะเกษตรกรมีต้นทุนน้อยจึงเลือกวิธีเผาแล้วตัด ทำให้ไม่สามารถลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ได้อย่างมีนัยสำคัญ

 

รู้หรือไม่? ไทยมีอ้อยลักลอบเผา 6,931,873 ตัน รัฐเร่งหามาตรการสกัดฝุ่น PM 2.5

ทั้งนี้เนื่องจากอ้อยไฟไหม้ตัดง่ายกว่าและรายได้ดีกว่า อีกปัจจัยที่เอื้อต่อการเผา คือระบบการเพาะปลูกและสภาพพื้นที่ของแปลงอ้อยไม่เหมาะสมต่อการใช้เทคโนโลยีทั้งการปลูกและการเก็บเกี่ยว รวมถึงการขาดแคลนแรงงานรวมทั้งขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีผลิตอ้อย เช่น คนขับรถตัดอ้อย คนขับรถอัดใบอ้อย และอีกหนึ่งปัจจัยที่เอื้อให้เกษตรกรเลือกใช้วิธีเผา เนื่องจากพื้นที่ขาดแคลน เครื่องจักรที่เหมาะสมสำหรับเก็บเกี่ยวอ้อยทำให้ต้องตัดอ้อยไฟไหม้ รถตัดอ้อยมีไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมกับพื้นที่เก็บเกี่ยว

จากข้อมูลเบื้องต้นทำให้ได้เห็นปัจจัยเรื่องการเผาอ้อยทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ที่ระบุว่า ไทยมีปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมดปี 2567/68 จำนวน 38,519,207 ตัน ข้อมูล ณ วันที่ 20 ม.ค.68 (รวมวันเปิดหีบ 46 วัน) แบ่งเป็นปริมาณอ้อยสด 31,587,334 ตัน และปริมาณอ้อยลักลอบเผา 6,931,873 ตัน  และพบจุดความร้อน 361 จุด  (21 ม.ค. 68)

 

รู้หรือไม่? ไทยมีอ้อยลักลอบเผา 6,931,873 ตัน รัฐเร่งหามาตรการสกัดฝุ่น PM 2.5

สำหรับแผนงานในการรับมือฝุ่น PM 2.5 กระทรวงอุตสาหกรรมได้วางมาตรการระยะยาวไว้ว่าจะกำหนดปริมาณมาตรฐานในการผลิตน้ำตาลทรายขั้นต่ำของโรงงาน, กำหนดปริมาณอ้อยที่ถูกลักลอบเผาอ้อย ฤดูการผลิตปี 2567/2568 ไม่เกิน 25% , มาตรการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยเก็บเกี่ยวอ้อยสดคุณภาพดี ฤดูการผลิตปี 2567/2568 - ปี 2569/2570 และมาตรการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยเก็บเกี่ยวอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 (แผน 3 ฤดูการผลิต)

ขณะเดียวกัน คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) มีมติเห็นชอบปรับเปลี่ยนแนวทางและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเก็บเกี่ยวอ้อยสดคุณภาพดี โดยเสนอของบประมาณจากรัฐบาลกว่า 7,000 ล้านบาท สร้างแรงจูงใจให้ชาวไร่อ้อยเก็บเกี่ยวอ้อยสด 100% ซึ่งจะจ่ายเงินให้เฉพาะเกษตรกรที่ตัดอ้อยสด และเพิ่มราคารับซื้อใบและยอดอ้อยใช้เป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวล หรือโรงงานที่ใช้พลังงานชีวมวล พร้อมขอความร่วมมือโรงงานน้ำตาลให้งดรับซื้ออ้อยเผา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดการเกิดฝุ่น PM2.5

ส่วนบทลงโทษถ้าเผาแล้วไปกระทบกระเทือนเรื่องของสุขภาพร่างกายของชาวบ้าน ถือว่าผิดกฎหมาย พรบ. สาธารณสุข พ.ศ. 2535 ซึ่งมีความผิดตามกฎหมายอาญาเช่นกัน มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

© Copyright @2025 LIDEA. All Rights Reserved.