Lidea Feed
Hot
Video
Sports
Cricket
Entertainment
Technology
Health
Lifestyle
Auto
Business
Education
National
World
Politics
Travel
Food
Indonesian
English
Hindi
Thailand
Marathi
Tamil
Search
กรมฝนหลวง เหินฟ้า สลาย pm 2.5 เมืองกรุง บินโปรย ‘น้ำแข็งแห้ง’ เห็นผลชัด
GH News
January 04, 2025 02:01 PM
เมื่อวันที่ 3 มกราคม ที่ผ่านมา
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย
นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร ข้ามพรมแดนกรุงเทพฯ ลงพื้นที่ท่าอากาศยานหัวหิน เยี่ยมชมการปฏิบัติภารกิจศูนย์ปฏิบัติการบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองในอากาศ PM2.5 หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร
นายชัชชาติ กล่าวว่า วันนี้ข้ามจังหวัดมาเยี่ยมชมการปฏิบัติภารกิจบรรเทาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ที่ท่าอากาศยานหัวหินหรืออีกชื่อคือสนามบินบ่อฝ้าย ซึ่งมีโครงการบินลดฝนในกรุงเทพมหานคร เป็นโครงการสำคัญและถือเป็นผู้ปิดทองหลังพระ แม้ว่าอยู่ประจวบฯ แต่บินมาช่วยที่ กทม. รวมถึงทั่วประเทศ ปัจจุบัน ศูนย์ปฏิบัติการฯ มีทั้งหมด 6 ศูนย์ ทั่วประเทศ สำหรับกรุงเทพฯ มีจำนวน 3 ศูนย์ ที่ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง และกาญจนบุรี จำนวนเครื่องบินที่สนับสนุนลดฝุ่น กทม. รวม 10 เครื่อง
สำหรับจุดเริ่มต้นของการวิจัยฝุ่น
นายฉันติ เดชโยธิน
ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์บรรยากาศประยุกต์ ที่อยู่ประจำศูนย์ เล่าว่า สืบเนื่องจากกรมฝนหลวงฯ ได้ทำการวิจัยเรื่องเมฆอยู่แล้ว โดยช่วงที่ผ่านมาได้ทำการตรวจคุณภาพอากาศ ปริมาณฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อว่าจะทำงานที่ระดับความสูงเท่าไหร่จึงจะระบายฝุ่นออกไปได้ โดยใช้งานวิจัยหลายแหล่งทั้งไทย และต่างประเทศ เพื่อมาประกอบสร้างกรรมวิธีที่จะลดฝุ่น
ทั้งนี้ ปัจจุบันไม่ใช้วิธีทำฝนเพื่อลดฝุ่นแล้วเพราะพบว่าฝนตกทำให้เพิ่มฝุ่น แต่จะใช้วิธีการก่อเมฆ เลี้ยงเมฆ เพื่อดูดซับและระบายฝุ่น ซึ่งเป็นการต่อยอดจากตำราฝนหลวงพระราชทานมาใช้ อีกวิธีที่วิจัยมาใหม่คือ การลดอุณหภูมิชั้นบรรยากาศผกผัน (inversion) พูดง่าย ๆ คือ ปกติอุณหภูมิจากพื้นขึ้นไปยิ่งสูงยิ่งหนาว อุณหภูมิยิ่งต่ำแต่ก็จะมีชั้นที่เรียกว่า inversion ซึ่งมีอุณภูมิผกผันทำให้ชั้นนั้นมีอุณหภูมิสูง ซึ่งการ inversion นี้จะเป็นตัวกั้นฝุ่นไม่ให้ลอยขึ้นเหมือนฝาชีครอบไว้ เพราะตามหลักการคือ อุณหภูมิสูงจะลอยขึ้นด้านบนพร้อมนำฝุ่นขึ้นไปด้วย แต่เมื่อเข้าหน้าหนาวอุณหภูมิพื้นผิวด้านล่างไม่สูงก็นำพาฝุ่นขึ้นไปได้น้อยอยู่แล้ว เมื่อเจอกับชั้น inversion ก็ยิ่งปิดกั้นฝุ่นไม่ให้ขึ้นไปอีก ทำให้ค่าฝุ่น PM2.5 เพิ่มสูงขึ้น
โดยวิธีการจัดการคือ คือ เทคนิคการลดอุณหภูมิชั้นบรรยากาศผกผัน (inversion) ด้วยการสเปรย์น้ำปรับลดอุณหภูมิ และเทคนิคการลดอุณหภูมิชั้นบรรยากาศผกผันด้วยการโปรยน้ำแข็งแห้งเพื่อทำให้เกิดช่องระบายฝุ่นละอองขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศด้านบน วิธีการบินโปรย 2 รูปแบบคือ การโปรยวนก้นหอยแหวกช่องให้ฝุ่น และบินโปรยลักษณะสลับฟันปลาให้ได้เชิงพื้นที่
สำหรับผลที่ได้ในปฏิบัติการบินลดฝุ่นจากการปฏิบัติงานจริงและเก็บข้อมูลในช่วงที่ผ่านมาพบว่า บริเวณที่โปรยน้ำแข็งแห้ง พบว่า บริเวณที่โปรยพบฝุ่นลอยขึ้นมามากกว่าบริเวณที่ไม่ได้โปรยน้ำแข็งแห้ง 50% ถือว่าเห็นผลชัดเจนมาก และจากผลการทำงานที่เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ 2 ธ.ค. 67 ถึง 3 ม.ค. 68 โดยรวมพบว่า ทำให้ค่าฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ กทม. ที่เกินมาตรฐาน (ไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) ลดลง 70%
สำหรับปัญหาในการปฏิบัติการ คือเรื่องการบินในกรุงเทพฯ ซึ่งมีเครื่องบินพาณิชย์โบยบินตลอดเวลา ที่ผ่านมาจึงได้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กองทัพอากาศ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เป็นต้น ในการจัดการเส้นทางการบิน แต่ก็นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีเพราะนี่ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่ทีมฝนหลวงเข้ามาบินในกรุงเทพฯ ได้ แม้ตอนนี้จะบินได้แค่บางโซนในกรุงเทพฯ ต่อไปจะประสานให้เข้าพื้นที่ได้มากขึ้น
โอกาสนี้ นายชัชชาติ และคณะ ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์กับทีมฝนหลวงที่ปฏิบัติการเรื่องฝุ่นในหลายจังหวัดทั่วประเทศ อาทิ แพร่ ระยอง กาญจนบุรี เชียงใหม่ พร้อมฟังบรรยายการสรุปทฤษฎีและขั้นตอนการปฏิบัติการบรรเทาฝุ่นละออง และสรุปผลการปฏิบัติการประจำเดือนธันวาคม 2567 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตั้งแต่เริ่มตั้งศูนย์ปฏิบัติการบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองในอากาศ PM2.5 รวมทั้งรวมฟังการวางแผนปฏิบัติงานประจำวัน การบินตรวจวัดคุณภาพอากาศจากเครื่องบิน SKA350 พร้อมทั้งศึกษาดูงานการปฏิบัติการบนอากาศยานในภารกิจบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5
“ได้มาเห็นวันนี้ก็ยิ่งเป็นการย้ำว่าเรื่องฝุ่น PM2.5 ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง แต่หลายฝ่ายต้องช่วยกัน หลายคนที่ทำอยู่เราก็ไม่รู้หรอกว่าพวกเขาทำงานเสียสละอยู่ไหนบ้าง หลายคนจากบ้านมาทำงานต่างถิ่น ประจำการเป็นเวลานาน ๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาฝุ่นให้กับทั้งกรุงเทพมหานครและหลายจังหวัดทั่วประเทศ ขอบคุณทุกภาคส่วนและทีมฝนหลวง กรมฝนหลวงฯ ทุกจังหวัด กทม. เองพร้อมสนับสนุนในทุกด้านเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน” นายชัชชาติ กล่าวทิ้งท้าย
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
You might like
สว.จี้ถามผู้มีบารมีนอกรบ.ทำค่าไฟแพง พีระพันธุ์ แจงวุ่น ไม่รู้มีผูกขาดพลังงาน
กทพ. เปิด สะพานทศมราชัน ชวนคนไทยสร้างประวัติศาสตร์ในงาน ‘มหกรรมสุขเต็มสิบ’ 26 ม.ค.
อดีตที่ปรึกษา WHO แฉรัฐปกปิดตัวเลขตาย-เจ็บ 10 วันอันตรายปีใหม่ ต่ำกว่าความจริง 10 เท่า
สุริยะ ควง มนพร รุดนครพนมลุย 2 โครงการใหญ่ รถไฟทางคู่บ้านไผ่-ถนนเชื่อมสะพานมิตรภาพ3
โคราชเฮ ! อานิสงส์ “สัมมนา ISAN NEXT” รบ.เดินหน้าแผนขนส่งมวลชน สายสีเขียว รพ.เทพรัตน์-จอหอ-หัวทะเล
© Copyright @2025 LIDEA. All Rights Reserved.