ปัจจุบันภาคธุรกิจของไทย ได้รับแรงกดดันจากปัจจัยภายใน และภายนอก ที่ลดทอนความสามารถในการแข่งขัน มาหลายปีต่อเนื่อง การเริ่มต้นปีปฏิทินใหม่ของทุกปี มักตามมาด้วยความกังวลถึงภาวะเศรษฐกิจของสังคม ซึ่งการขาดความมั่นใจเชิงบวกต่อภาวะเศรษฐกิจ ยิ่งทำให้การจับจ่ายใช้สอยน้อยลงไป ส่งผลให้การบริโภคน้อยลงไปอีก อย่างไรก็ตามภาคการส่งออก และการท่องเที่ยว เป็นเครื่องจักรสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยยังคงเดินหน้าไปได้
18 เม.ย. 2568 – การใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร (Executive Order) ของประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐ หรือ Donald Trump กำหนดอัตราภาษี ประเทศที่มีการเกินดุลการค้าต่อสหรัฐอเมริกา พร้อมกับอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยที่ระดับร้อยละ 37 แม้ปัจจุบันจะขยายระยะเวลาบังคับออกไปอีกประมาณ 3 เดือน แต่หากพิจารณาข้อมูลปี 2567 กลุ่มสินค้า 5 อันดับแรกที่ประเทศไทยมีการส่งออกไปสหรัฐ ได้แก่ อันดับหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อันดับสอง เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่ากว่า 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อันดับสามผลิตภัณฑ์ยาง มูลค่ากว่า 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อันดับสี่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอต มูลค่ากว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และอันดับห้า รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ด้วยมูลค่าเกือบ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คาดว่าผลการเจรจา จะส่งผลให้นโยบายภาษีของประเทศไทย ต้องมีการปรับเปลี่ยนตามข้อเรียกร้องของสหรัฐอเมริกา
การปรับเปลี่ยนนโยบายภาษี สามารถส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ อาทิ การยาสูบแห่งประเทศไทย หรือ “ยสท.” ก่อนปรับโครงสร้างภาษีในปี 2560 มีกำไร 9,343 ล้านบาท แต่หลังจากการปรับโครงการภาษีบุหรี่ ครั้งที่ 1 มีผลบังคับใช้ในปี 2561 ยสท. เหลือกำไร 843.25 ล้านบาท และในปี 2562 กำไรลดลงเหลือ 513 ล้านบาท ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เดือน เมษายน 2568 สรุปว่าจํานวนผู้สูบบุหรี่ในภาพรวมของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้สูบบุหรี่ทั้งสิ้น 9.8 ล้านคน คิดเป็น 16.5% ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ในปี 2567 ลดลงจาก 17.4% ในปี 2564 โดยประเภทของบุหรี่ที่ผู้สูบนิยมสูบมากที่สุดคือ บุหรี่โรงงาน (12.6%) แต่ที่น่าสังเกต คือ ยอดของผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า มีผู้สูบคิดเป็น 1.5% หรือประมาณ 0.90 ล้านคน อย่างไรก็ตาม บุหรี่ไฟฟ้า ตามกฏหมายเป็นสินค้าที่ผิดกฏหมายตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค และประกาศกระทรวงพาณิชย์
กลับมาดูประวัติศาสตร์ ก่อนคาดการณ์อนาคต ในยุคศตวรรษที่ 18 Great Britain หรือจักรวรรดิอังกฤษ อาณาจักรที่ตะวันไม่ตกดิน คิดไม่ตกว่าจะทำอย่างไรให้สามารถค้าขาย ทำกำไรกับประเทศจีน ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ชิง โดยช่วง พ.ศ. 2343 – 2353 จีนได้เปรียบดุลการค้าจำนวนมากกับจักรวรรดิอังกฤษมาตลอด การส่ง “ฝิ่น” เข้าไปขายในจีนทำให้จักรวรรดิอังกฤษ เปลี่ยนเป็นเกินดุลจำนวนมากขึ้นทุกๆ ปี นับจากปี พ.ศ.2371
ปัจจุบันประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจโลกประจำปี 2567 อันดับหนึ่ง คือ สหรัฐอเมริกา ด้วยขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ หรือ GDP 28.78 พันล้านดอลาร์ สรอ. ตามด้วยจีน 18.53 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทิ้งห่างอันดับสาม คือ ประเทศเยอรมนี ที่ 4.59 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งหากพิจารณาข้อมูลที่เผยแพร่บน Bloomberg ตามรูป
เมื่อประมวลภาพจากประวัติศาสตร์กลับมาที่ประเทศไทย เราควรจะพิจารณาว่าที่ผ่านมา กลไกภาษีของประเทศไทย มีการบิดเบือน ลดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน หรือไม่ เพียงใด เพราะการกลไกภาษีที่ไม่สนับสนุนต่อการสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ ย่อมส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาง โดยรวม
รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทรกิตติ์ เนตินิยม นักวิชาการอิสระ ประธานมูลนิธิห้วยข้องพัฒนา