เปิด 1 ใน 5 ข้อเสนอเจรจา “ทรัมป์” ไทยปัดฝุ่นคัดกรองสินค้าสวมแหล่งกำเนิด 49 รายการส่งออกไปสหรัฐพบ รายการเหล็ก/อลูมิเนียม-ชิ้นส่วนยานยนต์ ติดโผตัวการใหญ่ส่งออกมูลค่าสูงจนทำสหรัฐขาดดุลไทย
การเพิ่มความเข้มงวดในรายการสินค้าเฝ้าระวังการแอบอ้างถิ่นกำเนิดสินค้าไทยส่งออกไปยังสหรัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเสนอเชิงนโยบายของคณะผู้แทนไทยที่เตรียมจะไปหารือกับฝ่ายสหรัฐในการผ่อนคลายกรณีที่สินค้าไทยจะถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariff) สูงถึงร้อยละ 36 ซึ่งจะมีผลในอีก 90 วันข้างหน้านี้
จากการตรวจสอบพบว่า ข้อเสนอเชิงนโยบายข้างต้น “ไม่ใช่เรื่องใหม่” แต่เป็นเรื่องที่ประเทศไทยมีการดำเนินการภายใต้ ประกาศกรมการค้าต่างประเทศเรื่อง การตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด่านถิ่นกำเนิดเพื่อการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ไม่ใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าเฝ้าระวังมาตั้งแต่ปี 2565
ด้วยการกำหนดรายการสินค้าที่ต้องเฝ้าระวังไว้ในบัญชีแนบท้ายประกาศ(เฉพาะกรณีการส่งออกไปยังสหรัฐมีจำนวน 49 รายการ) โดยกำหนดให้ผู้ส่งออกจะต้องยื่นขอตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้าก่อนขอหนังสือรับรอง Form C/O ทั่วไปก่อน
ทั้งนี้การตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้าที่ผ่านมาจัดเป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับศุลกากรสหรัฐเพื่อให้ความมั่นใจว่า จะไม่มีการสวมหรือแอบอ้างถิ่นกำเนิดจากประเทศที่สามเพื่อหลบเลี่ยงภาษีในการนำเข้าสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงงานของผู้ประกอบการจีน ที่เข้ามาตั้งโรงงานในไทยเพื่อหลบเลี่ยงภาษีทุ่มตลาด(AD), การถูกเก็บภาษีตามมาตรา 301 และล่าสุดในมาตรา 232 ว่าด้วยมั่นคงของสหรัฐ
สำหรับบัญชีแนบท้ายประกาศรายการสินค้าเฝ้าระวังในการส่งออกไปสหรัฐฉบับปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุดจำนวน 49 รายการที่กำลังจะถูกเสนอให้สหรัฐพิจารณาประกอบการผ่อนคลายในการที่ไทยถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้ร้อยละ 36 จากข้ออ้างที่ว่า ไทยเป็นประเทศที่ “ได้ดุลการค้า” สหรัฐอยู่ในลำดับทีื 11 หรือ 35,427.6 ล้านเหรียญในปี 2567 นั้นพบว่า
จะมีกลุ่มสินค้าส่งออกที่ต้องเฝ้าระวังอยู่ในอันดับต้นๆ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเหล็ก กลุ่มอลูมิเนียม และ ส่วนประกอบ/อุปกรณ์ของยานยนต์ ในพิกัดดังต่อไปนี้
พิกัด 7213-7227 รายการลวดเหล็กกล้าคาร์บอนและเหล็กกล้าผสม พิกัด 7304 ท่อและโปรไฟล์กลวงที่ไม่มีตะเข็บทำจากเหล็ก(ยกเว้นเหล็กหล่อ)หรือเหล็กกล้า พิกัด 7306 ท่อเหล็กกล้าคาร์บอนเชื่อมวงกลมคุณภาพสูงสำหรับใช้ส่งน้ำมันหรือก๊าซ พิกัด 7307 ข้อต่อท่อเหล็ก
พิกัด 7317-7907 ตะปูเหล็กบางประเภท พิกัด 7318.14.10 สกรู น็อต โบลต์ ตะปูเกลียว หมุดย้ำ สลัก หมุดยึด แหวนรอง(รวมแหวนสปริง) และที่คล้ายกันทำจากเหล็ก/เหล็กกล้ามีเกลียวหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 6 มม. พิกัด 7318.19 สกรู น็อต โบลต์ ตะปูเกลียว หมุดย้ำ สลัก หมุดยึด แหวนรอง(รวมแหวนสปริง) และที่คล้ายกันทำจากเหล็กหรือเหล็กกล้าอื่นๆ
พิกัด 7320-7326-9404 ชุดสปริงภายในไม่มีการปิดคลุม พิกัด 8305 ลวดเย็บเหล็กแบบแถบ พิกัด 7326-7323 ไม้แขวนเสื้อแยบลวดเหล็ก และ พิกัด 7324 อ่างล้างจานสเตนเลสดึงลึก
ส่วนสินค้าส่งออก กลุ่มอลูมิเนียม ที่ถูกเฝ้าระวังในการแอบอ้างถิ่นกำเนิดในพิกัด 6603-7609-7610-7615-7616-8302-8503-8305-8306-8415-8418-8419-8422-8424-8473-8479-8481-8486-8487-8508-8513-8515-8516-8529-8538-8541-8543-8708-9031-9401-9403-9405-9506-9507 และ 9603 โปรไฟล์อลูมิเนียมรีดขึ้นรูป พิกัด 7606-7607 แผ่นฟอยล์อะลูมิเนียมบางประเภท พิกัด 8544 สายไฟและสายเคเบิลอลูมิเนียม
และ สินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ในพิกัด 8708.29 ชิ้นส่วนแบะอุปกรณ์เสริมของตัวถังรถยนต์ในพิกัด 8701-8705 เช่น ชุดประตู พิกัด 8708.30 ระบบเบรกและเซอร์โวเบรก รวมถึง ชิ้นส่วนของระบบนั้น พิกัด 8708.40 กระปุกเคียร์ รวมถึง ชิ้นส่วนของกระปุกเกียร์ พิกัด 8708.50 เพลาขับที่มีดิฟเฟอเรนเชียล ไม่ว่าจะมีชิ้นส่วนส่งกำลังอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตามและเพลาที่ไม่ใช่เพลาขับรวมถึงชิ้นส่วนของเพลา
พิกัด 8708.70 ล้อรถและชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้อง พิกัด 8708.99 ล้อเหล็กบางประเภท นอกจากนี้ยังมีรายการสินค้าส่งออกไปสหรัฐที่เกี่ยวข้องกับ กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ในพิกัด 4011.10-4011.20 ยางรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถบรรทุกขนาดเล็ก กับ พิกัด 4011.90 ยางลมใหม่สำหรับรถยนต์ประเภทอื่น
อย่างไรก็ตามเมื่อนำรายการสินค้าเฝ้าระวังในการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐตามยัญชีแนบท้ายทั้ง 49 รายการไปเปรียบเทียบกับรายการสินค้าส่งออกไทยไปยังตลาดสหรัฐ 15 อันดับแรกของปี 2567 พบว่า มีสินค้าเฝ้าระวังติดอยู่ในกลุ่มสินค้าที่ส่งออกไปสหรัฐมีมูลค่าสูงสุด 4 รายการ คิดเป็นมูลค่ารวม 7,160 ล้านเหรียญ ได้แก่
1)ยางรถยนต์ มูลค่า 3,513 ล้านเหรียญ มีส่วนแบ่งทางการตลาด 19.3% และไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 1 ของสหรัฐ 2)ส่วนประกอบอุปกรณ์เครื่องจักร แผงวงจรพิมพ์ของเครื่องจักรในพิกัด 8473 มูลค่า 1,501 ล้านเหรียญ มีส่วนแบ่งตลาด 2.9%
3)ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ มูลค่า 1,404 ล้านเหรียญ มีส่วนแบ่งตลาดสหรัฐ 1.4% 4)ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และ อุปกรณ์ทำความเย็น ในพิกัด 8418 มูลค่า 742 ล้านเหรียญ มีส่วนแบ่งตลาดสหรัฐ 2.6%
ที่ผ่านมาเป็นที่ทราบกันดีว่า มีผู้ประกอบการจีนย้ายเข้ามาตั้งโรงงานในไทยเพื่อหลบเลี่ยงมาตรการภาษีของสหรัฐมาตั้งแต่การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีทรัมป์สมัยแรก(ทรัมป์ 0.1)ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันใน กลุ่มสินค้าท่อเหล็ก ลวดเหล็ก อลูมิเนียม รวมไปถึง แผ่นเซลส์แสงอาทิตย์
“คณะผู้แทนไทยตั้งความหวังไว้ว่า การเข้มงวดในเรื่องการเฝ้าระวังสินค้าแอบอ้างถิ่นกำเนิดจากไทยส่งไปสหรัฐ อันเป็นหนึ่งในข้อเสนอคัดกรองสินค้าส่งออกเพื่อป้องกันการสวนสิทธิ์จากประเทศที่ 3 โดยหวังจะลดการได้ดุลการค้าสหรัฐลงนั้น จะเป็นข้อเสนอเขิงนโยบายที่สหรัฐน่าจะรับฟัง เนื่องจากการเดินทางไปสหรัฐของคณะผู้แทนไทยที่นำโดย นายพิชัย ชุุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เตรียม “ข้อเสนอ“ ไว้ 5 ข้อ ได้แก่
1)ความร่วมมือในอุตสาหกรรมที่จะช่วยส่งเสริมการค้าซึ่งกันอละกัน 2)การเปิดตลาดสินค้าเกษตรและลดภาษีสินค้าเกษตร รวมถึง การลดภาษีสินค้าต้างๆภายใต้ MFN 3)การเพิ่มรายการนำเข้าสินค้าสหรัฐ อาทิ ก๊าซ LNG ก๊าซอีเทน น้ำมัน 4)การคัดกรองสินค้าส่งออกเพื่อป้องกันการสวมสิทธิ(ถิ่นกำเนิดสินค้า)จากประเทศที่สาม และ 5)การส่งเสริมการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในสหรัฐ อาทิ โครงการลงทุนทางด้านการเกษตร รวมไปถึง แสดงความสนใจในโครงการก๊าซธรรมชาติในรัฐอลาสก้าด้วย