วันที่ 30 มี.ค.68 เพจเฟซบุ๊ก Phattrawut Mungmanee อดีตวิศวกรการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โพสต์เฟซบุ๊กระบุข้อความว่า "แผ่นดินไม่ไหวแล้วหนิ?― อาฟเตอร์ชอคก็ไม่มา #แต่มันยังไม่จบครับ #โครงสร้างยังพังต่อได้อีก | #จงวิเคราะห์ : มีคนส่งมาถามอีกว่า แบบไหนครับพี่ ถึงเรียกว่า #ไม่ควรเข้าตึก อยู่ให้ไกลxประเมินให้ที ..ว่ามัน xบหาย ระดับไหน เมื่อ ตึกร้าว,คอนโดพัง หลังจาก เกิดแผ่นดินไหว? ไม่เอารอยร้าวนะครับ นั่นคนพูดเยอะแล้ว...เราเอาแบบ เห็นแล้ว ถ้ามองข้าม = เกิดใหม่
⎯ คอนเซปไม่มีอะไรซับซ้อนเลยครับ #จำเอาไปดูเลยครับ
1.) #คานแตกจนเห็นเหล็ก = วิ่งสิครับ!! รออะไร
เพราะ : ความสามารถรับน้ำหนักจะ ลดลงทันที , อันตรายเพราะฝืนใช้ต่อไป น้ำหนักจากผนัง พื้น คน → ทำให้คาน ฉีกและทรุด ได้แม้ไม่มีแรงสั่นอีก
2.) เช็คเสา ถ้าพังร้าว #เสาพังจนเห็นเหล็กปลอก (Stirrups) = วิ่งอีกทีครับ
เพราะเสาคือ “หัวใจการพยุงอาคาร” → หากเกิดรอยร้าวเฉือนเฉียงแบบ X-shaped หรือ Concrete หลุดล่อน...อาคารอาจจะพังถล่มลงทันที โดยไม่มีอาฟเตอร์ช็อกด้วยซ้ำ ถ้ามีแรงใช้งานเพิ่ม เช่น น้ำฝน, ของหนัก, คนเดิน (มี Load กระทำมันอยู่)
3.) #รอยแยกที่จุดต่อ (Joint Failure) เช่น จุดต่อคาน ถนนพระรามสอง มันเคลื่อนไม่ลงลอค = วิ่งให้ไวกว่าเดิม x3(ยกกำลัง2)
แผ่นดินไหวจะ “กระตุก” ส่วนที่เป็น Connection เช่น เสา-คาน, คาน-พื้น
ถ้าเกิดการฉีกขาดของ Grout หรือรอยต่อพิเศษ (เช่น Post-tension) → จะเกิด Loss of Integrity , โครงสร้างจะ “โยกหลวม” แม้จะยังยืนอยู่ แต่ “สูญเสียความสามารถแบกรับน้ำหนักซ้ำซ้อน” (เหมือนข้อต่อกระดูกเราหลุด)
เช่น รอยต่อของจุดรับน้ำหนักคาน บนพระราม2เคลื่อน = วิ่งครับ!!!
4. #พื้นแอ่น (Slab Punching) = หนีไปครับ RUNx4
ไม่ว่าจะอยู่ด้านบน หรือ ด้านล่าง แอ่นปุ๊บ = บายยยย
เพราะแรงจะกระทำแนวดิ่งสะสมที่ “หัวเสา” (เช่น Flat Slab) → เกิดการ “เจาะทะลุของเสา” ขึ้นพื้น (Punching Shear)
แผ่นพื้นจะ “แอ่นลง → แตก → ทะลุลงมาทั้งยวง” ได้ทันที เมื่อมีคนเดินหรือของหนักเพียงเล็กน้อย หัวแตก โดนพื้นทับ เป็นปลาหมึกแถวบนเลยครับ
“อาคารที่เคยผ่านแผ่นดินไหวแรงแล้วไม่พังทันที ≠ ปลอดภัย”
#คือมันยังไม่ปลอดภัยครับ และถ้า สังเกตได้ 4 จุดนี้ นอนสวนสาธารณะที่ ผู้ว่าชัชชาติ เขาเปิดให้สบายใจกว่าครับ
ยังไม่พอ ต่อให้ไม่เกิด #อาฟเตอร์ชอค โครงสร้างก็อาจเข้าสู่ “ภาวะอ่อนล้าเชิงโครงสร้าง” (Structural Fatigue) โดยไม่รู้ตัว และจะพังแบบ Progressive Collapse (พังลามทั้งระบบ) ได้ง่ายมากหากมีแรงเพิ่มอีกแม้เพียงเล็กน้อย เช่น
ยังมีคนเดินเยอะ ไม่กั้นพื้นที่ ไม่เสริมแรงเหล็ก เสา ไม่เสริมคาน ฯลฯ คนยัง ผ่านไปมา เพล่นพล่าน , ฝนดันตก น้ำท่วมขังบนพื้น, จู่ๆก็เอารถรถเข็นหนักไปวิ่งบนนั้น, เครื่องปรับอากาศแขวนก็ยังห้อยต่องแต่งอยู่... มันคือ Load ที่กระทำต่อโครงสร้างทั้งนั้น
ให้นึกภาพว่า กระดูกหัก แต่น้ำหนักเท่าเดิม ก็พังใช่ไหมครับ โครงสร้างก็แบบนั้น กล้ามเนื้อคือคอนกรีต , กระดูกคือเหล็กเสริมข้างใน , ระบบไฟฟ้า ประปา คือเส้นประสาท ฯ อะไรฉีกพัง ก็ต้องระวังหมด แต่ถ้ากล้ามเนื้อพังจนเห็นเหล็ก สักวันเหล็กก็จะล้า เหมือนกระดูกหัก ร่างกายก็จะรับน้ำหนักตัวเองไม่ได้ ยังไม่พอ ยังไปเพิ่มน้ำหนักให้มันอีก ก็ยิ่งพังไป แต่กลับกันตรงที่มันคือโครงสร้าง .. ก็ยิ่งต้องระวังครับ
สรุป คือ หากอาคาร ผ่านแผ่นดินไหวแรง 1 ครั้งแล้วเกิดรอยร้าว / แตกร้าวในเสา-คาน-พื้น → ห้ามใช้งานต่อโดยไม่ตรวจสอบ
เพราะมันอาจพังลงมาเองได้แม้ “ไม่มีอาฟเตอร์ช็อกเลย”
#ไม่ต้องรีบเข้าคอนโดหรือตึกนะครับถ้าเจอภาพตัวอย่างแบบนี้
- เดี๋ยวจะประเมินในภาพย่อยให้ครับ ว่ามันแก้และน่ากลัวยังไง /เผื่อเป็นประโยชน์ครับ
ขอบคุณ เฟซบุ๊ก Phattrawut Mungmanee