เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ ย้ำชัด กฏสำหรับผู้ประกอบการเรือในอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ห้ามทิ้งสมอในแนวปะการัง, ห้ามเก็บสัตว์น้ำ และ ห้ามให้อาหารปลา หากพบดำเนินตามกฏหมายทันที ด้าน “ชิดชนก” ชี้ มีทุ่นจอดเรือให้ผูก ช่วยรักษาแนวปะการัง
ผู้สื่อข่าวรายงาน จากการสอบถามเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ มูลนิธิอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ถึงมาตรการดูแลอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ พบว่า ระเบียบวินัยมีการเวียนใช้ทุกบริษัทฯ สำหรับเรือที่จอดในพื้นที่ หากมีการวางทุ่นทับพื้นที่ปะการังจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมายทันที
ที่ผ่านมา เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเยอะ และนักท่องเที่ยวจะคอยทำหน้าที่เป็นหูเป็นตา ถ่ายรูปรายแก่อุทยานฯ งานหากพบผู้ที่ทอดเสอเรือในพื้นที่ที่ไม่ถูกต้อง ส่วนสคูบาจะมีคนถ่ายภาพหากทำผิดกฏ จะสามารถแทร็คได้ว่าเป็นคนจากบริษัทใด และดำเนินตามกฏหมายต่อไป
ด้านการควบคุมนักท่องเที่ยว ในส่วนนี้ไกด์จะเป็นผู้ดูแล และถ่ายรูปร้องเรียนมาที่อุทยาน เจ้าหน้าที่จึงไม่จำเป็นต้องลงพื้นที่ด้วยตัวเอง
ในส่วนของข้อที่ห้ามทำ เจ้าหน้าที่แจ้งว่า โดยรวมมี 20 กว่าข้อ แต่หลักๆสำหรับผู้ประกอบการเรือคือ ห้ามทิ้งสมอในแนวปะการัง, ห้ามเก็บสัตว์น้ำ และ ห้ามให้อาหารปลา เป็นต้น
ชิดชนก สุขมงคล รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2567 ว่า อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี มีความสำคัญในฐานะพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลอันโดดเด่น
โดยมีพื้นที่โดยรวมกว่า 242,437 ไร่ หรือ 387 ตารางกินโลเมตร ประกอบกับชายหาดที่มีความงดงามมีทรายขาวสะอาด น้ำทะเลใส อุดมสมบูรณ์ด้วยประการังสีสดใสและสิ่งมีชีวิตทางทะเลที่มีคุณค่า
อุทยานฯ แห่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญระดับโลกเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาความหลากหายทางชีวภาพ และสนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่นจากการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
โดยมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ได้ทำพิธีมอบทุ่นทั้งหมด 72 ทุ่น แก่กองทัพเรือภาคที่ 3 ได้แก่ ทุ่นผูกเรือ และ ทุ่นแจ้งเตือนลดความเร็วเพื่อเพิ่มความปลอดภัยทางเรือ โดยทางกองทัพจะนำไปติดตั้งเพื่อรักษาแนวปะการังไม่ให้ถูกทำลาจากการทิ้งสมอเรือต่อไป
การวางทุ่นจอดเรือ เป็นการช่วยทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลได้เป็นอย่างดี สามารถเป็นทุ่นจอดเรือให้กับเรือของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมธรรมชาติทางทะเลในบริเวณนั้น
”หากเรือมาทอดสมอในบริเวณที่มีปะการังก็จะไปทำลายทรัพยากรใต้ทะเล ทำให้เกิดความเสียหายทรัพยากรธรรมชาติได้ การวางทุ่น นอกจากจะสร้างความตระหนักรู้ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลแล้วยังเป็นการร่วมกันอนุรักษ์ท้องทะเลพร้อมส่งเสริมการท่องเที่ยวควบคู่ไปอย่างยั่งยืน” ชิดชนก กล่าวทิ้งท้าย