โดยมีรายละเอียดในร่างฯ ดังกล่าว เช่น 1.ผู้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล 2.สิทธิประโยชน์ทางภาษี ได้แก่ 2.1 ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายไป ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการถึงวันที่ 31 ธ.ค.2568 เพื่อการลงทุนในยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่
ดังต่อไปนี้ 1) เป็นจำนวน 100% (2 เท่า) ของรายจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริงสำหรับรายจ่ายเพื่อการลงทุนในธานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ผลิตทรือประกอบไนประเทศไทย เเละ 2) เป็นจำนวน 50% (1.5 เท่า) ของรายจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริงสำหรับรายจ่ายเพื่อการลงทุนในยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ประกอบสำเร็จรูปและนำและนำเข้ามาทั้งคัน
2.2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวจะต้องจัดทำโครงการลงทุน แผนการจ่ายเงิน และรายละเอียดของยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ และแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
3.เงื่อนไขและคุณสมบัติ เป็นรถโดยสารไฟฟ้าหรือรถบรรทุกไฟฟ้า ดังต่อไปนี้ 3.1 รถโดยสารไฟฟ้าต้องเป็นรถโดยสารที่สามารถขออนุญาตประกอบการขนส่งได้ในประเภทรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกใน 6 มาตรฐาน 3.2 รถบรรทุกไฟฟ้าต้องเป็นรถบรรทุกที่สามารถขออนุญาตประกอบการขนส่งได้ในประเภทรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกใน 6 ลักษณะ
3.3 เป็นรถที่ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน3.4 เป็นรถที่นำมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินได้ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร 3.5 ไม่เป็นรถที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นตามพระราชกฤษฎีกาอื่นที่ออกตามความในประมวลรัษฎากร ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
3.6 ไม่เป็นรถที่นำไปใช้ในกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือกฎหมายว่าด้วยเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม. ยังรับทราบมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้า ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 และเห็นชอบให้ปรับปรุงมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าระยะที่ 2 (EV 3.5) โดยให้เพิ่มเติมประเภทรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับสิทธิตามมาตรการ EV3.5 เป็น รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่ง ไม่เกิน 10 คน โดยใช้หลักการเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณสมบัติ จำนวนเงินอุดหนุน และการผลิตชดเชยเช่นเดียวกับรถยนต์นั่ง และให้เพิ่มเติมคุณลักษณะและคุณสมบัติสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ประเภทรถจักรยานยนต์
2.สำหรับมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV3) และเป็นรุ่นที่มีแต่การชาร์จแบบกระแสสลับหรือการชาร์จกับไฟบ้าน (AC Charge) ที่ผลิตในประเทศหรือนำเข้ามาในประเทศภายในปี 2567 สามารถเข้าร่วมมาตรการ EV3.5 ได้ ตลอดจนสามารถโอนสิทธิมายังมาตรการ EV3.5 ได้นั้น เห็นควรมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเรื่องดังกล่าวกลับไปทบทวนความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ มอบหมายให้กรมสรรพสามิตดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (คณะกรรมการนโยบายฯ) เสนอ