โดยยังรวมไปถึงกรณีที่ Moody’s มีการปรับ Outlook ของประเทศไทย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ได้ส่งหนังสือมายังกระทรวงการคลัง ให้พิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และอยากเห็นปรับการลงทุนภายในประเทศ เพื่อรองรับการส่งออก ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
“ผมไม่ได้ทำเรื่องนี้คนเดียว ซึ่งได้มีการออกหนังสือถึงคณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเพื่อแจ้งให้รับรู้ว่าจะมีการปรับแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ และให้แต่ละหน่วยงานทำการบ้านมาว่าจะต้องทบทวน
ทั้งนี้ มองว่าการทบทวนปรับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ควรจะหันมาเน้นเรื่องภาพรวมการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหมด ทั้งในด้านงบประมาณ การส่งออก การขยายฐานภาษี และโครงการต่างๆ ที่จะออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การทำไบโอแก๊ส โดยการสร้างโรงไฟฟ้าชีวภาพ ที่ผลิตไฟฟ้าจากวัตถุดิบธรรมชาติ อย่าง หญ้าเนเปียร์ หรือ ข้าวโพด
ทั้งนี้ได้มีการเชิญภาคเอกชนมาหารือถึงผลกระทบจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ เพื่อหาแนวทางการดูแลที่ชัดเจน โดยอาจต้องเตรียมสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำหรือ Soft Loan ช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งรัฐจะเข้าไปช่วยในเรื่องดอกเบี้ยเพื่อให้ได้ดอกเบี้ยที่ต่ำลง ผ่านการหารือกับสถาบันการเงิน และ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
นายพิชัย กล่าวว่า ประเทศไทยยังมีโอกาสในการส่งออกสินค้าไปจีนมากขึ้น หากสหรัฐฯ ส่งไปขายจีนน้อยลง จีนก็ต้องขาดสินค้าบางชนิด ซึ่งจากการสำรวจพบว่าจีนยังมีความต้องการสินค้าประเภทอะไหล่อยู่จำนวนมาก ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ไทยออกสินค้าไปจีนได้มากขึ้น
ด้าน นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการกระตุ้นเศรษฐกิจ จะต้องมีการประชุมให้เร็วที่สุดภายในเดือนนี้ โดยแผนการกู้เงิน ดูแลเศรษฐกิจจะเป็นความคิดสุดท้ายเนื่องจากยังมีช่องทางในการใช้งบประมาณที่หลากหลาย
“เป้าหมายในการใช้เงินรอบนี้ เพื่อให้กระตุ้นเศรษฐกิจไม่ใช้แค่ประคอง แต่ต้องทําให้กระตุ้นให้มากที่สุด ซึ่งซึ่งเราไม่อยากให้จีดีพีโต 2.1% ตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประมาณการ โดยจะใส่ความพยายามให้เศรษฐกิจโตลดลงจาก 3% ให้น้อยที่สุด” นายลวรณ กล่าว