เลขาฯ ก.ล.ต.แนะต้องอาศัยข้อมูลและการปรับตัว เพื่อ รักษาความยั่งยืน พร้อมปรับใจรองรับด้วย
GH News February 04, 2025 09:52 AM

เลขาฯ ก.ล.ต.แนะต้องอาศัยข้อมูลและการปรับตัว เพื่อ รักษาความยั่งยืน พร้อมปรับใจรองรับด้วย

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดงานสัมมนา “Chula Thailand Presidents Summit 2025” นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรรมการ และเลขานุการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ทั้งนี้พรอนงค์ บุษราตระกูล กล่าวในหัวข้อ Future Thailand: Sustainability and Well-Being ว่า ตนอยากจะฉายฉากทัศน์ทั้งสองเรื่องดังกล่าวทั้ง Sustainability and Well-Being ความยั่งยืนก็ดีความกินดีอยู่ดีก็ดีของประชาชนคนไทยเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่

นางพรอนงค์ กล่าวว่า หากย้อนความไปพูดถึง ‘ความยั่งยืน’ ความยั่งยืนจริงๆ คือ การที่เรารักษาการอัตราการเติบโตหรือรักษาอัตรากำไรกับภาคเอกชน ความยั่งยืนคือความสามารถที่เราจะอยู่ได้และรักษาความต่อเนื่องยั่งยืนแบบนี้เรื่อยๆ ไปในระยะยาว แต่ถ้าหากพูดถึงคำว่า Well-Being มันคือ จุดที่เราบอกว่า เรารู้สึกสบายใจ แฮปปี้ หรือการที่เราสามารถที่จะอยู่ในสภาวะเหล่านี้ไปได้เรื่อยๆ เช่นเดียวกัน หากเราจะมุ่งเน้นเห็นฉากทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน ไม่ว่าจะภาคขนาดใหญ่หรือ ขนาดกลาง หรือ ขนาดเล็ก ภาครัฐหรือหน่วยงานที่ดูในเชิงนโยบายของสาธารณะ เราก็อยากเห็น ‘ความยั่งยืน’ ในเชิงตัวของเศรษฐกิจ ความยั่งยืนในเชิงของประเด็นทางสังคม ความเหลื่อมล้ำต่างๆ ไปจนถึงความยั่งยืนในตัวของสภาพแวดล้อม สิ่งเหล่านี้มันผูกมาด้วยกัน

นางพรอนงค์ กล่าวว่า ขณะที่เราบอกว่าเรามีความสุขกับสภาพแวดล้อมแต่ขณะเดียวกันถ้าเราไม่มีการกินดีอยู่ดีไม่มีกิน อากาศดีแต่เราไม่มีกินมันก็คงเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น สิ่งเหล่านี้คือ ตนเชื่อว่ามีเป้าหมายเดียวกัน ทำอย่างไรถึงจะอยู่ได้ในสภาวะที่เรามีความสุขแล้วอยู่ได้ในระยะนี้ไปอยู่ถึงระยะกลางและระยะยาว และ ฉากทัศน์เป็นความท้าทายมากๆ เลย และเรื่องของเราระยะเวลา เช่น อีกกี่ปีจะยั่งยืนกี่ปี ปีนี้กำไรเท่านี้ปีหน้าละจะเป็นยังไง ปีนี้อัตราการเติบโตจีพีดีเป็นแบบนี้ปีหน้าจะขึ้นจะตกอีกเท่าไหร่ ดังนั้น สิ่งเหล่านี้ ท้ายที่สุดแล้วถ้าเราอยู่ได้ในสังคมเดียวกันและก็ต้องเป็นตัวเลขที่ไม่ทิ้งใครข้างหลังก็คือประชาชนอยู่ส่วนใหญ่ก็ต้องได้ประโยชน์กับตัวเลขนี้เช่นกัน

นางพรอนงค์ กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่อยากจะชวนคิดในตัวฉากทัศน์ของประเทศไทย คือ เป็นสิ่งที่โดยเฉพาะภาคธุรกิจ ไม่ได้เน้นเรื่องของ Sustainability หรือ ความยั่งยืนมากนัก แต่เป็นเรื่องที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อยากเห็น และจะต้องคิดในเชิงกลยุทธ์ และถ้าทำทุกคนก็จะอยู่ได้อย่างยั่งยืนและ ทุกฝ่ายก็ต้องร่วมมือกันอย่างสำนักงาน ก.ล.ต. ก็เป็นคนดูแลกฎเกณฑ์ต่างๆ เปรียบอย่างเช่น เราทำถนน แต่ถนนไม่ได้เดินคนเดียว หรือ บางถนน สำนักงานไม่ได้ด้วยซ้ำ ก็จะมีสิ่งที่ท้าทายตลอด

นางพรอนงค์ กล่าวว่า การที่เราเล่นกีฬาไม่เก่งไม่ได้แปลว่าเราเป็นโค้ชไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราก็ต้องเป็นถนนที่ทุกคนเห็นเป้าหมายเดียวกัน และเป้าหมายนั้น คือทำอย่างไรให้ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจไทยที่มั่นคงและยั่งยืน ถ้าเอกชนไทยจะแข็งแรงดำรงความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนและท้ายที่สุดและทำเพื่อใครก็คือคนที่อยู่ข้างเรานั้นแหละ ก็คือ ประชาชน

ต่อมา นางพรอนงค์ เผยว่า ความท้าทายหลักๆ เลยตอนนี้ สำหรับประเทศไทย คือเรื่องของ data หรือ ข้อมูล ดังนั้น ถ้าอยากจะเริ่มดำเนินการอะไรที่เกี่ยวข้องกับ Sustainability หรือ ความยั่งยืน หรือ Well being ท่านต้องมีข้อมูล ต้องมีงานวิจัย อย่างเช่นเวลาจะพูดถึงเงินออมช่วงเกษียณ ก็ต้องมีข้อมูลว่าแต่ละช่วงวัยจะต้องเก็บเงินเท่าไหร่หรือต้องมีข้อมูลว่าในช่วงเกษียณเงินออมภาพรวมต้องเท่าไหร่ และเราต้องปรับตัวอย่างไร ดังนั้น ข้อมูล คือ สิ่งที่จำเป็นสำหรับองค์กรและประชาชน รวมถึงภาครัฐ ในการกำกับ หรือ การออกนโยบาย ก็ต้องอาศัยข้อมูลในการกำหนดทิศทางต่าง ความท้าทายต่อมา ถ้าอยากมีความยั่งยืนก็ต้องมีการปรับตัว การลงทุนบางอย่างก็ต้องอาศัยการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีบางอย่างต้นทุนก็ไม่ได้ถูก แต่ก็ต้องหาแนวทางปรับตัวให้สามารถรับมือได้ ซึ่งก็ต้องอาศัยการปรับตั้งแต่แนวคิด ทัศนคติ ปรับวิธีการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ รวมถึงปรับใจด้วย เพราะเป้าหมายบางสิ่งบางอย่างก็ต้องอาศัยระยะเวลา

นางพรอนงค์ กล่าวว่า หากยกตัวอย่างในเชิงของสำนักงาน ก.ล.ต. ก็จะใช้กลไกตลาดในการขับเคลื่อนความยั่งยืน รวมถึง ทาง ก.ล.ต. จะอย่างไรให้ ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ทางอ้อมและทางตรงจากตลาดทุนได้ ไม่อยากจะเห็นแค่ คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น จะทำอย่างไรให้ประชาชนได้ประโยชน์จากการลงทุน ผ่านเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ในตลาดทุน ทางสำนักงานก็กำลังทำงานกับกระทรวงการคลัง พัฒนา Individual saving accounts หรือ เป็นบัญชีออมทรัพย์ที่ไม่ต้องเสียภาษี ตนอยากเห็นคนไทยที่เริ่มทำงาน มีบัญชีสำหรับการลงทุน และไม่ต้องมีการนำมาตรการเร่งด่วนมากระตุ้นเศรษฐกิจหลายๆรอบ รวมถึงมีเครื่องมือการออมต่างๆที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ นางพรอนงค์ กล่าวว่าบทบาทของดิจิทัลถือเป็นบทบาทที่สำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะทำอย่างไรที่จะทำน้อยแต่ได้มาก ทำมาก ก็ได้มากเพิ่มขึ้น ดังนั้นก็จะต้องนำดิจิทัลมาใช้ ให้เป็นประโยชน์ แต่ท้ายสุดคนก็ต้องควบคุมอยู่ดี ซึ่งก็มีผู้ประกอบการ ผู้ระดมทุน หลายคนใช้ดิจิทัลในการลดต้นทุน และท้ายที่สุด ก็จะสร้าง ผลงาน ซึ่งหลายๆคนชอบทิ้งท้ายว่า การที่เราจะเติบโตอย่างยั่งยืน ก็ต้องเติบโตทุกๆ ปี แต่จริงๆ แล้วถ้าเรามีความยืดหยุ่นได้ดี เราก็จะสามารถรักษาระดับการเติบโตได้แต่ในแนวทางใหม่ๆ

ทั้งนี้ นางพรอนงค์ กล่าวว่า สำนักงาน ก.ล.ต. หวังว่า ในฐานะกำกับและพัฒนา เราทำตัวเราเองให้ยั่งยืน และอยากจะเห็นทุกคนมีเป้าหมายเดียวกันและท้ายที่สุด ประโยชน์ของนโยบายเชิงสาธารณะ ก็ต้องตกไปอยู่กับ สาธารณะ นั้น คือ ‘ประชาชน’

© Copyright @2025 LIDEA. All Rights Reserved.